การขุดต้นกล้วย ต้นอ้อย สำหรับให้คู่บ่าวสาว ในขบวนขันหมาก ในงานแต่งงานไทย
ขันหมากหมั้น เมื่อถึงกำหนดฤกษ์ตามที่ได้กำหนดไว้ ฝ่ายชายจะเตียมขันหมากหมั้นเพื่อยกไปทำการหมั้นฝ่ายหญิงโดยเฒ่าแก่ ฝ่ายชายจะเป็นผู้นำไปมอบให้ฝ่ายหญิง เฒ่าแก่ฝ่ายชายซึ่งอาจเป็นคนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ หรือจะให้ผู้อื่นทำแทนก็ได้ เพราะไม่ค่อยถือเหมือนเฒ่าแก่ขันหมาก ตอนแต่งควรเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกับที่ไปทำการเจรจาสู่ขอ
สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นหมากหมั้นนั้น ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไป ใช้หมากดิบ ทั้งลูก 4 ผล หรือ 8 ผล แต่ต้องเป็นระแง้หรือตะแง้ (กิ่งที่แยกออก จากทะลายหมาก) เดียวกัน หรือถ้าต่างระแง้ก็ต้องมีระแง้ละ 2 ผล หรือ 4 ผล คือต้องเป็นคู่ เพราะถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วใช้ปูนแดงป้ายที่เปลือกหมากเล็กน้อยทุกลูก มีพลูใบ 4 เรียง หรือ 8 เรียงก็ได้ เรียงละ 5 ใบ หรือ 10 ใบ ตัดก้านเสียแล้วใช้ปูนแดงแต้มที่โคนของของใบพลูทุกใบแล้วให้วางเรียงเข้ารอบๆ ภายใน ของขัน ดูให้เสมอกัน และก็เพราะเหตุที่ขันนี้ใส่หมากนั่นเอง จึงเรียกว่า "ขันหมาก" ซึ่งขันมีขนาดเล็กกว่าขั้นสินสอด
ต้นกล้วยต้นอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากแต่งงานนั้น มีความหมายในทางมงคลก็คือ อ้อย หมายถึงความหวาน ส่วน หน่อกล้วย หมายถึงความเจริญงอกงาม การขุดต้องให้ติดรากหรือมีตาและเลือกเอาต้นหรือหน่อที่สมบูรณ์ โดยชุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงามซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการปลูกร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงพายอย่างหนึ่ง ซึ่งหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์ และต้นอ้อยเติบโตหอมหวาน เชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง ความรักจะสดชื่นหอมหวานอยู่มิรู้คลาย ฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจก็สมบูรณ์พูนสุข
หมากพลู และ ผ้าไหว้
หมากพลูในขันหมากเอก บางแห่งจัดจีบเป็นคำ ๆ เรียงลำดับรอบปากขันหรือพานให้ดูสวยงาม แต่บางแห่ง มีหมากทั้งผล และพลูเรียงผสมไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสวยงามเหมาะสมและความนิยมนั่นเอง
ผ้าไหว้มี 2 อย่าง คือผ้าไหว้พ่อแม่ และผู้ที่มีพระคุณที่ได้อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายหญิง อาจเรียกเป็นสำรับๆ ถ้าผู้ที่ไปไหว้เป็นผู้หญิงให้ใช้ผ้าลาย กับผ้าแพรห่ม หรือว่าจะเป็นผ้าไหมก็ได้ ถ้าเป็นผู้ชายก็เป็นผ้าม่วงนุ่ง กับผ้าขาวม้า หากมีการเรียกผ้าไหว้แล้วต้องเรียกทั้งสองอย่างเสมอ ผ้าไหว้ผีจะต้องเป็นผ้าขาวเพื่อนำไปเย็บเป็นสบง หรือจีวรสำหรับถวายพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว ผ้าไหว้ทั้งสองอย่างจะจัดใส่พานแยกกัน
ส่วนผ้าไหว้นั้น นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่น 2 คู่ หรือ 3 คู่ นำมาห่อกระดาษแดงให้สวยงาม ผ้าไหว้นี้ใช้สำหรับ ไหว้ผีบรรพบุรุษ หรือไว้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับผ้าไหว้ ที่เจ้าบ่าวเจ้าสาว มอบให้ญาติผู้ใหญ่ ที่มาทำพิธีรับไหว้ในขั้นตอนการแต่งงาน
การขุดต้นกล้วยต้นอ้อย
ต้นกล้วยต้นอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากแต่งงานนั้น มีความหมายในทางมงคลก็คือ อ้อย หมายถึงความหวาน ส่วน หน่อกล้วย หมาย ถึงความเจริญงอกงาม การขุดต้องให้ติดรากหรือมีตาและเลือกเอาต้นหรือหน่อที่สมบูรณ์ โดยชุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงามซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการ ปลูกร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงพายอย่างหนึ่ง ซึ่งหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์ และต้นอ้อยเติบโตหอมหวาน เชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง ความรักจะสดชื่นหอมหวานอยู่มิรู้คลาย ฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจก็สมบูรณ์พูนสุข
ในสมัยโบราณหรือบางท้องถิ่น อาจมีต้นไม้อื่น ๆ นำมาให้คู่บ่าวสาวปลูกร่วมกัน เช่น ต้นหมาก ต้นพลู เพราะเมื่อก่อนนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีไว้ทุกบ้าน รวมทั้งต้นมะพร้าวที่เพิ่งจะงอกออกมาจากผลแก่ ซึ่งถือเกล็ด ในเรื่องความเจริญงอกงามก้าวหน้านั่นเอง นอกจากนี้ยังมีพวกถั่วงา ข้าวเปลือก และอื่น ๆ ฯลฯ แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว นอกจากการปลูกต้นกล้วย ต้นอ้อยร่วมกัน ที่ยังนิยมทำอยู่
เมื่อคนของฝ่ายเจ้าบ่าว ยกขบวนขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายเจ้าสาวแล้ว จะไม่ยอมมอบต้นกล้วย ต้นอ้อย ให้โดยง่าย อาจถือหรืออุ้มถ่วงเอาไว้ จนกว่าจะได้น้ำมารด เพื่อความเจริญงอกงาม บางทีก็ใช้น้ำมนต์หรือน้ำฝนสะอาด แต่น้ำที่ผู้อุ้มต้องการมากที่สุดคือ สุรา ดังนั้นในวันยกขันหมาก พวกคอสุราจะจับจอง หรือขออาสาเป็นคนอุ้ม ต้นกล้วย ต้นอ้อย เพราะนอกจากจะได้น้ำอมฤตแล้ว ยังได้พูดจาหยอกเย้าต่อรองกับคนของฝ่ายเจ้าสาว เป็นที่สนุกสนาน ครื้นเครง
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล