การแต่งงานแบบไทยดั้งเดิม ตอนที่ 2 :
พิธีแต่งงาน
(Original Thai Wedding Eps.2)
หลังจากที่เราได้รู้เกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอ และพิธีการหมั้นกันจาก ตอนที่ 1 กันแล้ว ตอนนี้เราก็จะเข้าสู่พิธีการแต่งงานกันนะคะ
ก่อนอื่นตามความเชื่อของคนไทย ต้องมีการดูฤกษ์ยามมงคลกันก่อน โดยเฉพาะฤกษ์การทำพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น วันที่ส่งเฒ่าแก่ไป เจรจาสู่ขอ วันหมั้น วันแต่งงาน รวมไปถึงฤกษ์ในการปลูกเรือนหอ ส่งตัวเจ้าสาว และฤกษ์เรียงหมอน
เกี่ยวกับเรื่องฤกษ์ยาม เริ่มจากวัน คือต้องเป็นวันดี เช่น วันอธิบดี วันธงชัย ส่วนเดือนที่นิยมแต่งงานกัน ได้แก่ เดือน 6 เดือน 9 เดือน 10 เดือน 2 และเดือน 4 เพราะนิยมถือเป็นเดือนคู่ ซึ่งคำว่าคู่ หรือสิ่งที่เป็นคู่นี้มีความหมาย และสำคัญมากในพิธีการแต่งงาน เพราะหมายถึงการเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่
บางทีก็แต่งงานเดือน 9 ถือเคล็ดถึงความก้าวหน้า เนื่องจากคำว่า "เก้า" กับ "ก้าว" ออกเสียงใกล้เคียงกัน บางตำราบอกว่าเป็นการเลื่อนการแต่งงานในเดือน 8 ซึ่งเป็นเดือนคู่ แต่เป็นช่วงเข้าพรรษา จึงเลื่อนมาเป็นเดือน 9 แทน คือเลี่ยงเทศกาลทางศาสนาและถือเคล็ดความก้าวหน้าไปพร้อมกัน บางทีอาจแต่งในเดือน 8 แต่แต่งงานก่อนวันเข้าพรรษา
เดือนที่นิยมแต่งงานมากที่สุดคือ เดือน 6 เพราะเริ่มเข้าสู่หน้าฝน อาจเพราะบรรยากาศโรแมนติกกว่าแต่งงานหน้าอื่น และเป็นต้นฤดูทำการเพาะปลูกของคนไทย ซึ่งเป็นการเริ่มชีวิตใหม่สร้างฐานะครอบครัวร่วมกัน
เดือนที่ไม่นิยมแต่งงานคือ เดือน 12 แม้ว่าเป็นเดือนคู่ก็ตาม อาจเพราะเป็นช่วงที่น้ำป่าไหลท่วมบ้านเรือน หรือข้าวปลาอาหารไม่สมบูรณ์ การคมนาคมไม่สะดวกก็เป็นได้ แต่ปัจจุบันความเชื่อเรื่องเดือนนั้นไม่เคร่งครัดเท่าไร
เรามาเิริ่มขั้นตอนในการแต่งงานกันเลยนะคะ
1. พิธีรับไหว้
จัดขึ้นเพื่อแสดงความคารวะ นบนอบ ต่อบิดามารดา และบรรดาผู้ใหญ่ นอกจากนี้เงินที่ได้จากพิธีรับไหว้ ถือว่าเป็นเงินทุนให้แก่คู่บ่าวสาวอีกด้วย เช่นเดียวกับพิธียกน้ำชาในการแต่งงานแบบคนจีน
สำหรับสถานที่ในการจัดงาน นิยมเน้นความสะดวกของคู่บ่าวสาว คือจัดเก้าอี้ หรือเสื่อไว้ ผู้ใดจะทำพิธีไหว้ก็มานั่งในสถานที่นั้นต่อหน้าคู่บ่าวสาว พอทำพิธีเสร็จแล้วจึงลุกออกไป เพื่อให้ผู้อื่นมาทำพิธีรับไหว้ต่อ ซึ่งการไหว้นั้นจะเรียงตามลำดับอาวุโส ส่วนใหญ่ พ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นเจ้าภาพจะให้เกียรติโดยให้ทางฝ่ายชายก่อน หรือจะให้ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายก่อนก็ได้ ไม่เคร่งครัดในเรื่องนี้เท่าไร
พิธีการรับไหว้ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงหรือชายไปนั่งคู่กันในที่จัดไว้ เจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งนั่งคู่กันอยู่ตรงข้าม จะกราบลงพร้อมกันที่หมอนสามครั้งรวมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากเป็นญาติคนอื่นๆ กราบหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องแบมือ แล้วส่งพานดอกไม้ธูปเทียนให้ พ่อแม่รับและให้ศีลให้พรอวยพรให้ทั้งคู่
หลังจากนั้น หยิบเงินรับไหว้ใส่ในพาน หยิบด้ายมงคลหรือสายสิญจน์เส้นเล็กๆ ผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาวแสดงการรับไหว้
2. พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
การร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว นิยมทำกันหลังจากพิธีรับไหว้ คือ เจ้าภาพจะเป็นผู้นิมนต์พระมาสวดเจริญพุทธมนต์และรับอาหารบิณฑบาต
การตักบาตรสมัยก่อนให้คู่บ่าวสาวตักคนละทัพพี แต่ปัจจุบันนิยมให้ตักทัพพีเดียวกัน ตักบาตรพร้อมกัน ต่อไปชาติหน้าจะได้เกิดมาคู่กันอีก มีความเชื่อเกี่ยวกับการตักบาตรของคู่บ่าวสาว ถ้าผู้ใดจับที่ยอดหรือคอทัพพี ผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่เหนือกว่าคู่ของตน ซึ่งต้องเลื่อนมาจับที่ปลายทัพพี อย่างนี้คงต้องแย่งกันจับน่าดูเลย วิธีแก้เคล็ดด้วยการผลัดกันจับที่คอทัพพี
เกี่ยวกับการนิมนต์พระมาสวด แต่ก่อนนิยมมาเป็นคู่ เช่น 4 หรือ 8 องค์ แต่ปัจจุบันนิยม 9 องค์ เพราะคนไทยเชื่อถือเกี่ยวกับตัวเลข 9 ว่าเป็นเลขมงคล หมายถึงความเจริญก้าวหน้า โดยนับพระประธานเป็นองค์ที่ 10 ครบจำนวนคู่พอดี
ในการทำพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ทั่วไปนั้น เจ้าภาพจะทำหน้าที่จุดธูปเทียนบูชาพระ แต่ในงานมงคลสมรสมักนิยมให้คู่บ่าวสาว เพราะถือว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในงาน รวมถึงการถวายขันและเทียนเพื่อให้พระทำน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งจะนำมาเป็นน้ำสังข์สำหรับหลั่งในพิธีรดน้ำต่อไป
การตักบาตรร่วมกันของคู่บ่าวสาว อาจกระทำอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น หลังจากวันแต่งงาน
3. พิธีรดน้ำสังข์
หลังจากที่คู่บ่าวสาวได้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระสวดพุทธมนต์ และถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ก็ได้ฤกษ์รดน้ำหรือหลั่งน้ำสังข์ พระผู้เป็นประธาน จะทำการเจิมให้แก่บ่าวสาว ฝ่ายชายนั้นพระท่านสามารถที่จะทำการเจิม 3 จุดได้โดยตรง แต่หากเป็นฝ่ายหญิงแล้ว พระท่านจะจับมือฝ่ายชายเจิมหน้าผากให้เจ้าสาวของตน
หลังจากนั้น จึงทำมงคลแฝดสวมให้คู่บ่าวสาวคนละข้าง มีสายโยงห่างกันประมาณ 2 ศอกเศษเพื่อความสะดวก และส่วนปลายของมงคล จะโยงมาพันที่บาตรน้ำมนต์ และหางสายสิญจน์ พระสงฆ์จะส่งกันไปโดยจับเส้นไว้ในมือ จนถึงพระองค์สุดท้ายก็จะวางสายสิญจน์ไว้ที่พาน หากเป็นการรดน้ำตอนเย็น ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน จะเป็นมงคลแฝดแบบไม่มีสายโยง
คู่บ่าวสาวต้องนั่งในที่จัดไว้ ซึ่งจะมีหมอนสำหรับรองรับมือและพานรองน้ำสังข์ ส่วนเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะยืนให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง เกี่ยวกับการเลือกเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว มีคติความเชื่อว่า ควรเลือกที่อายุน้อยหรือใกล้เคียงกับคู่บ่าวสาว และในช่วงที่ใกล้หรือมีโครงการจะแต่งงานเร็วๆ นี้ อาจเป็นเพราะผู้ใหญ่ต้องการให้ผู้ที่ใกล้แต่งงานได้ดูขั้นตอนการแต่งงาน เมื่อถึงคราวตนเองจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
ในการรดน้ำสังข์เริ่มจากพ่อแม่ของคู่บ่าวสาว หรือญาติผู้ใหญ่ ตามลำดับ นิยมรดใส่ในมือให้เจ้าสาวก่อน แล้วจึงรดให้เจ้าบ่าว และกล่าวอวยพรให้คู่บ่าวสาว ขณะรดน้ำสังข์ พระสงฆ์จะสวดชยันโต เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว แต่ในปัจจุบัน นิยมทำพิธีรดน้ำกันตอนเย็น ก่อนเวลากินเลี้ยงฉลองสมรส ซึ่งมักจะจัดที่โรงแรม หรือหอประชุม
สมัยโบราณ ในพิธีการแต่งงานจะไม่มีการรดน้ำสังข์ แต่จะมีพิธีซัดน้ำ พระสงฆ์จะเป็นผู้ทำพิธี โดยตักน้ำมนต์ในบาตรซัดสาดใส่คู่บ่าวสาว บรรดาเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งมีอยู่หลายคู่ แกล้งนั่งห้อมล้อมให้คู่บ่าวสาวนั่งเบียดกันชิดกัน การซัดน้ำนี้บางทีซัดจนเปียกปอนต้องเปลี่ยนชุดหลังเสร็จพิธี
4. การกินเลี้ยงฉลองพิธีแต่งงาน
เมื่อเสร็จพิธีหลั่งน้ำสังข์ หรือพิธีซัดน้ำแล้ว จะมีการเลี้ยงอาหารแขกผู้มาร่วมงาน อาจมีดนตรีประกอบเพื่อความสนุกสนาน ครื้นเครง โฆษกจะกล่าวเชิญให้พ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าว และเจ้าสาว รวมทั้งคู่บ่าวสาวกล่าวขอบคุณแขก ถ้ามีการกินเลี้ยงในตอนเย็น เจ้าสาวมักเปลี่ยนจากชุดไทยเป็นชุดราตรียาว หรือที่เรียกกันว่า "ชุดเจ้าสาว"
5. พิธีส่งตัวเจ้าสาว
มักทำกันตอนกลางคืน ถ้าหากมีการเลี้ยงฉลองสมรสตอนกลางคืน จะต้องมีการเลิกก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเล็กน้อย เพื่อคู่บ่าวสาวจะได้มีเวลาเตรียมตัว พ่อแม่ของฝ่ายเจ้าสาวจะจะเชิญผู้มีเกียรติ ซึ่งเป็นคู่สามีภรรยาอาวุโส ให้ทำพิธีปูที่นอนในห้อง หรือเรือนหอ การทำพิธีปูที่นอน ในปัจจุบันทำพอเป็นพิธี เพราะว่าได้มีการจัดเตรียมไว้ก่อนวันแต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ครั้นพอได้ฤกษ์ผู้ทำพิธีก็จัดแจง ปูที่นอน จัดหมอนผ้าห่มกางมุ้ง พอถึงฤกษ์เรียงหมอน ผู้ทำพิธีฝ่ายชายก็ล้มตัวนอนทางด้านขวา ผ่ายหญิงนอนทางซ้าย เป็นการนอน เอาเคล็ด
สิ่งของอันเป็นมงคลที่ใช้ในพิธีปูที่นอน มีอยู่หลายตำรา เช่น ใช้หินบดยา ฟักเขียว แมวตัวผู้สีขาว ซึ่งทาแป้งและของหอมไว้ทั้งตัว รวมทั้งถั่วทอง งาเมล็ด ข้าวเปลือก อย่างละหยิบมือห่อผ้าไว้ในพาน ผู้ทำพิธีปูที่นอนจะหยิบของเหล่านี้วางบนที่นอนพร้อมกับแมว และกล่าวถ้อยคำอันเป็นมงคล แล้วนอนลงพอเป็นพิธี แล้วจึงลุกขึ้น สิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีน่าจะมาจากคติคำอวยพรที่ว่า
"ขอให้เย็นเหมือนฝัก หนักเหมือนแฟง ให้อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า ให้เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว"
ก้อนเส้า คือหินเตาไฟสำหรับหุงต้มในสมัยโบราณ แต่เห็นว่ามีคราบเขม่าสีดำสกปรกง่าย จึงเปลี่ยนเป็นหินบดยาแทน
เมื่อผู้ทำหน้าที่ปูที่นอนลุกขึ้นแล้ว โดยทำเป็นเพิ่งตื่นนอน ฝ่ายหญิงจะพูดในสิ่งอันเป็นมงคล เช่น ฝันว่าอย่างโน้น อย่างนี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีงาม ฝ่ายชายก็จะทำนายทายทักปลอบขวัญ ต่อจากนั้น จึงพากันลุกออกไป
พ่อแม่ของฝ่ายหญิงนำเจ้าสาวมาส่งให้เจ้าบ่าว จากนั้น พ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย ก็อบรมคู่บ่าวสาว ให้รู้จักหน้าที่ของสามีภรรยาที่ดีซึ่งต่อไปจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน แล้วให้คู่บ่าวสาวนอนลงที่นอน โดยเจ้าบ่าวนอนด้านขวา และเจ้าสาวนอนด้านซ้าย บางทีก่อนนอนก็ให้เจ้าสาวกราบบอกสามีก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะถือว่าสามีเป็นผู้ให้ความดูแลคุ้มครอง
ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการต่าง ๆ นะคะ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการประยุกต์พิธีการแต่งงาน ให้มีความกระชับและเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่มากขึ้น
credit: http://animate4you.com/
Friday, September 30, 2011
Wednesday, September 28, 2011
การแต่งงานแบบไทยดั้งเดิม ตอนที่ ๑ : ขั้นตอนสู่ขอและพิธีหมั้น (Original Thai Wedding Eps.1)
การแต่งงานแบบไทยดั้งเดิม ตอนที่ 1
ขั้นตอนสู่ขอและพิธีหมั้น
(Original Thai Wedding Eps.1)
เมื่อกล่าวถึงการแต่งงานแบบไทย หลาย ๆ คนก็จะนึกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งขั้นตอนและรายละเอียดต่าง ๆ ก็ค่อนข้างจะเยอะ ใันปัจจุบัน จึงมีการตัดทอนย่นย่อลงมา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน แต่ก็ยังรักษาพิธีการตามธรรมเนียมไทยอยู่เช่นเดิม
ลองมาดู ขั้นตอนการแต่งงานแบบไทยดั้งเดิม ตอนที่ 1 กันเลยนะคะ
1. พิธีการสู่ขอ
ผู้ที่ได้มอบหมายที่มาสู่ขอตามธรรมเนียมประเพณีไทยเรียกว่า "เฒ่าแก่" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีฐานะดี มีผู้ให้การเคารพนับถือ และเป็นที่รู้จักพ่อแม่หรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้จักอุปนิสัยใจคอของฝ่ายชายเป็นอย่างดี เพราะตัวเฒ่าแก่จะเป็นผู้รับรองในตัวฝ่ายชาย
เฒ่าแก่จะไปพบพ่อแม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง สมัยโบราณต้องมีการเลียบเคียงด้วยวาจาอันไพเราะ ดังนี้
"ได้ยินมาว่า บ้านนี้มีฟักแฟงแตงเต้าดกงาม ก็ใคร่จะมาขอพันธุ์ไปเพาะปลูกบ้าง"
หลังจากการเจรจาผ่านไปได้ด้วยดี โดยตกลงเรื่องสินสอดทองหมั้น และการหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี สมัยก่อน พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะไม่ยกลูกสาวให้โดยง่ายในการเจรจาสู่ขอครั้งแรก อาจผัดผ่อน เพื่อจะสืบประวัติฝ่ายชาย และถามความสมัครใจจากฝ่ายหญิงก่อน หรือขอวันเดือนปีเกิดของฝ่ายชายไว้เพื่อผูกดวงตรวจดูเสียก่อน หากเป็นในปัจจุบัน การเจราจาสู่อาจตกลงกันได้เลยในครั้งแรก เพราะพ่อแม่ฝ่ายหญิงได้รู้จักฝ่ายชายมาบ้างแล้ว
หากการเจรจาเป็นไปอย่างราบรื่น มีการตกลงกันเรื่องสินสอดทองหมั้นและการหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี เฒ่าแก่จะเป็นผู้แจ้งข่าวดีแก่ทางฝ่ายชาย และดำเนินการพูดคุยเพื่อเตรียมการ เช่น การจัดขบวนขันหมาก ซึ่งฝ่ายหญิง ต้องถามจำนวนแขกของฝ่ายชาย เพื่อให้ไม่เกิดความบกพร่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในเรื่องการเลี้ยงดูปูเสื่อของธรรมเนียมไทย
2. การหมั้น
หลังจากเจรจาสู่ขอเรียบร้อยแล้ว จะ้มีการหมั้นกันสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยจัดงานแต่งภายหลัง ต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น รวมทั้งกำหนดสินสอดทองหมั้น หรือที่เรียกว่า " ขันหมากหมั้น "
เดิมทีการหมั้นมักจะเรียกเป็นทองคำ และการเรียกเป็นน้ำหนัก จนเป็นศัพท์ติดปากมาจนกระทั่งบัดนี้ว่า "ทองหมั้น" ซึ่งประเพณีโบราณถือเป็นของเจ้าสาว ที่จะนำไปเป็นเครื่องแต่งตัว เพื่อเป็นทรัพย์สมบัติติดตัวในเวลาแต่งงาน
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงินสินสอดและผ้าไหว้อีกด้วย เรียกว่า "สินสอด" ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ ถือกันว่า เป็นค่าเลี้ยงดูหรือค่าน้ำนม
การกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น โดยมากนิยมกำหนดตอนเช้า ก่อนเที่ยง หรือไม่ก็ควรเป็นตอนบ่าย นอกจากนั้นต้องมีการหาฤกษ์อีก 3 ฤกษ์ คือ
ซึ่งโดยทั่วไปใช้หมากดิบ ทั้งลูก 4 ผล หรือ 8 ผล แต่ต้องเป็นระแง้หรือตะแง้ (กิ่งที่แยกออก จากทะลายหมาก) เดียวกัน หรือถ้าต่างระแง้ก็ต้องมีระแง้ละ 2 ผล หรือ 4 ผล คือต้องเป็นคู่ เพราะถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วใช้ปูนแดงป้ายที่เปลือกหมากเล็กน้อยทุกลูก มีพลูใบ 4 เรียง หรือ 8 เรียงก็ได้ เรียงละ 5 ใบ หรือ 10 ใบ ตัดก้านเสียแล้วใช้ปูนแดงแต้มที่โคนของของใบพลูทุกใบแล้วให้วางเรียงเข้ารอบๆ ภายใน ของขัน ดูให้เสมอกัน และก็เพราะเหตุที่ขันนี้ใส่หมากนั่นเอง จึงเรียกว่า "ขันหมาก"
ขั้นสินสอด ภายในบรรจุเงินทองหรือของหมั้นค่าสินสอดตามที่ตกลงกับทางฝ่ายหญิงไว้แล้ว เช่น สร้อย แหวน กำไล ฯลฯ อาจมีการใส่เศษเงินเพิ่มเข้าไปเป็นการถือเคล็ดว่า เงินสินสอดนี้จะได้งอกเงยได้ดอกออกผล และใส่ใบเงิน ใบทอง ใบนาถ ใบแก้ว ใบรัก และเย็บถุงแพรเล็กๆ ใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา แล้วใช้ผ้าแพรคลุมไว้ บางทีแยกขั้นหมากเป็น 2 คู่ คือใส่หมากพลู 1 คู่ และขั้นสินสอด 1 คู่ บางทีไม่แยก แต่เพิ่มขันใส่ใบเงินใบทอง ถุงข้าวเปลือก ถั่วงาอีกขั้นหนึ่ง ไม่จัดปนอยู่ในขันหมากพลูและขันสินสอด
ดอกไม้ธูปเทียน ธูปเที่ยนที่ใช้ในพิธีนี้จะใช้ธูปแพ เทียนแพ ส่วนดอกไม้นั้นจะเป็นดอกอะไรก็ได้ จะใส่ในกระทงมีกรวยปิดตั้งไว้บนธูปแพเทียนแพ
เมื่อได้ฤกษ์งามยามดี เฒ่าแก่จะทำการยกขั้นหมากหมั้นไปยังบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งทางฝ่ายหญิงจะจัดเฒ่าแก่ไว้ต้อนรับเช่นกัน เมื่อขั้นหมากหมั้นยกมาถึง จะมีเด็กเล็กๆ หน้าตาหมดจดแต่งตัวน่ารัก โดยมากมักเป็นลูกหลานของฝ่ายหญิง ทำหน้าที่ถือพานหมากออกมารับ ในพานจะมีหมากพลูที่เจียนและจีบเป็นคำๆ ใส่ไว้นับเป็นจำนวนคู่ พอขันหมากหมั้นมาถึง เด็กจะส่งพานหมากพลูให้แก่เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชายรับแล้วก็จะให้เงินเป็นของขวัญพร้อมทั้งคืนพานหมากให้ด้วย ซึ่งก่อนคืนจะนำไปเคี้ยวกินพอคำเป็นพิธี
หลังจากนั้น เด็กจะนำไปยังสถานที่ซึ่งทางฝ่ายหญิงจัดไว้เพื่อทำพิธีหมั้น ซึ่งก่อนจะถึงห้องที่เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงคอยต้อนรับอยู่ บางทีจะมีเด็ก (ลูกหลานฝ่ายหญิง) ถือเข็มขัดเงินหรือสายสร้อยเงินมากั้นประตู ซึ่งก็คือ "ประตูเงิน" เฒ่าแก่ฝ่ายชายก็ควักเงินห่อที่เตรียมไว้ ให้เป็นรางวัล อาจกั้นตั้ง 2-3 ประตูก็ได้ ยิ่งประตูเข้ามาใกล้ยิ่งมีค่ามากขึ้น คือใช้ทองหรือเพชรกั้นประตู ซึ่งเฒ่าแก่ฝ่ายชายต้องมีการตกลงกับทางฝ่ายหญิงก่อนว่าจะมีการกั้นประตูหรือไม่ และกี่ประตู จะได้เตรียมเงินไว้เป็นรางวัลถูก เมื่อห้องที่เตรียมไว้แล้ว เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะออกมาต้อนรับเชิญเฒ่าแก่ฝ่ายชายให้นั่งและวางขันหมากและบริวารเป็นที่เรียบร้อย
การนับสินสอดทองหมั้น
ก่อนทำพิธีเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะเจรจา เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนออกและเป็นผู้เริ่มต้นก่อน โดยพูดถึงฤกษ์ยามอันเป็นมงคลในวันนี้ ตนได้ทำหน้าที่นำ ขันหมากหมั้น ของฝ่ายชายซึ่งเป็นบุตรคนนั้นๆ มาให้ฝ่ายหญิงด้วยเงินสินสอดทองหมั้นเท่านั้นเท่านี้ตามที่ตกลงกันไว้ และขอให้เฒ่าแก่ ฝ่ายหญิงทำการเปิดตรวจนับดูว่า ถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า
เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะแสดงความรับรู้และกล่าวเห็นดีเห็นงามในการหมั้นครั้งนี้ด้วยหลังจากนั้น เฒ่าแก่ฝ่ายชายก็เปิดผ้าที่คลุมออกแล้วส่งให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงเพื่อตรวจนับสินสอดตามธรรมเนียม โดยต้องมีการตรวจนับต่อหน้า เฒ่าแก่และญาติทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นสักขีพยาน เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงก็จะนำแป้งกระแจะซึ่งใส่โถปริกเตรียมพร้อมไว้แล้ว ออกมาเจิมเงินสินสอดเพื่อเป็นสิริมงคล
หากมีแหวน หรือสร้อยกำไล เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่ายจะเรียกให้ฝ่ายชายหรือว่าที่เจ้าบ่าวทำการสวมให้ฝ่ายหญิง หรือว่าที่เจ้าสาวของตน ต่อหน้าทุกคนเพื่อให้เป็นสักขีพยาน ซึ่งพิธีการสวมแหวนหมั้นนี้นิยมใช้กันมาก คือตัดขั้นตอนการยกขบวนขันหมากหมั้นออกไป เหลือเพียง แต่นำสินสอด หรือของหมั้นมาหมั้นฝ่ายหญิง และมีการกินเลี้ยงฉลองกันในหมู่ญาติ ทั้งแล้วแต่จะเห็นสมควร ส่วนเงินนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เก็บรักษา อาจนำเงินสินสอดมาในวันทำพิธีแต่งงาน ซึ่งเรื่องนี้แล้วแต่การตกลงของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย
เมื่อฝ่ายหญิงนำสินสอดทองหมั้นหรือของหมั้นไปเก็บรักษาไว้ ก็คืนขันหรือภาชนะมักจะมีของแถมพกให้แก่ผู้ที่ทำการยกขันหมากทุกคน สำหรับเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะได้ของสมนาคุณพิเศษ หลังจากนั้นร่วมกันกันเลี้ยงฉลองการหมั้น
เราก็ได้รู้เกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอ และพิธีการหมั้นกันแล้วนะคะ ตอนต่อไปเราก็จะเข้าสู่พิธีการแต่งงานจนไปถึงส่งตัวเจ้าสาวกันต่อค่ะ
credit: http://animate4you.com/
ขั้นตอนสู่ขอและพิธีหมั้น
(Original Thai Wedding Eps.1)
เมื่อกล่าวถึงการแต่งงานแบบไทย หลาย ๆ คนก็จะนึกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งขั้นตอนและรายละเอียดต่าง ๆ ก็ค่อนข้างจะเยอะ ใันปัจจุบัน จึงมีการตัดทอนย่นย่อลงมา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน แต่ก็ยังรักษาพิธีการตามธรรมเนียมไทยอยู่เช่นเดิม
ลองมาดู ขั้นตอนการแต่งงานแบบไทยดั้งเดิม ตอนที่ 1 กันเลยนะคะ
1. พิธีการสู่ขอ
ผู้ที่ได้มอบหมายที่มาสู่ขอตามธรรมเนียมประเพณีไทยเรียกว่า "เฒ่าแก่" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีฐานะดี มีผู้ให้การเคารพนับถือ และเป็นที่รู้จักพ่อแม่หรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้จักอุปนิสัยใจคอของฝ่ายชายเป็นอย่างดี เพราะตัวเฒ่าแก่จะเป็นผู้รับรองในตัวฝ่ายชาย
เฒ่าแก่จะไปพบพ่อแม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง สมัยโบราณต้องมีการเลียบเคียงด้วยวาจาอันไพเราะ ดังนี้
"ได้ยินมาว่า บ้านนี้มีฟักแฟงแตงเต้าดกงาม ก็ใคร่จะมาขอพันธุ์ไปเพาะปลูกบ้าง"
หลังจากการเจรจาผ่านไปได้ด้วยดี โดยตกลงเรื่องสินสอดทองหมั้น และการหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี สมัยก่อน พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะไม่ยกลูกสาวให้โดยง่ายในการเจรจาสู่ขอครั้งแรก อาจผัดผ่อน เพื่อจะสืบประวัติฝ่ายชาย และถามความสมัครใจจากฝ่ายหญิงก่อน หรือขอวันเดือนปีเกิดของฝ่ายชายไว้เพื่อผูกดวงตรวจดูเสียก่อน หากเป็นในปัจจุบัน การเจราจาสู่อาจตกลงกันได้เลยในครั้งแรก เพราะพ่อแม่ฝ่ายหญิงได้รู้จักฝ่ายชายมาบ้างแล้ว
หากการเจรจาเป็นไปอย่างราบรื่น มีการตกลงกันเรื่องสินสอดทองหมั้นและการหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี เฒ่าแก่จะเป็นผู้แจ้งข่าวดีแก่ทางฝ่ายชาย และดำเนินการพูดคุยเพื่อเตรียมการ เช่น การจัดขบวนขันหมาก ซึ่งฝ่ายหญิง ต้องถามจำนวนแขกของฝ่ายชาย เพื่อให้ไม่เกิดความบกพร่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในเรื่องการเลี้ยงดูปูเสื่อของธรรมเนียมไทย
2. การหมั้น
หลังจากเจรจาสู่ขอเรียบร้อยแล้ว จะ้มีการหมั้นกันสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยจัดงานแต่งภายหลัง ต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น รวมทั้งกำหนดสินสอดทองหมั้น หรือที่เรียกว่า " ขันหมากหมั้น "
เดิมทีการหมั้นมักจะเรียกเป็นทองคำ และการเรียกเป็นน้ำหนัก จนเป็นศัพท์ติดปากมาจนกระทั่งบัดนี้ว่า "ทองหมั้น" ซึ่งประเพณีโบราณถือเป็นของเจ้าสาว ที่จะนำไปเป็นเครื่องแต่งตัว เพื่อเป็นทรัพย์สมบัติติดตัวในเวลาแต่งงาน
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงินสินสอดและผ้าไหว้อีกด้วย เรียกว่า "สินสอด" ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ ถือกันว่า เป็นค่าเลี้ยงดูหรือค่าน้ำนม
การกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น โดยมากนิยมกำหนดตอนเช้า ก่อนเที่ยง หรือไม่ก็ควรเป็นตอนบ่าย นอกจากนั้นต้องมีการหาฤกษ์อีก 3 ฤกษ์ คือ
- ฤกษ์ขันหมากนิยม
- ฤกษ์รดน้ำและทิศทางที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะนั่ง
- ฤกษ์ปูที่นอนและส่งตัว ซึ่งประเพณีโบราณถือว่าสำคัญมาก มักจะให้พระผู้ใหญ่หรือพราหมณ์เป็นผู้หาฤกษ์ โดยถือเกณฑ์ดวงชะตาของฝ่ายหญิงและฝ่ายชายเป็นหลักในการคำนวณ
ซึ่งโดยทั่วไปใช้หมากดิบ ทั้งลูก 4 ผล หรือ 8 ผล แต่ต้องเป็นระแง้หรือตะแง้ (กิ่งที่แยกออก จากทะลายหมาก) เดียวกัน หรือถ้าต่างระแง้ก็ต้องมีระแง้ละ 2 ผล หรือ 4 ผล คือต้องเป็นคู่ เพราะถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วใช้ปูนแดงป้ายที่เปลือกหมากเล็กน้อยทุกลูก มีพลูใบ 4 เรียง หรือ 8 เรียงก็ได้ เรียงละ 5 ใบ หรือ 10 ใบ ตัดก้านเสียแล้วใช้ปูนแดงแต้มที่โคนของของใบพลูทุกใบแล้วให้วางเรียงเข้ารอบๆ ภายใน ของขัน ดูให้เสมอกัน และก็เพราะเหตุที่ขันนี้ใส่หมากนั่นเอง จึงเรียกว่า "ขันหมาก"
ขั้นสินสอด ภายในบรรจุเงินทองหรือของหมั้นค่าสินสอดตามที่ตกลงกับทางฝ่ายหญิงไว้แล้ว เช่น สร้อย แหวน กำไล ฯลฯ อาจมีการใส่เศษเงินเพิ่มเข้าไปเป็นการถือเคล็ดว่า เงินสินสอดนี้จะได้งอกเงยได้ดอกออกผล และใส่ใบเงิน ใบทอง ใบนาถ ใบแก้ว ใบรัก และเย็บถุงแพรเล็กๆ ใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา แล้วใช้ผ้าแพรคลุมไว้ บางทีแยกขั้นหมากเป็น 2 คู่ คือใส่หมากพลู 1 คู่ และขั้นสินสอด 1 คู่ บางทีไม่แยก แต่เพิ่มขันใส่ใบเงินใบทอง ถุงข้าวเปลือก ถั่วงาอีกขั้นหนึ่ง ไม่จัดปนอยู่ในขันหมากพลูและขันสินสอด
ดอกไม้ธูปเทียน ธูปเที่ยนที่ใช้ในพิธีนี้จะใช้ธูปแพ เทียนแพ ส่วนดอกไม้นั้นจะเป็นดอกอะไรก็ได้ จะใส่ในกระทงมีกรวยปิดตั้งไว้บนธูปแพเทียนแพ
เมื่อได้ฤกษ์งามยามดี เฒ่าแก่จะทำการยกขั้นหมากหมั้นไปยังบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งทางฝ่ายหญิงจะจัดเฒ่าแก่ไว้ต้อนรับเช่นกัน เมื่อขั้นหมากหมั้นยกมาถึง จะมีเด็กเล็กๆ หน้าตาหมดจดแต่งตัวน่ารัก โดยมากมักเป็นลูกหลานของฝ่ายหญิง ทำหน้าที่ถือพานหมากออกมารับ ในพานจะมีหมากพลูที่เจียนและจีบเป็นคำๆ ใส่ไว้นับเป็นจำนวนคู่ พอขันหมากหมั้นมาถึง เด็กจะส่งพานหมากพลูให้แก่เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชายรับแล้วก็จะให้เงินเป็นของขวัญพร้อมทั้งคืนพานหมากให้ด้วย ซึ่งก่อนคืนจะนำไปเคี้ยวกินพอคำเป็นพิธี
หลังจากนั้น เด็กจะนำไปยังสถานที่ซึ่งทางฝ่ายหญิงจัดไว้เพื่อทำพิธีหมั้น ซึ่งก่อนจะถึงห้องที่เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงคอยต้อนรับอยู่ บางทีจะมีเด็ก (ลูกหลานฝ่ายหญิง) ถือเข็มขัดเงินหรือสายสร้อยเงินมากั้นประตู ซึ่งก็คือ "ประตูเงิน" เฒ่าแก่ฝ่ายชายก็ควักเงินห่อที่เตรียมไว้ ให้เป็นรางวัล อาจกั้นตั้ง 2-3 ประตูก็ได้ ยิ่งประตูเข้ามาใกล้ยิ่งมีค่ามากขึ้น คือใช้ทองหรือเพชรกั้นประตู ซึ่งเฒ่าแก่ฝ่ายชายต้องมีการตกลงกับทางฝ่ายหญิงก่อนว่าจะมีการกั้นประตูหรือไม่ และกี่ประตู จะได้เตรียมเงินไว้เป็นรางวัลถูก เมื่อห้องที่เตรียมไว้แล้ว เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะออกมาต้อนรับเชิญเฒ่าแก่ฝ่ายชายให้นั่งและวางขันหมากและบริวารเป็นที่เรียบร้อย
การนับสินสอดทองหมั้น
ก่อนทำพิธีเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะเจรจา เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนออกและเป็นผู้เริ่มต้นก่อน โดยพูดถึงฤกษ์ยามอันเป็นมงคลในวันนี้ ตนได้ทำหน้าที่นำ ขันหมากหมั้น ของฝ่ายชายซึ่งเป็นบุตรคนนั้นๆ มาให้ฝ่ายหญิงด้วยเงินสินสอดทองหมั้นเท่านั้นเท่านี้ตามที่ตกลงกันไว้ และขอให้เฒ่าแก่ ฝ่ายหญิงทำการเปิดตรวจนับดูว่า ถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า
เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะแสดงความรับรู้และกล่าวเห็นดีเห็นงามในการหมั้นครั้งนี้ด้วยหลังจากนั้น เฒ่าแก่ฝ่ายชายก็เปิดผ้าที่คลุมออกแล้วส่งให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงเพื่อตรวจนับสินสอดตามธรรมเนียม โดยต้องมีการตรวจนับต่อหน้า เฒ่าแก่และญาติทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นสักขีพยาน เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงก็จะนำแป้งกระแจะซึ่งใส่โถปริกเตรียมพร้อมไว้แล้ว ออกมาเจิมเงินสินสอดเพื่อเป็นสิริมงคล
หากมีแหวน หรือสร้อยกำไล เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่ายจะเรียกให้ฝ่ายชายหรือว่าที่เจ้าบ่าวทำการสวมให้ฝ่ายหญิง หรือว่าที่เจ้าสาวของตน ต่อหน้าทุกคนเพื่อให้เป็นสักขีพยาน ซึ่งพิธีการสวมแหวนหมั้นนี้นิยมใช้กันมาก คือตัดขั้นตอนการยกขบวนขันหมากหมั้นออกไป เหลือเพียง แต่นำสินสอด หรือของหมั้นมาหมั้นฝ่ายหญิง และมีการกินเลี้ยงฉลองกันในหมู่ญาติ ทั้งแล้วแต่จะเห็นสมควร ส่วนเงินนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เก็บรักษา อาจนำเงินสินสอดมาในวันทำพิธีแต่งงาน ซึ่งเรื่องนี้แล้วแต่การตกลงของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย
เมื่อฝ่ายหญิงนำสินสอดทองหมั้นหรือของหมั้นไปเก็บรักษาไว้ ก็คืนขันหรือภาชนะมักจะมีของแถมพกให้แก่ผู้ที่ทำการยกขันหมากทุกคน สำหรับเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะได้ของสมนาคุณพิเศษ หลังจากนั้นร่วมกันกันเลี้ยงฉลองการหมั้น
เราก็ได้รู้เกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอ และพิธีการหมั้นกันแล้วนะคะ ตอนต่อไปเราก็จะเข้าสู่พิธีการแต่งงานจนไปถึงส่งตัวเจ้าสาวกันต่อค่ะ
credit: http://animate4you.com/
Monday, September 26, 2011
พิธีการและขนบธรรมเนียมงานแต่งงาน การนับสินสอดของหมั้น รวมถึงพิธีสวมแหวนหมั้น (Thai Engagement & Wedding)
พิธีการและขนบธรรมเนียมงานแต่งงาน การนับสินสอดของหมั้น รวมถึงพิธีสวมแหวนหมั้น
(Thai Engagement & Wedding)
การนับสินสอดของหมั้น พิธีสวมแหวนหมั้น งานแต่งงาน
สินสอดของหมั้น และการสวมแหวนหมั้น
ในการยกขันหมากครั้งนี้ ฝ่ายชายจะให้เฒ่าแก่และพ่อแม่ของตน มาทำหน้าที่หมั้นแทนก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ฝ่ายชาย หรือว่าที่เจ้าบ่าวมักจะมากับ ขบวนขันหมากหมั้นด้วย ก่อนทำพิธีเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะเจรจากัน เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เป็นผู้เริ่มต้นก่อนโดยพูดถึงวัน และฤกษ์ยามอันเป็นมงคลในวันนี้ ตนได้ทำหน้าที่ นำ ขันหมากหมั้น ของฝ่ายชายซึ่งเป็นบุตรคนนั้น ๆ มาหมั้นฝ่ายหญิง ด้วยเงินสินสอดทองหมั้น เท่านั้นเท่านี้ ตามที่ตกลงกันไว้ และขอให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง ทำการเปิดตรวจนับดู ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า
เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะแสดงความรับรู้ และกล่าวเห็นดีเห็นงามไปกับการหมั้นครั้งนี้ด้วย ต่างร่วมพูดคุยกัน เพื่อความสนิทสนมกลมเกลียว ต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี ต่อจากนั้นจึงมีการเปิดผ้าคลุมขันหมาก ออก เพื่อตรวจนับสินสอด ตามธรรมเนียม เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนดีแล้ว จึงสั่งให้นำขันหมากเหล่านั้น ไปเก็บไว้ ในห้อง หรือที่จัดไว้
ในการตรวจนับสินสอดทองหมั้นนี้ จะต้องตรวจนับกันต่อหน้าเฒ่าแก่ และญาติมิตรทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ช่วย เป็นสักขีพยาน เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชายบอกให้ลองตรวจนับดู ควรเปิดผ้าคลุมขันหมากออก แล้วจึงส่งให้ เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง
หากมีแหวนหรือสร้อยกำไล เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่าย จะเรียกให้ฝ่ายชาย หรือว่าที่เจ้าบ่าว ทำการสวมให้ฝ่ายหญิง หรือว่าที่เจ้าสาวของตน ต่อหน้าทุกคนเพื่อให้เป็นสักขีพยาน ซึ่งพิธีสวมแหวนหมั้นนี้ในปัจจุบัน ได้นำมาใช้กันมาก คือตัดขั้นตอนการยกขบวนขันหมากหมั้นออกไป เหลือเพียงแต่การนำสินสอด และของหมั้นมาหมั้นฝ่ายหญิง และมีการกินเลี้ยงฉลองกัน ในหมู่ญาติมิตร ทั้งนี้แล้วแต่จะเห็นสมควร ส่วนเงินนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เก็บรักษาไว้ หรือทำแต่พิธีสวมแหวน และทองหมั้นในวันทำพิธีหมั้น สำหรับเงินสินสอดนั้น ค่อยนำมาในวันทำพิธีแต่งงาน เรื่องนี้แล้วแต่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะตกลง
เมื่อฝ่ายหญิงนำสินสอดทองหมั้น หรือของหมั้น ไปเก็บรักษาไว้แล้ว ก็คืนขันหรือภาชนะ แต่จะต้องมีของแถมพก ให้กับผู้ที่ทำการยกขันหมากทุกคน สำหรับเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายนั้น จะได้ของสมนาคุณเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ เป็นขนม และเสื้อผ้าหรือสุดแล้วแต่จะเห็นสมควร ต่อจากนั้นจึงร่วมกัน กินเลี้ยงฉลองการหมั้น หรือร่วม รับประทานอาหารด้วยกัน ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ
ธรรมเนียมเกี่ยวกับพิธีการหมั้น และสินสอดทองหมั้น
เกี่ยวกับพิธีการหมั้น และสินสอดทองหมั้นนั้น เมื่อทำพิธีแล้ว หากต่อมาฝ่ายชายผิดสัญญา คือไม่ยกขันหมากมา แต่งงานตามวันเวลาที่ตกลงกันไว้ ทำให้ฝ่ายหญิงเป็นหม้ายขันหมาก ฝ่ายชายจะต้อง ถูกริบสินสอดทองหมั้น ทั้งหมด จะเรียกร้องคืนไม่ได้
และหากฝ่ายหญิงเป็นผู้ผิดสัญญา คือไม่ยอมแต่งงานกับฝ่ายชาย ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องคืน สินสอดทองหมั้นทั้งหมด แก่ฝ่ายชายจนครบถ้วน ด้วยเหตุนี้บางทีเฒ่าแก่ อาจมีการจดบันทึกรายการ เงินทองของหมั้น เอาไว้ให้เป็นหลักฐานเรียบร้อย แต่มักไม่ค่อยนิยมทำกัน เพราะเหมือนกับว่าไม่ไว้วางใจ หรือเป็นสิ่งไม่ดี ที่อาจจะต้องมีการทวงคืน ซึ่งเกิดจากการผิดสัญญา หรือผิดพ้องหมองใจกัน
หลังจากทำพิธีหมั้นหมาย เป็นที่เรียบร้อยถูกต้องแล้ว ชายและหญิง ที่เป็นคู่หมั้นจะสามารถ ไปไหน มาไหน ด้วยกันได้ อย่างเปิดเผย มากกว่าสมัยที่เพียงแต่ชอบพอกัน แต่ถึงอย่างไรตามประเพณีไทย ก็ไม่ยอมให้ เป็นอิสระ อยู่นอกเหนือสายตา ของผู้ใหญ่เสียทีเดียว จนกว่าจะถึง วันแต่งงาน ซึ่งในวันทำพิธีหมั้น ก็จะกำหนด หรือประกาศอย่าง เป็นทางการอีกครั้ง เกี่ยวกับกำหนดวันทำพิธีมงคลสมรสเพื่อให้แขกเหรื่อทราบ
credit: http://www.thaitopwedding.com/
(Thai Engagement & Wedding)
การนับสินสอดของหมั้น พิธีสวมแหวนหมั้น งานแต่งงาน
สินสอดของหมั้น และการสวมแหวนหมั้น
ในการยกขันหมากครั้งนี้ ฝ่ายชายจะให้เฒ่าแก่และพ่อแม่ของตน มาทำหน้าที่หมั้นแทนก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ฝ่ายชาย หรือว่าที่เจ้าบ่าวมักจะมากับ ขบวนขันหมากหมั้นด้วย ก่อนทำพิธีเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะเจรจากัน เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เป็นผู้เริ่มต้นก่อนโดยพูดถึงวัน และฤกษ์ยามอันเป็นมงคลในวันนี้ ตนได้ทำหน้าที่ นำ ขันหมากหมั้น ของฝ่ายชายซึ่งเป็นบุตรคนนั้น ๆ มาหมั้นฝ่ายหญิง ด้วยเงินสินสอดทองหมั้น เท่านั้นเท่านี้ ตามที่ตกลงกันไว้ และขอให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง ทำการเปิดตรวจนับดู ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า
เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะแสดงความรับรู้ และกล่าวเห็นดีเห็นงามไปกับการหมั้นครั้งนี้ด้วย ต่างร่วมพูดคุยกัน เพื่อความสนิทสนมกลมเกลียว ต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี ต่อจากนั้นจึงมีการเปิดผ้าคลุมขันหมาก ออก เพื่อตรวจนับสินสอด ตามธรรมเนียม เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนดีแล้ว จึงสั่งให้นำขันหมากเหล่านั้น ไปเก็บไว้ ในห้อง หรือที่จัดไว้
ในการตรวจนับสินสอดทองหมั้นนี้ จะต้องตรวจนับกันต่อหน้าเฒ่าแก่ และญาติมิตรทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ช่วย เป็นสักขีพยาน เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชายบอกให้ลองตรวจนับดู ควรเปิดผ้าคลุมขันหมากออก แล้วจึงส่งให้ เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง
หากมีแหวนหรือสร้อยกำไล เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่าย จะเรียกให้ฝ่ายชาย หรือว่าที่เจ้าบ่าว ทำการสวมให้ฝ่ายหญิง หรือว่าที่เจ้าสาวของตน ต่อหน้าทุกคนเพื่อให้เป็นสักขีพยาน ซึ่งพิธีสวมแหวนหมั้นนี้ในปัจจุบัน ได้นำมาใช้กันมาก คือตัดขั้นตอนการยกขบวนขันหมากหมั้นออกไป เหลือเพียงแต่การนำสินสอด และของหมั้นมาหมั้นฝ่ายหญิง และมีการกินเลี้ยงฉลองกัน ในหมู่ญาติมิตร ทั้งนี้แล้วแต่จะเห็นสมควร ส่วนเงินนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เก็บรักษาไว้ หรือทำแต่พิธีสวมแหวน และทองหมั้นในวันทำพิธีหมั้น สำหรับเงินสินสอดนั้น ค่อยนำมาในวันทำพิธีแต่งงาน เรื่องนี้แล้วแต่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะตกลง
เมื่อฝ่ายหญิงนำสินสอดทองหมั้น หรือของหมั้น ไปเก็บรักษาไว้แล้ว ก็คืนขันหรือภาชนะ แต่จะต้องมีของแถมพก ให้กับผู้ที่ทำการยกขันหมากทุกคน สำหรับเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายนั้น จะได้ของสมนาคุณเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ เป็นขนม และเสื้อผ้าหรือสุดแล้วแต่จะเห็นสมควร ต่อจากนั้นจึงร่วมกัน กินเลี้ยงฉลองการหมั้น หรือร่วม รับประทานอาหารด้วยกัน ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ
ธรรมเนียมเกี่ยวกับพิธีการหมั้น และสินสอดทองหมั้น
เกี่ยวกับพิธีการหมั้น และสินสอดทองหมั้นนั้น เมื่อทำพิธีแล้ว หากต่อมาฝ่ายชายผิดสัญญา คือไม่ยกขันหมากมา แต่งงานตามวันเวลาที่ตกลงกันไว้ ทำให้ฝ่ายหญิงเป็นหม้ายขันหมาก ฝ่ายชายจะต้อง ถูกริบสินสอดทองหมั้น ทั้งหมด จะเรียกร้องคืนไม่ได้
และหากฝ่ายหญิงเป็นผู้ผิดสัญญา คือไม่ยอมแต่งงานกับฝ่ายชาย ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องคืน สินสอดทองหมั้นทั้งหมด แก่ฝ่ายชายจนครบถ้วน ด้วยเหตุนี้บางทีเฒ่าแก่ อาจมีการจดบันทึกรายการ เงินทองของหมั้น เอาไว้ให้เป็นหลักฐานเรียบร้อย แต่มักไม่ค่อยนิยมทำกัน เพราะเหมือนกับว่าไม่ไว้วางใจ หรือเป็นสิ่งไม่ดี ที่อาจจะต้องมีการทวงคืน ซึ่งเกิดจากการผิดสัญญา หรือผิดพ้องหมองใจกัน
หลังจากทำพิธีหมั้นหมาย เป็นที่เรียบร้อยถูกต้องแล้ว ชายและหญิง ที่เป็นคู่หมั้นจะสามารถ ไปไหน มาไหน ด้วยกันได้ อย่างเปิดเผย มากกว่าสมัยที่เพียงแต่ชอบพอกัน แต่ถึงอย่างไรตามประเพณีไทย ก็ไม่ยอมให้ เป็นอิสระ อยู่นอกเหนือสายตา ของผู้ใหญ่เสียทีเดียว จนกว่าจะถึง วันแต่งงาน ซึ่งในวันทำพิธีหมั้น ก็จะกำหนด หรือประกาศอย่าง เป็นทางการอีกครั้ง เกี่ยวกับกำหนดวันทำพิธีมงคลสมรสเพื่อให้แขกเหรื่อทราบ
credit: http://www.thaitopwedding.com/
Saturday, September 24, 2011
ทําเล็บเจ้าสาววันแต่งงาน ใครว่าไม่สำคัญ!
ทําเล็บเจ้าสาววันแต่งงาน ใครว่าไม่สำคัญ! (Bridal Nails for Wedding)
การทำมือและเล็บของเจ้าสาวให้สวยและดูดี ในวันหมั้นหรือวันแต่งงานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่งค่ะ โทนสีเล็บของเจ้าสาวที่จะทาหรือเพ้นท์เล็บ ทำในวันหมั้นหรือวันแต่งงาน แนะนำว่าไม่ควรที่จะลืมให้ความสำคัญ เพราะอาจเป็นห่วงแต่เรื่องแต่งหน้า และ แบบทรงผมเจ้าสาว จนมองข้ามมือและเล็บไป เพราะไม่เหมือนเป็นวันปรกติทั่วไป ที่เราสามารถเลือกสีหรือลายเล็บได้ตามใจชอบ เป็นวันที่เราจะเป็นคนสำคัญ โดดเด่น และต้องยกมือไหว้แขกที่มาร่วมงานเกือบตลอดวัน เป็นเป้าสายตาที่สุด ในวันแต่งงานของตัวเอง การเลือกสีหรือลายเล็บของเจ้าสาวที่จะทาหรือเพ้นท์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
พิธีการ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง อย่างเช่น พิธีรดน้ำสังข์ และ พิธีสวมแหวนหมั้นหรือแหวนแต่งงาน มือและเล็บของเจ้าสาวจะเด่นชัดที่สุด และบุคคลที่อยู่ในพิธีการส่วนใหญ่ จะเป็นแขกผู้ใหญ่ สีเล็บควรเป็นโทนสีธรรมชาติ อ่อนหวาน เรียบร้อย ดูสวยกลมกลืนกับสีผิว หรือสีชุดเจ้าสาว แต่ถ้าเป็นงานจัดเลี้ยงงานแต่งงาน หรืองาน Reception ในตอนกลางคืน การเลือกสีเล็บก็อาจเป็นสีที่ดูสดใสมากขึ้น สามารถเลือกได้หลากหลายมากขึ้น อาจจะเลือกโทนสีเล็บตามใจชอบ หรืออาจจะเลือกให้ดูเข้ากับธีมงานแต่งงานของตัวเองก็ได้
ในงานเลี้ยงงานแต่งงานช่วงเย็น ช่วงเวลาที่มือเล็บของเจ้าสาวจะเห็นชัดเจนที่สุด นอกจากตอนพนมมือไหว้ ต้อนรับแขกอยู่ที่หน้างานหรือสถานที่จัดงานแต่งงานแล้ว น่าจะเป็นตอนที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวขึ้นเวที ถือไมโครโฟนพูดขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน และ ตอนตัดเค้กแต่งงาน นั่นเอง
สีผิวของเจ้าสาว น่าจะเป็นข้อที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ของการเลือกโทนสีเล็บ เพราะสีผิวเป็นส่วนที่ชัดเจน และเป็นส่วนที่ตัดหรือดูกลมกลืนกับสีของเล็บที่สุด หลักการเบื้องต้นของการเลือกโทนสีทาเล็บสำหรับเจ้าสาว
- เจ้าสาวเป็นคนผิวขาวมาก ให้เลือกสีโทนแดงออกชมพู
- เจ้าสาวเป็นคนผิวขาวปานกลาง ให้เลือกโทนแดงเข้ม หรือ สีไวน์
- เจ้าสาวเป็นคนผิวสีแทน ให้เลือกสีโทนส้มแดง น้ำตาล
- เจ้าสาวเป็นคนผิวคล้ำ ให้เลือกสีโทนแดงสด ม่วงเข้ม หรือ สีเงิน
บุคลิก เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าสาว ควรที่จะต้องคำนึงถึง การเลือกโทนสีของเล็บด้วย จะมีประโยชน์อะไรถ้าเราเลือกลายหรือสีเล็บตามคำแนะนำ แต่เมื่อเจ้าสาวทำไปแล้ว ขัดกับบุคลิกตัวเอง หรือไม่มีความมั่นใจ เพราะไม่ใช่บุคลิกของตัวเอง ถ้าเป็นเจ้าสาวบุคลิกดูเปรี้ยวๆ ชอบสีเล็บสไตล์สดใส แต่ต้องมาทาสีเล็บหวานๆ ทำให้รู้สึกขัดกับบุคลิกของตัวเอง ทำให้เคอะเขินไม่มั่นใจ นั่นอาจทำให้เกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี ดังนั้นสิ่งสำคัญควรหาสีทาเล็บหรือ ลายเพ้นท์เล็บของเจ้าสาว ที่ดูเหมาะกับโอกาสและเลือกให้เข้าบุคลิกของตัวเองในวันแต่งงาน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
info credit: http://thai-wedding-planner.blogspot.com/
การทำมือและเล็บของเจ้าสาวให้สวยและดูดี ในวันหมั้นหรือวันแต่งงานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่งค่ะ โทนสีเล็บของเจ้าสาวที่จะทาหรือเพ้นท์เล็บ ทำในวันหมั้นหรือวันแต่งงาน แนะนำว่าไม่ควรที่จะลืมให้ความสำคัญ เพราะอาจเป็นห่วงแต่เรื่องแต่งหน้า และ แบบทรงผมเจ้าสาว จนมองข้ามมือและเล็บไป เพราะไม่เหมือนเป็นวันปรกติทั่วไป ที่เราสามารถเลือกสีหรือลายเล็บได้ตามใจชอบ เป็นวันที่เราจะเป็นคนสำคัญ โดดเด่น และต้องยกมือไหว้แขกที่มาร่วมงานเกือบตลอดวัน เป็นเป้าสายตาที่สุด ในวันแต่งงานของตัวเอง การเลือกสีหรือลายเล็บของเจ้าสาวที่จะทาหรือเพ้นท์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
พิธีการ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง อย่างเช่น พิธีรดน้ำสังข์ และ พิธีสวมแหวนหมั้นหรือแหวนแต่งงาน มือและเล็บของเจ้าสาวจะเด่นชัดที่สุด และบุคคลที่อยู่ในพิธีการส่วนใหญ่ จะเป็นแขกผู้ใหญ่ สีเล็บควรเป็นโทนสีธรรมชาติ อ่อนหวาน เรียบร้อย ดูสวยกลมกลืนกับสีผิว หรือสีชุดเจ้าสาว แต่ถ้าเป็นงานจัดเลี้ยงงานแต่งงาน หรืองาน Reception ในตอนกลางคืน การเลือกสีเล็บก็อาจเป็นสีที่ดูสดใสมากขึ้น สามารถเลือกได้หลากหลายมากขึ้น อาจจะเลือกโทนสีเล็บตามใจชอบ หรืออาจจะเลือกให้ดูเข้ากับธีมงานแต่งงานของตัวเองก็ได้
ในงานเลี้ยงงานแต่งงานช่วงเย็น ช่วงเวลาที่มือเล็บของเจ้าสาวจะเห็นชัดเจนที่สุด นอกจากตอนพนมมือไหว้ ต้อนรับแขกอยู่ที่หน้างานหรือสถานที่จัดงานแต่งงานแล้ว น่าจะเป็นตอนที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวขึ้นเวที ถือไมโครโฟนพูดขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน และ ตอนตัดเค้กแต่งงาน นั่นเอง
สีผิวของเจ้าสาว น่าจะเป็นข้อที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ของการเลือกโทนสีเล็บ เพราะสีผิวเป็นส่วนที่ชัดเจน และเป็นส่วนที่ตัดหรือดูกลมกลืนกับสีของเล็บที่สุด หลักการเบื้องต้นของการเลือกโทนสีทาเล็บสำหรับเจ้าสาว
- เจ้าสาวเป็นคนผิวขาวมาก ให้เลือกสีโทนแดงออกชมพู
- เจ้าสาวเป็นคนผิวขาวปานกลาง ให้เลือกโทนแดงเข้ม หรือ สีไวน์
- เจ้าสาวเป็นคนผิวสีแทน ให้เลือกสีโทนส้มแดง น้ำตาล
- เจ้าสาวเป็นคนผิวคล้ำ ให้เลือกสีโทนแดงสด ม่วงเข้ม หรือ สีเงิน
บุคลิก เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าสาว ควรที่จะต้องคำนึงถึง การเลือกโทนสีของเล็บด้วย จะมีประโยชน์อะไรถ้าเราเลือกลายหรือสีเล็บตามคำแนะนำ แต่เมื่อเจ้าสาวทำไปแล้ว ขัดกับบุคลิกตัวเอง หรือไม่มีความมั่นใจ เพราะไม่ใช่บุคลิกของตัวเอง ถ้าเป็นเจ้าสาวบุคลิกดูเปรี้ยวๆ ชอบสีเล็บสไตล์สดใส แต่ต้องมาทาสีเล็บหวานๆ ทำให้รู้สึกขัดกับบุคลิกของตัวเอง ทำให้เคอะเขินไม่มั่นใจ นั่นอาจทำให้เกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี ดังนั้นสิ่งสำคัญควรหาสีทาเล็บหรือ ลายเพ้นท์เล็บของเจ้าสาว ที่ดูเหมาะกับโอกาสและเลือกให้เข้าบุคลิกของตัวเองในวันแต่งงาน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
info credit: http://thai-wedding-planner.blogspot.com/
Wednesday, September 21, 2011
ทำไม.. ต้องสวมแหวนแต่งงานที่ "นิ้วนาง"
ทำไม...ต้องสวมแหวนแต่งงานที่ "นิ้วนาง"
(Why Do People Wear Wedding Rings On Their Ring Finger?)
ทำไม... ต้องสวมแหวนแต่งงานที่ “นิ้วนาง” ด้วย ไม่ใช่แค่เพราะเราเรียกมันว่า ring finger แน่ๆ มันต้องมีความหมายมากกว่านั้น
ทำไมต้องสวมแหวนนิ้วนางข้างซ้าย นั้นมีด้วยกันหลากหลายเหตุผล...
ที่มาของการเลือกให้นิ้วนางข้างซ้ายเป็นนิ้วสำหรับแหวนแต่งงาน
ที่มาของการเลือกให้นิ้วนางข้างซ้ายเป็นนิ้วสำหรับแหวนแต่งงาน เกิดขึ้นเพราะคนสมัยโบราณเชื่อว่านิ้วนางข้างซ้ายนั้นเป็น ที่ตั้งของเส้นเลือดแห่งความรัก ทั้งนี้ก่อนที่วิทยาศาสตร์จะทำให้มนุษย์ทราบระบบการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต คนโบราณเชื่อว่าเส้นเลือดบนนิ้วนางเชื่อมต่อไปยังหัวใจ อันเป็นสัญลักษณ์ของความรัก โดยความความเชื่อดังกล่าว มีการอ้างว่าเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นในอาณาจักรกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 3 ปี ก่อนคริสตกาลด้วยการเชื่อมโยงระหว่างมือและหัวใจ จึงมีการตั้งชื่อเส้นเลือดดังกล่าวว่า vena amori อันเป็นภาษาละติน ซึ่งมีหมายความว่า "เส้นเลือดแห่งความรัก" (vein of love) ตามความเชื่อดังกล่าว ผู้คนจึงยอมรับให้สวมแหวนแต่งงานบนนิ้วนางข้างซ้าย
และการสวมแหวนแต่งงานในนิ้วนางข้างซ้ายนี้เองเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า คู่แต่งงานได้ประกาศมอบความรักนิรันดรให้แก่กันและกัน จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาในยุโรปจนถึงทุกวันนี้
ในสมัยกลางในยุโรป พิธีแต่งงานของชาวคริสต์จะมีการสวมแหวนแต่งงานเรียงกันมาตั้งแต่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ของมือข้างซ้าย เพื่อแสดงถึงหลักตรีเอกานุภาพของศาสนา อันได้แก่ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ก่อนที่ในเวลาต่อมา คู่สมรสจะสวมเพียงนิ้วนางข้างซ้ายเพียงนิ้วเดียว
ในประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ แหวนแต่งงานจะสวมบนนิ้วนางข้างซ้าย อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศ เช่น เยอรมนี และชิลี แหวนแต่งงานจะถูกใช้สวมบนนิ้วนางข้างขวาแทน ชาวคริสต์นิกายออทอดอกซ์ พวกยุโรปตะวันออกและชาวยิวมีธรรมเนียมการสวมแหวนแต่งงานข้างขวาเช่นกัน ขณะในเนเธอร์แลนด์ และกลุ่มชาวคริสต์นิกายคาทอลิกจะสวมแหวนแห่งความรักนี้บนนิ้วนางข้างซ้าย
การทดลองที่น่ามหัศจรรย์ ของที่มาของการสวมแหวนแต่งงานที่ "นิ้วนาง"
ทดลองพิสูจน์ความมหัศจรรย์ด้วยตัวเอง ลองแบมือ 2 ข้าง ประกบเข้าหากัน (พนมมือ) แล้วงอนิ้วกลางลงข้างใน เอาหลังนิ้วกลาง ทั้ง 2 ข้างมาชนกัน ทีนี้... นิ้วที่เหลือ ก็คือ โป้ง/ ชี้/ นาง/ก้อย ให้เอาปลายนิ้วมาชนกัน ลองปล่อยนิ้วที่เอาปลายชนกัน ให้ออกจากกันทีละนิ้วโดยที่ “นิ้วกลาง” ยังคงงอแตะกันอยู่จะพบว่า... นิ้วชี้ ก็ปล่อยจากกันได้ นิ้วโป้ง ก็ปล่อยจากกันได้ นิ้วก้อย ก็ปล่อยจากกันได้ อย่างสบายๆ
แต่... “นิ้วนาง” กลับปล่อยออกจากกันไม่ได้ นั่นเป็นเพราะ ...
นิ้วกลาง แทน ตัวเราเอง
นิ้วโป้ง แทน พ่อแม่ ซึ่งวันหนึ่งท่านก็ต้องจากเราไป
นิ้วชี้ แทน พี่น้อง ซึ่งเขาก็ต้องไปมีชีวิตของเขาเอง
นิ้วก้อย แทน ลูก พอโตขึ้น ลูกก็ต้องไปมีชีวิตของตัวเอง มีสังคม, ครอบครัว ของตัวเอง
นิ้วนาง แทน "คู่ชีวิต" ...ทีนี้ก็เหลือแค่ "คู่ชีวิต" แล้วล่ะ ที่จะอยู่กับเราไปจนแก่
note: ตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว นิ้วนางไม่สามารถแยกได้ เพราะว่านิ้วนางไม่มีกล้ามเนื้อที่ใช้ควบคุมการเหยียดนิ้วเหมือนนิ้วอื่นๆ
credit:
http://www.umarin.com/
http://horoscope.sanook.com/
(Why Do People Wear Wedding Rings On Their Ring Finger?)
ทำไม... ต้องสวมแหวนแต่งงานที่ “นิ้วนาง” ด้วย ไม่ใช่แค่เพราะเราเรียกมันว่า ring finger แน่ๆ มันต้องมีความหมายมากกว่านั้น
ทำไมต้องสวมแหวนนิ้วนางข้างซ้าย นั้นมีด้วยกันหลากหลายเหตุผล...
ที่มาของการเลือกให้นิ้วนางข้างซ้ายเป็นนิ้วสำหรับแหวนแต่งงาน
ที่มาของการเลือกให้นิ้วนางข้างซ้ายเป็นนิ้วสำหรับแหวนแต่งงาน เกิดขึ้นเพราะคนสมัยโบราณเชื่อว่านิ้วนางข้างซ้ายนั้นเป็น ที่ตั้งของเส้นเลือดแห่งความรัก ทั้งนี้ก่อนที่วิทยาศาสตร์จะทำให้มนุษย์ทราบระบบการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต คนโบราณเชื่อว่าเส้นเลือดบนนิ้วนางเชื่อมต่อไปยังหัวใจ อันเป็นสัญลักษณ์ของความรัก โดยความความเชื่อดังกล่าว มีการอ้างว่าเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นในอาณาจักรกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 3 ปี ก่อนคริสตกาลด้วยการเชื่อมโยงระหว่างมือและหัวใจ จึงมีการตั้งชื่อเส้นเลือดดังกล่าวว่า vena amori อันเป็นภาษาละติน ซึ่งมีหมายความว่า "เส้นเลือดแห่งความรัก" (vein of love) ตามความเชื่อดังกล่าว ผู้คนจึงยอมรับให้สวมแหวนแต่งงานบนนิ้วนางข้างซ้าย
และการสวมแหวนแต่งงานในนิ้วนางข้างซ้ายนี้เองเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า คู่แต่งงานได้ประกาศมอบความรักนิรันดรให้แก่กันและกัน จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาในยุโรปจนถึงทุกวันนี้
ในสมัยกลางในยุโรป พิธีแต่งงานของชาวคริสต์จะมีการสวมแหวนแต่งงานเรียงกันมาตั้งแต่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ของมือข้างซ้าย เพื่อแสดงถึงหลักตรีเอกานุภาพของศาสนา อันได้แก่ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ก่อนที่ในเวลาต่อมา คู่สมรสจะสวมเพียงนิ้วนางข้างซ้ายเพียงนิ้วเดียว
ในประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ แหวนแต่งงานจะสวมบนนิ้วนางข้างซ้าย อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศ เช่น เยอรมนี และชิลี แหวนแต่งงานจะถูกใช้สวมบนนิ้วนางข้างขวาแทน ชาวคริสต์นิกายออทอดอกซ์ พวกยุโรปตะวันออกและชาวยิวมีธรรมเนียมการสวมแหวนแต่งงานข้างขวาเช่นกัน ขณะในเนเธอร์แลนด์ และกลุ่มชาวคริสต์นิกายคาทอลิกจะสวมแหวนแห่งความรักนี้บนนิ้วนางข้างซ้าย
การทดลองที่น่ามหัศจรรย์ ของที่มาของการสวมแหวนแต่งงานที่ "นิ้วนาง"
ทดลองพิสูจน์ความมหัศจรรย์ด้วยตัวเอง ลองแบมือ 2 ข้าง ประกบเข้าหากัน (พนมมือ) แล้วงอนิ้วกลางลงข้างใน เอาหลังนิ้วกลาง ทั้ง 2 ข้างมาชนกัน ทีนี้... นิ้วที่เหลือ ก็คือ โป้ง/ ชี้/ นาง/ก้อย ให้เอาปลายนิ้วมาชนกัน ลองปล่อยนิ้วที่เอาปลายชนกัน ให้ออกจากกันทีละนิ้วโดยที่ “นิ้วกลาง” ยังคงงอแตะกันอยู่จะพบว่า... นิ้วชี้ ก็ปล่อยจากกันได้ นิ้วโป้ง ก็ปล่อยจากกันได้ นิ้วก้อย ก็ปล่อยจากกันได้ อย่างสบายๆ
แต่... “นิ้วนาง” กลับปล่อยออกจากกันไม่ได้ นั่นเป็นเพราะ ...
นิ้วกลาง แทน ตัวเราเอง
นิ้วโป้ง แทน พ่อแม่ ซึ่งวันหนึ่งท่านก็ต้องจากเราไป
นิ้วชี้ แทน พี่น้อง ซึ่งเขาก็ต้องไปมีชีวิตของเขาเอง
นิ้วก้อย แทน ลูก พอโตขึ้น ลูกก็ต้องไปมีชีวิตของตัวเอง มีสังคม, ครอบครัว ของตัวเอง
นิ้วนาง แทน "คู่ชีวิต" ...ทีนี้ก็เหลือแค่ "คู่ชีวิต" แล้วล่ะ ที่จะอยู่กับเราไปจนแก่
note: ตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว นิ้วนางไม่สามารถแยกได้ เพราะว่านิ้วนางไม่มีกล้ามเนื้อที่ใช้ควบคุมการเหยียดนิ้วเหมือนนิ้วอื่นๆ
credit:
http://www.umarin.com/
http://horoscope.sanook.com/
Monday, September 19, 2011
แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน (Engagement ring & Wedding band)
แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน
ถ้าตอนหมั้นใส่แหวนที่นิ้วนาวข้างซ้ายแล้ว ตอนแต่งงานแหวนหมั้นจะไปอยู่ที่ไหน?
ฝรั่งเค้านิยมเรียก แหวนหมั้นหรือแหวนที่ใช้ขอแต่งงานว่า Engagement ring ส่วนแหวนแต่งงานเรียกว่า Wedding band ถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ
Engagement ring คือ แหวนที่มีหัวเพชร
Wedding band คือ แหวนที่เพชรเรียง หรือ ที่นิยมเรียกว่า "แหวนแถว"
แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน ตามธรรมเนียมฝรั่ง
ตามธรรมเนียมฝรั่ง แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน นี้จะใส่นิ้วนางข้าง “ซ้าย” ทั้งสองวง การหมั้นหมายอาจจะไม่ได้เป็นพิธีการใหญ่โตเหมือนธรรมเนียมไทย ส่วนใหญ่แล้วจะทำกันเป็นการส่วนตัว ไม่ต้องมีผู้ใหญ่ ไม่ต้องมีพยาน ไม่ต้องมีการแห่ขันหมากเหมือนของไทย การหมั้น จะทำกันเองเป็นการส่วนตัว ไม่มีวโรกาสที่ต้องหาฤกษ์ยามอะไร บางที่ก็หมั้นที่ชายหาด บางคู่ก็หมั้นกันบนเครื่องบิน หรือแล้วแต่ไหนที่คิดว่าโรแมนติกสำหรับตัวเองและคนรัก
ส่วนหลังจากนั้นจะเลี้ยงหรือไม่เลี้ยงก็ไม่มีการกำหนดไว้ตายตัว แต่หลังจากนั้นแล้ว ว่าที่เจ้าสาวก็จะสวมแหวนหมั้นไว้ที่นิ้วนางข้างซ้ายไว้เลย ต่อมาเมื่อเข้าสู่พิธีแต่งงานก็จะสวมแหวนแต่งงานซึ่งเป็นแหวนแถว หรืออาจจะเป็นแหวนเกลี้ยงไม่มีเพชร ซ้อนแหวนหมั้นเอาไว้ แหวนสองวงนี้ใส่คู่กันค่ะ ฝรั่งจึงนิยมทำเป็นเซ็ท เพื่อความสวยงามเวลาใส่คู่กัน แต่ของผู้ชายจะเป็นแหวนแต่งงานวงเดียว
แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน ตามธรรมเนียมไทย
ส่วนของคนไทย แหวนแต่งงานไม่มีในประเพณีของการปฏิบัติ แต่จะซื้อให้กันภายหลังแต่งงาน หรือให้พร้อมตอนแต่งงาน หรือตามสะดวกที่จะซื้อให้กัน ทั้งนี้บางคู่อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักนิยมให้แหวนเป็นสัญลักษณ์แทนใจด้วยเหมือนกัน แต่จะใส่แค่แหวนวงเดียวค่ะ แหวนหมั้นกับแหวนแต่งงานก็เป็นวงเดียวกันเลย หลังจากเข้าพิธีแล้ว ก็จะใส่ติดนิ้วไว้ตลอดเช่นกัน แม้กระทั่งเวลาอาบน้ำหรือเวลานอน อย่างน้อย 3-7 วัน อันนี้เป็นเคล็ดค่ะ
สำหรับคนที่แหวนแต่งานเป็นเพชรเม็ดใหญ่ กังวลเรื่องที่จะต้องใส่ทุกวัน ก็สามารถจะเอาแหวนจริงเก็บเอาไว้ แล้วทำเห็นแหวน band เอาไว้ใส่ในชีวิตประจำวันค่ะ สำหรับคู่รักที่ทำแหวน band เข้าคู่กันทั้งสองวง ทั้งของเจ้าสาวและเจ้าบ่าวก็เป็นอะไรที่น่ารักดีนะคะ
credit: http://www.weddinganswer.com/
ถ้าตอนหมั้นใส่แหวนที่นิ้วนาวข้างซ้ายแล้ว ตอนแต่งงานแหวนหมั้นจะไปอยู่ที่ไหน?
ฝรั่งเค้านิยมเรียก แหวนหมั้นหรือแหวนที่ใช้ขอแต่งงานว่า Engagement ring ส่วนแหวนแต่งงานเรียกว่า Wedding band ถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ
Engagement ring คือ แหวนที่มีหัวเพชร
Wedding band คือ แหวนที่เพชรเรียง หรือ ที่นิยมเรียกว่า "แหวนแถว"
แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน ตามธรรมเนียมฝรั่ง
ตามธรรมเนียมฝรั่ง แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน นี้จะใส่นิ้วนางข้าง “ซ้าย” ทั้งสองวง การหมั้นหมายอาจจะไม่ได้เป็นพิธีการใหญ่โตเหมือนธรรมเนียมไทย ส่วนใหญ่แล้วจะทำกันเป็นการส่วนตัว ไม่ต้องมีผู้ใหญ่ ไม่ต้องมีพยาน ไม่ต้องมีการแห่ขันหมากเหมือนของไทย การหมั้น จะทำกันเองเป็นการส่วนตัว ไม่มีวโรกาสที่ต้องหาฤกษ์ยามอะไร บางที่ก็หมั้นที่ชายหาด บางคู่ก็หมั้นกันบนเครื่องบิน หรือแล้วแต่ไหนที่คิดว่าโรแมนติกสำหรับตัวเองและคนรัก
ส่วนหลังจากนั้นจะเลี้ยงหรือไม่เลี้ยงก็ไม่มีการกำหนดไว้ตายตัว แต่หลังจากนั้นแล้ว ว่าที่เจ้าสาวก็จะสวมแหวนหมั้นไว้ที่นิ้วนางข้างซ้ายไว้เลย ต่อมาเมื่อเข้าสู่พิธีแต่งงานก็จะสวมแหวนแต่งงานซึ่งเป็นแหวนแถว หรืออาจจะเป็นแหวนเกลี้ยงไม่มีเพชร ซ้อนแหวนหมั้นเอาไว้ แหวนสองวงนี้ใส่คู่กันค่ะ ฝรั่งจึงนิยมทำเป็นเซ็ท เพื่อความสวยงามเวลาใส่คู่กัน แต่ของผู้ชายจะเป็นแหวนแต่งงานวงเดียว
แหวนหมั้น กับ แหวนแต่งงาน ตามธรรมเนียมไทย
ส่วนของคนไทย แหวนแต่งงานไม่มีในประเพณีของการปฏิบัติ แต่จะซื้อให้กันภายหลังแต่งงาน หรือให้พร้อมตอนแต่งงาน หรือตามสะดวกที่จะซื้อให้กัน ทั้งนี้บางคู่อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักนิยมให้แหวนเป็นสัญลักษณ์แทนใจด้วยเหมือนกัน แต่จะใส่แค่แหวนวงเดียวค่ะ แหวนหมั้นกับแหวนแต่งงานก็เป็นวงเดียวกันเลย หลังจากเข้าพิธีแล้ว ก็จะใส่ติดนิ้วไว้ตลอดเช่นกัน แม้กระทั่งเวลาอาบน้ำหรือเวลานอน อย่างน้อย 3-7 วัน อันนี้เป็นเคล็ดค่ะ
สำหรับคนที่แหวนแต่งานเป็นเพชรเม็ดใหญ่ กังวลเรื่องที่จะต้องใส่ทุกวัน ก็สามารถจะเอาแหวนจริงเก็บเอาไว้ แล้วทำเห็นแหวน band เอาไว้ใส่ในชีวิตประจำวันค่ะ สำหรับคู่รักที่ทำแหวน band เข้าคู่กันทั้งสองวง ทั้งของเจ้าสาวและเจ้าบ่าวก็เป็นอะไรที่น่ารักดีนะคะ
credit: http://www.weddinganswer.com/
Wednesday, September 14, 2011
บรรยากาศพิธีหมั้น “เขตต์ ฐานทัพ” กับ “แนท เปรมิกา”
บรรยากาศพิธีหมั้น “เขตต์ ฐานทัพ” กับแฟนสาว “แนท เปรมิกา” พร้อมแต่งปลายปีนี้
หลังจากควงกันไปลองชุดวิวาห์เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เวลา “เขตต์ ฐานทัพ” จูงมือสาว “แนท เปรมิกา ธนโรจน์ประดิษฐ์” เข้าพิธีหมั่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เผยแต่งปลายปีนี้
เขตต์ ฐานทัพ ควง แนท เปรมิการ์ เข้าพิธีหมั้น ก่อนลั่นระฆังวิวาห์พ.ย.ปีนี้
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับพิธีหมั้นตาม ประเพณีไทย ระหว่างพระเอกหนุ่ม เขตต์ ฐานทัพ และแฟนสาว แนท เปรมิการ์ สนนราคาสินสอดร่วม 10 ล้าน โดยมีเพื่อนพ้องทั้งนอกและในวงการมาร่วมแสดงความยินดีกันถ้วนหน้า หลังจากที่คบหาดูใจกันมา 4 ปี และเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา พระเอกชื่อดัง “เขตต์ ฐานทัพ” ได้ควงแขน “แนท เปรมิการ์ ธนโรจน์ประดิษฐ์” แฟนสาวไปถ่ายรูปเวดดิ้งไว้แล้วอย่างหวานชื่น ล่าสุดทั้งคู่ก็ได้จูงมือกันเข้าพิธีหมั้นอย่างเป็นทางการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งบรรยากาศภายในงานหมั้นอบอวลไปด้วยความรัก มีญาติสนิทและเพื่อนฝูงในวงการบันเทิงแห่ร่วมแสดงความยินดีอย่างคึกคัก อาทิ อั๋น ศราวุธ นวแสงอรุณ, เจจินตัย อันติมานนท์, เต้ นันทศัย พิศลยบุตร, ร็อคกี้ สุรบดินทร์ สมบัติเจริญ และ เบ็นซ์ ปุณยาพร พูลพิพัฒน์ โดยทั้งคู่มีฤกษ์เข้าพิธีแต่งงานกันในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้
ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
images credit: www.gooddayphotography.com
หลังจากควงกันไปลองชุดวิวาห์เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เวลา “เขตต์ ฐานทัพ” จูงมือสาว “แนท เปรมิกา ธนโรจน์ประดิษฐ์” เข้าพิธีหมั่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เผยแต่งปลายปีนี้
เขตต์ ฐานทัพ ควง แนท เปรมิการ์ เข้าพิธีหมั้น ก่อนลั่นระฆังวิวาห์พ.ย.ปีนี้
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับพิธีหมั้นตาม ประเพณีไทย ระหว่างพระเอกหนุ่ม เขตต์ ฐานทัพ และแฟนสาว แนท เปรมิการ์ สนนราคาสินสอดร่วม 10 ล้าน โดยมีเพื่อนพ้องทั้งนอกและในวงการมาร่วมแสดงความยินดีกันถ้วนหน้า หลังจากที่คบหาดูใจกันมา 4 ปี และเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา พระเอกชื่อดัง “เขตต์ ฐานทัพ” ได้ควงแขน “แนท เปรมิการ์ ธนโรจน์ประดิษฐ์” แฟนสาวไปถ่ายรูปเวดดิ้งไว้แล้วอย่างหวานชื่น ล่าสุดทั้งคู่ก็ได้จูงมือกันเข้าพิธีหมั้นอย่างเป็นทางการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งบรรยากาศภายในงานหมั้นอบอวลไปด้วยความรัก มีญาติสนิทและเพื่อนฝูงในวงการบันเทิงแห่ร่วมแสดงความยินดีอย่างคึกคัก อาทิ อั๋น ศราวุธ นวแสงอรุณ, เจจินตัย อันติมานนท์, เต้ นันทศัย พิศลยบุตร, ร็อคกี้ สุรบดินทร์ สมบัติเจริญ และ เบ็นซ์ ปุณยาพร พูลพิพัฒน์ โดยทั้งคู่มีฤกษ์เข้าพิธีแต่งงานกันในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้
ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
images credit: www.gooddayphotography.com