ดนตรีในงานแต่งงาน ไม่ได้มีแค่เล่นไปอย่างนั้นๆ หรือแค่เป็นส่วนประกอบที่ต้องมีให้ครบ เพราะหน้าที่ที่แท้จริงของดนตรีงานแต่งงานนั้น นอกจากจะช่วยขับกล่อมผู้คนภายในงาน สร้างบรรยากาศในงานให้ชื่นมื่น งานดำเนินไปอย่างราบรื่นแล้ว ดนตรีงานแต่งงานยังจะต้องสามารถสร้างความโดดเด่นของคู่บ่าวสาวให้ถูกจังหวะ และสามารถควบคุมแขกในงานได้ด้วย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากพอสมควรที่จะทำให้ตลอดทั้งงานดำเนินไปอย่างราบรื่นและลงตัว
ดังนั้นการเลือกวงดนตรีที่ดีสักวงหนึ่ง จึงมีความสำคัญสำหรับงานแต่งงานมาก เพราะถ้าได้วงดนตรีกับทีมเครื่องเสียงที่เป็นมืออาชีพ ก็จะทำให้งานแต่งงานของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและสมบูรณ์แบบ แต่สำหรับคู่บ่าวสาวคู่ไหนที่มีงบประมาณจำกัดก็ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเราสามารถเลือกเพลงที่เหมาะสำหรับในแต่ละช่วงของพิธีเตรียมเอาไว้ แล้วไรท์ซีดีแยกแผ่นในแต่ละช่วงเอาไว้โดยการเขียนกำกับให้ชัดเจน จากนั้นมอบให้กับทางเจ้าหน้าที่ของโรงแรมหรือสถานที่จัดงานแต่งงานของคุณเพื่อเปิดในงานต่อไป โดยคุณต้องนัดแนะกับทางเจ้าหน้าที่ที่เปิดแผ่นให้ดีๆ เท่านี้เองค่ะ
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้หาคนมาช่วยคุมเวลา พร้อมกับมีพิธีกรดีๆ อีกสักคน แค่นี้งานแต่งงานของคุณก็จะดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว ฉะนั้นมาดูรายละเอียดกันค่ะว่าแต่ละช่วงเหตุการณ์นั้น เพลงไหนเหมาะกับช่วงเวลาสำคัญเหล่านี้บ้าง
การแต่งงานโดยทั่วไป เพลงและดนตรีประกอบ ในช่วงพิธีสำคัญในงานแต่งงาน จะมีดังนี้
1. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง เจ้าบ่าว-เจ้าสาว ถ่ายรูปหน้างาน
เพลงและดนตรีในงานควรจะเริ่มบรรเลงตั้งแต่ช่วงที่แขกเริ่มเข้างาน เพราะไม่อย่างนั้นบรรยากาศในงานจะดูเงียบๆ มีแต่แขกนั่งอยู่ด้วยกันเองเท่านั้น เพราะคู่บ่าวสาวและเจ้าภาพยังต้องคอยต้อนรับแขกอยู่หน้า บางงานที่ไม่มีวงดนตรีอาจจะเปิดแผ่นแทนได้ ถ้าไม่มีดนตรีเลยจะทำให้แขกรู้สึกแปลกๆ ได้
สำหรับเพลงที่ใช้ในช่วงนี้ก็จะเป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง หรือเพลงบรรเลงก็ได้ อาจจะเป็นเพลงรักหวานซึ้ง หรือเพลงเกี่ยวกับความรักที่บ่าวสาวชื่นชอบ สักประมาณ 10-15 เพลง เล่นต่อเนื่องกันไป
คลิ๊กดูตัวอย่างเพลงได้ที่นี่
2. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง คู่บ่าว-สาวเดินเข้ามาในงานแต่งงาน
ในงานที่ไม่มี Organizer และไม่มีวงดนตรี ช่วงที่คู่บ่าวสาวเดินเข้างาน ส่วนใหญ่มักจะลืมเปิดเพลงในช่วงนี้ แขกบางคนอาจจะงงๆ ว่าทำไมเพลงเงียบ อีกทั้งยังทำให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวที่เดินเข้างานมาไม่ค่อยเด่น กว่าแขกจะรู้เจ้าบ่าวเจ้าสาวก็อยู่บนเวทีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในตอนนี้ถ้ามีวงดนตรี นักดนตรีจะเปลี่ยนไปเล่นเพลงที่ช้าๆ ซึ้งๆ เพื่อให้แขกในงานรู้และหันไปให้ความสนใจคู่บ่าวสาว พร้อมทั้งยังช่วยควบคุมให้เพลงจบลงพอดีกับที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวขึ้นไปยืนบนเวทีพอดี
(แอบกระซิบนิดนึงว่าในงานแต่งงานของคุณเคน-คุณหนอ่ย ใช้เพลง "Canon In D" ในช่วงที่ทั้งคู่เดินเข้ามาในงานด้วยนะคะ)
3. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง เปิดตัวเจ้าบ่าว-เจ้าสาวขึ้นเวที
เพลงเปิดตัวบ่าวสาวจะบรรเลง / ร้อง หลังจากที่พิธีกรกล่าวเชิญบ่าวสาวขึ้นเวที เพลงที่ใช้ขึ้นอยู่กับความชอบของคู่บ่าวสาวเป็นหลัก จะเลือกใดท่อนใดก็ได้คะ แนะนำเป็นเพลงหวานๆ ซึ้งๆ หรือเพลงที่มีท่วงทำนองอลังการ หรือเพลงที่จังหวะเร็ว สนุกสนานก็ยังได้คะ จะเล่นไม่จบเพลง (ประมาณ 1-2 นาที ขึ้นอยู่กับระยะประตูทางเข้าห้องถึงเวที ของแต่ละสถานที่) และเพลงจะค่อยๆ fade out เมื่อคู่บ่าวสาวอยู่บนเวทีเรียบร้อยแล้วคะ
ตัวอย่างเพลงที่นิยมใช้ในช่วง เปิดตัวเจ้าบ่าว-เจ้าสาวขึ้นเวทีนี้ ได้แก่
- A Lover's Concerto
- All I Ask of You
- Canon In D
- Can't Smile Without You
- Fly Me To The Moon
- I Will
- Lamer (Beyond The Sea)
- She
- Top Of The World
- Wedding March (Here Comes The Bride)
- When We Make A Home
- ความรัก
- ถ้าเธอพร้อมฉันก็พร้อม
- พรหมลิขิต
- เพียงแค่ใจเรารักกัน
- เรื่องมหัศจรรย์
- ลมหายใจของกันและกัน (คู่ทรหด)
- วันที่สวยงาม
- ฤดูรัก
4. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง ดื่มอวยพร หรือ ช่วงมหาฤกษ์
โดยปกติเพลงและดนตรีประกอบในช่วงนี้คือ "เพลงมหาฤกษ์" เพลงมหาฤกษ์มีความยาว 2 เวอร์ชั่น คือแบบสั้น 15 วินาที และแบบยาว 30 วินาที เพลงเมื่อเปิดไปแล้วต้องเปิดให้จบ ห้าม fade จบก่อนเด็ดขาด ส่วนในกรณีเป็น การฉลองสมรสพระราชทาน จะใช้เพลง "สรรเสริญพระบารมี" แทน
เวลาที่เหมาะสมในการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์คือ หลังจากที่ประธานอวยพรคู่บ่าวสาวจบ ดนตรีมหาฤกษ์จะต้องสอดรับขึ้นมาทันที และเมื่อดนตรีจบทุกคนในงานจึงจะกล่าวคำว่า "ไชโย ไชโย ไชโย"
ถ้าเป็นการเปิดจากแผ่นควรเลือกเวอร์ชั่นที่เหมาะสมกับงานแต่งงานของแต่ละงาน เพลงมหาฤกษ์แบบวงดุริยางค์กองทัพอาจจะดูยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับงานแต่งบางงาน หรือแบบวงปี่พากย์ไม้แข็งที่ฟังโบราณก็อาจไม่เหมาะกับงานที่ดูหรูหรา ทันสมัย แต่ถ้าเป็นวงดนตรีก็จะสามารถเล่นขึ้นต้นได้ทันทีตอนประธานพูดจบด้วยสเกลของดนตรีที่เหมาะสมกับขนาดและรูปแบบของงานได้มากกว่า
หมายเหตุ:
ตามที่เคยอ่านประวัติ: เพลงมหาฤกษ์ เป็นเพลงที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ดัดแปลงจากทำนองไทยของเดิม โดยพระองค์ท่านได้ยึดหลักทำนองของเก่า แต่แก้ไขเพียงเฉพาะตอนขึ้นต้นและลงท้ายให้สง่าผ่าเผยขึ้น เพื่อให้การประสานเสียงตามแบบสากล ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังเกิดความเร้าใจขึ้นเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศ ต่อมาก็ใช้บรรเลงกล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันในพิธีมงคลฤกษ์ต่างๆ เช่น งานเปิดป้าย การเจิมศิลาฤกษ์ การกล่าวคำปราศรัย / การกล่าวสุนทรพจน์นอกจากนั้นก็ยังมีมหาฤกษ์แบบสั้น ๆ ที่ใช้ในการอวยพรคู่บ่าวสาว เมื่อเพลงนี้ดังขึ้น ทุกคนในงาน ก็จะยืนขึ้น เป็นการให้เกียรติพร้อมกัน
ส่วนคู่บ่าวสาวคู่ไหนที่อาจจะต้องการความแปลกแหวกแนว ไม่อยากใช้เพลงมหาฤกษ์ในช่วงของการดื่มอวยพร ก็อาจจะใช้เพลงบรรเลงอื่น ที่มีจังหวะที่คล้ายคลึงกันได้ค่ะ ตัวอย่างเช่น
- ดนตรีประกอบภาพยนต์เรื่อง Star Wars
5. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง เปิดฟลอร์เต้นรำ (ถ้ามี)
ช่วงนี้สำหรับงานแต่งงานที่เป็นประเพณีของชาวต่างชาติ ที่คู่บ่าวสาวจะเปิดฟลอร์เต้นรำเป็นคู่แรก จากนั้นจะเป็น Father-Daughter (Bride) Dance, Mother-Son (Groom) Dance ... แนะนำให้เลือกเพลงรักช้าๆ ในจังหวะ waltz , fox trot , หรือ tango
ตัวอย่างเพลงช่วงเปิดฟลอร์เต้นรำ ที่นิยมใช้
- Could I Have This Dance (waltz)
- Fascination (waltz)
- Fly Me to The Moon (swing / waltz)
- It Had To Be You (swing)
- Moon River (waltz)
- The Way You Look Tonight (Fox Trot)
- Tonight I Celebrate My Love (Fox Trot)
6. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง ร้องเพลง Surprise ให้กันระหว่างคู่บ่าวสาว (ถ้ามี)
อาจเป็นเพลงที่ตั้งใจจะร้องให้ฝ่ายเดียว หรือจะเป็นเพลงที่ร้องร่วมกันบนเวที ก็ได้คะ แนะนำให้ร้อง เป็นของขวัญช่วงที่กล่าวขอบคุณกันและกัน หรือ คู่ที่เขินมากๆ ให้ร้องหลังจากพิธีการบนเวทีจบไปพักนึงก่อนก็ได้คะ เพราะแขกผู้ใหญ่บางท่านจะกลับไปบ้างแล้ว จะเล่นจนจบเพลงคะ
ตัวอย่างเพลงที่ใช้ร้อง Surprise กันและกันของบ่าวสาว ได้แก่
เจ้าบ่าว มักจะเลือกเพลง ...
- เก็บดาว
- เพราะอะไร
- เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ
- ไม่ต้องมีคำบรรยาย
- ยอม
- รักคุณเข้าอีกแล้ว
- รักเดียวใจเดียว
- หยุดตรงนี้ที่เธอ
- เหมือนเคย
- Forever Love
- Through The Year
เจ้าสาว มักจะเลือกเพลง ...
- ขอเป็นคนของเธอ
- คำถาม
- ยอม
- รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง
- หนึ่งในไม่กี่คน
- Have I Told You Lately That I Love You
- Valentine
เจ้าบ่าว+เจ้าสาว มักจะเลือกเพลง ร้องคู่ ...
- ถ้าเธอพร้อม ฉันก็พร้อม
- เล็กๆน้อยๆ
- หากันจนเจอ
- Endless Love
- Everyday I Love You
7. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง ตัดเค้ก
ช่วงนี้ควรเลือกเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรใช้เพลงที่มีเนื้อร้อง เพราะจะดึงความสนใจจากแขกในงานได้ ซึ่งช่วงนี้จะเลือกเปิดจากแผ่นหรือใช้วงดนตรีก็ได้ แต่การเลือกใช้วงดนตรี นักดนตรีจะสามารถควบคุมการเริ่มและจบเพลงได้ดีกว่าเปิดจากแผ่น
หลังจากที่พิธีกรกล่าวเชิญบ่าวสาวตัดเค้ก แนะนำเป็นเพลงหวานๆ โรแมนติก เพลงที่ทั้งคู่ชอบ จะเล่นจนจบเพลงคะ (ประมาณ 3-5 นาที ขึ้นอยู่กับความยาวของบทเพลง) ส่วนใหญ่จะเลือกเพียงเพลงเดียว เพลงจะเริ่มขึ้น ตั้งแต่บ่าวสาวเดินไปตัดเค้ก และนำเค้กไปให้ผู้ใหญ่ตามโต๊ะ บางคู่ที่มีการเทแชมเปญด้วย อาจจะเตรียมเพลงไว้ 2 เพลงก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความยาวของพิธีการค่ะ
ตัวอย่างเพลงที่นิยมใช้ในช่วงตัดเค้ก ได้แก่
- Can You Feel The Love Tonight
- Canon In D
- Endless Love
- Forever In Love
- I Love You For Sentimental Reason
- If We Hold On Together
- Over The Rainbow
- Tonight I Celebrate My Love For You
- Valentine
- When We Make A Home
- Wonderful Tonight
- ความรัก
- คู่แท้
- บ้าน (Home)
- มหัศจรรย์แห่งรัก
- หนึ่งในไม่กี่คน
- หัวใจผูกกัน
- หากันจนเจอ
8. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง แจกเค้กให้ญาติผู้ใหญ่ และประธาน
ช่วงแจกเค้กจะเป็นอีกช่วงหนึ่งที่มักจะลืมเตรียมเพลงกันไว้ ทำให้แขกบางคนคิดว่างานจบแล้วหรืออาจทำให้แขกที่ไม่ได้รับแจกเค้กรู้สึกเบื่อได้ การมีเสียงเพลงไม่ว่าจะเป็นเพลงบรรเลงหรือเพลงร้องจะช่วงให้แขกในงานมีชีวิตชีวามากขึ้น เพลงบรรเลงช่วงที่เชิญคุณพ่อคุณแม่ขึ้นเวทีหรือจะเป็นช่วงเดียวกับที่คู่บ่าวสาวนำเค้กแต่งงานไปมอบให้ และมี presentationภาพครอบครัว ประกอบด้วยก็ได้คะ
ตัวอย่างเพลงที่นิยมใช้ช่วงนี้ได้แก่
- อิ่มอุ่น
- ค่าน้ำนม
- ใครหนอ
- ขอบคุณ
9. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง ช่วงโยนดอกไม้
ในช่วงที่เจ้าสาวกำลังจะโยนช่อดอกไม้ นักดนตรีจะเล่นเพลงที่ช่วยให้ผู้มาร่วมรับช่อดอกไม้และแขกในงานรู้สึกสนุกได้ ถ้าในงานที่มีแต่เสียงพูดของพิธีกรแต่โดยไม่มีเสียงเพลง จะทำให้ผู้ที่ออกมารับช่อดอกไม้รู้สึกเขินหรืออาจไม่กล้าออกมาเลยก็ได้ นอกจากนี้นักดนตรียังสามารถเล่นเสียง Effect เมื่อดอกไม้ตกถึงมือผู้รับได้พอดี พร้อมกับช่วยเรียกเสียงปรบมือจากแขกในงาน ทำให้บรรยากาศในงานเกิดความสนุก ตื่นเต้น ไม่ทำให้แขกเกิดความรู้สึกว่าพิธีการขาดช่วง
เพลงที่นิยมใช้ช่วงโยนดอกไม้ ได้แก่
- Stupid Cupid
- Can't Take My Eyes Out Of You
- Can't Help Falling In Love (เล่นจังหวะ samba)
- Nobody
- Beautiful boy
- Wishin' and Hopin' จากหนังเรื่อง My Best Friend's Wedding
- เป็นโสดทำไม
- รักอยู่หนใด
- ฤดูรัก เพลงประกอบภาพยนต์ season changes
- เพลงเอิ้ว (เพลงประกอบภาพยนตร์30+โสด on sale)
10. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง หลังพิธีการ
หลังจากจบพิธีการต่างๆ ช่วงนี้วงดนตรีจะเล่นเพลงรักซึ้งๆต่อเนื่องกันไป แขกที่ต้องการจะกลับก็สามารถลุกออกไปโดยไม่เก้อเขิน แต่ถ้างานเงียบไปเลยแขกจะรู้สึกขัดเขินได้ ส่วนแขกที่ต้องการจะอยู่ฟังเพลงอีกสักพัก หรืออยู่เพื่อพูดคุยกันต่อก็จะไม่รู้สึกเบื่อ
11. เพลงและดนตรีประกอบในช่วง After Party (ถ้ามี)
ในปัจจุบันงานแต่งงานหลายๆ งานที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นคนสนุกสนานเพื่อนฝูงเยอะ หลังจากที่พิธีการต่างๆ จบลงแล้ว มักจะมีดนตรีสนุกๆ ให้เพื่อนๆ เจ้าบ่าวเจ้าสาวขาแดนซ์ได้ออกมาวาดลีลาลวดลายกันบนฟลอร์ เผลอๆ เจ้าบ่าวเจ้าสาวก็ลงมาร่วมวงแดนซ์กระจายเพิ่มความมันส์กับเค้าด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าจะมี After Party แบบนี้เลือกใช้วงดนตรีแบบมีนักร้องจะดีกว่า แต่ก่อนอื่นคงต้องเช็กกันก่อนนิดนึง ว่าสถานที่จัดงานนั้นเสียงดังได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้ไม่มีปัญหามาให้หมดสนุกทีหลัง
จากการได้รู้เรื่องของเพลงและดนตรีประกอบในแต่ละช่วงพิธีดังที่กล่าวมาแล้วนั้น คงพอจะช่วยให้ว่าที่คู่บ่าวสาวทั้งหลาย วางแผนการจัดการงานแต่งงาน และตัดสินใจเลือกใช้วงดนตรีหรือเพลงแบบไหนกันดี เพื่อให้งานแต่งงานของคุณเป็นงานที่สุดแสนประทับใจไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเองหรือแขกเหรื่อในงานก็ตาม ขอให้โชคดีทุกคู่นะคะ
credit:
http://www.weddinginlove.com/
http://www.readyviva.com/
http://www.theweddinghome.com/
http://iamfreelance.exteen.com/