3 พฤติกรรมยอดแย่ ที่บั่นทอนสายสัมพันธ์ในครอบครัว
(problem behaviors that undermine relationships of couples)
พฤติกรรมแย่ๆ 3 แบบ ที่เป็นตัวการบั่นทอนสายสัมพันธ์ในครอบครัว หรือคู่รักนั้นมีมากมายหลายอย่างมาก ซึ่งบางครั้งเราอาจจะทำไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว หรืออาจเกิดจากความเคยชิน และหลายครั้งที่เราทำตามอารมณ์เพียงอย่างเดียวโดยไม่ค่อยนึกถึงใจฝ่ายตรงข้าม สิ่งที่จะยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน แต่ก็สามารถแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้
พฤติกรรมยอดแย่ ลำดับที่ 1 : ไม่ตั้งใจฟัง
สิ่งที่จะสร้างความประทับใจให้กับ ผู้อื่นได้เป็นอย่างมาก ก็คือ เพียงแค่ตั้งใจฟัง เวลาที่เขาหรือเธอกำลังพูด การตั้งใจฟังอย่างเต็มที่ คือรูปแบบการสื่อสาร ที่จะสร้างความรู้สึก และสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี ได้อย่างง่ายๆ
ฝึกการตั้งใจฟัง ให้เคยชิน จนกลายเป็นเรื่องธรรมชาติ แล้วตัวคุณจะค่อยๆ กลายเป็นที่ชื่นชอบ และเป็นที่รักใคร่สำหรับผู้อื่น นี่เป็นพื้นฐานลำดับแรกๆ ในการพัฒนาสายสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นชีวิต คู่ ครอบครัว เพื่อน และในที่ทำงาน
เคล็ดลับ สำหรับการฟัง มีดังนี้..
- ไม่พูดแทรกขึ้นมา ฟังให้จบประโยคเสียก่อน
- ไม่พูดว่า “รู้แล้วๆ “ หรือใช้คำพูดในลักษณะนี้ หากผู้พูดยังพูดไม่จบ เพราะคุณอาจจะพลาด ช๊อตเด็ด หรือสาระสำคัญก็ได้
- ใช้คำว่า “ไม่” ให้น้อยลง แล้วลองใช้ประโยคเหล่านี้แทน “ผมว่านะ จริงๆ แล้ว” หรือ “แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือ... ” เมื่อคุณต้องการออกความคิดเห็น
- ใช้สายตาส่งความรู้สึก เมื่อกำลังพูดในลักษณะที่เผชิญหน้ากันอยู่
- สอดแทรกคำถามบ้าง เมื่อพูดจบ เพื่อแสดงให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ ว่าคุณกำลังตั้งใจฟัง
พฤติกรรมยอดแย่ ลำดับที่ 2 : ไม่รับฟังความคิดเห็น และพูดจาเยาะเย้ย
การพูดจาเยาะเย้ย หรือเย้ยหยัน อาจจะทำให้คุณรู้สึกสนุกสุดๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว ชาวคณะตลกคาเฟ่ หรือกลุ่มสังสรรค์ ในวงสุรา ก็ชอบใช้มุขแบบนี้ แต่สำหรับคนสนิทของคุณ... คนรอบข้างของคุณ... เขา หรือเธอ คงไม่สนุก กับการโดนกระแนะกระแหน สักเท่าไหร่ มีคำโบราณ กล่าวเอาไว้ว่า “ถ้าคุณไม่มีอะไรดีๆ ที่จะพูดล่ะก็ คุณไม่ต้องพูดออกมา จะดีกว่า!”
การพูดจาให้ดี และการยอมรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ของผู้อื่น จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้คุณ กลายเป็นคนที่น่านับถือขึ้นอีกมากทีเดียว
พฤติกรรมยอดแย่ ลำดับที่ 3 : พูดตอนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว
คำพูดหนึ่งคำ สองคำ หรือหลายๆ คำ เมื่อพูดออกไปแล้ว จะไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้... โดยเฉพาะเวลาที่คุณกำลังโกรธอยู่ คำพูดที่พูดออกไป จะผสมกับความรุนแรง จนบางครั้งทำให้เผลอตัว พูดคำหยาบคาย หรือพูดอะไรแย่ๆ ออกไป คำพูดแย่ๆ ก็คืออาวุธชนิดหนึ่ง ที่ติดตัวเรามา ซึ่งสามารถสร้างแผล บาดลึกลงไปในจิตใจของผู้อื่นได้ มันจะทำให้คนๆ นั้น เกิดอาการเสียใจ และในบางครั้ง มันก็ย้อนกลับมาทำให้เรารู้สึกเสียใจ (ที่พูดอะไรแย่ๆ ออกไป) ได้อีกด้วย
คนโบราณ ได้บอกกล่าวเอาไว้ว่า “ถ้าคุณกำลังรู้สึกโกรธ วิธีแก้อาการโกรธ ก็คือ ให้นับ 1 -10 อย่างช้า ก่อนที่จะพูดอะไรออกไป หลังจากนั้น ทุกอย่างก็จะดีเอง” ไม่ว่าจะเป็นสายสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ที่บ้าน เพื่อน หรือที่ทำงาน ใจเย็นๆ ต่อกันเข้าไว้ แลกกันด้วยเหตุผล แทนการใช้อารมณ์เข้าห้ำหั่น ย่อมได้ผลลัพธ์ออกมายอดเยี่ยมเป็นที่สุด
จำไว้นะคะ ไม่มีอะไรยากเกินความพยายาม มันอาจจะฟังดูแล้วปฏิบัติได้ยาก แต่ถ้าฝึกกันวันละนิด ฝึกไปเรื่อยๆ คุณจะทำได้โดยอัตโนมัติเลยค่ะ เพื่อชีวิตที่สดใส และสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อชีวิตราบรื่น จิตใจเราก็จะเบิกบานมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วยค่ะ
Monday, October 31, 2011
Saturday, October 29, 2011
25 วิธี ดูแลความรัก (Take care of your love)
25 วิธี ดูแลความรัก (Take care of your love)
ในทางตรงกันข้ามหากรักที่เคยสร้างสุข กลายมาเป็นหมดรัก ชีวิตย่อมเป็นทุกข์ ความรักที่มีจึงต้องดูแลอย่างดี เพื่อให้ความรักนั้นไม่จากไป ดังเช่น 25 วิธี ต่อไปนี้
1. อย่าเขินที่จะบอกรัก
2. จดจำรายละเอียดของอีกฝ่าย เช่น ชอบทานอะไร ชอบฟังเพลงแนวไหน กิจกรรมสุดโปรดคืออะไร แล้วหยิบยื่นสิ่งเหล่านี้ให้เสมอ
3. โรแมนติกอย่างรู้กาละเทศะ เลือกสถานที่ให้ถูกที่ เลือกเวลาให้ถูกเวลา เรื่องโรแมนซ์ใครก็ชอบ แต่ความพอเหมาะพอดีก็สำคัญ
4. ให้เกียรติกันและกันเสมอ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
5. อย่าปล่อยให้อารมณ์โกรธอยู่เหนือความรักที่มี นึกถึงเรื่องดีๆ ที่เขาเคยทำให้ จะช่วยให้อารมณ์โกรธหรืออารมณ์ชั่ววูบเบาบางลง
6. เมื่อมีปัญหาควรใช้เหตุผลในการพูดคุย เป็นเรื่องธรรมดาที่คนสองคนจะมีเรื่องขัดแย้ง แต่ถ้าทั้งคู่พร้อมที่จะปรับตัวเข้าหากัน ปัญหาทั้งหลายก็จะกลายเป็นเรื่องเล็ก
7. ปล่อยให้อีกฝ่ายมีเวลาเป็นของตัวเอง การเกาะติด ควบคุมมีแต่จะทำให้ความรักจืดจางได้ง่าย ปล่อยให้อีกฝ่ายไปเที่ยวกับเพื่อนบ้าง รวมทั้งพยายามให้ตัวเองมีโลกส่วนตัวบ้าง จะได้ไม่อึดอัดเช่นกัน
8. พูดกันตรงๆ โดยเลือกใช้คำพูดที่ไม่ทำร้ายจิตใจ
9. มีขอบเขตในการปรับตัว แน่นอนว่าต่างฝ่ายทั้งเราและเขาต่างต้องปรับตัวเข้าหากัน แต่ควรมีขอบเขต ไม่ใช่ยอมเปลี่ยนแปลงให้เป็นแบบที่อีกฝ่ายต้อวการทุกอย่าง จนไม่เหลือความเป็นตัวของตัวเอง เพราะไม่มีใครสามารถเปลี่ยนตคั้นหาคำตอบหาอีกฝ่ายยังไม่พร้อม การดึงดันให้รู้เดี๋ยวนั้น ว่าทำไม? เพราะอะไร? จะเอายังไง? เป็นการกดดันอีกฝ่ายอย่างไม่มีประโยชน์ หากอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด ควรลองถอยออกมาหนึ่งก้าว ทำใจให้สงบ รอจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะพร้อม แล้วค่อยคุยกันใหม่ก็ยังไม่สาย
12. ดูแลตัวเองให้ดูดีเสมอ
13. ไม่ควรคาดหวังกับความรัก เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกของคนสองคนที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ และไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว อย่าคาดหวังว่าอีกฝ่ายจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำนั่นทำนี้ให้ เพราะถ้าผิดหวังจะเสียใจทั้งสองฝ่าย ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
14. ห้ามพูดถ้อยคำหยาบคาย จะทะเลาะกันรุนแรงแค่ไหน ก็ห้ามด่าทอกันเสียๆ หายๆ
15. ซื่อสัตย์และไว้ใจกัน
16. หาสิ่งของที่ต้องดูแลร่วมกัน เช่น เลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ หรือกิจการเล็กๆ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างสองคน
17. ให้โอกาสอีกฝ่ายแก้ไขข้อผิดพลาด กับคนที่เรารักยิ่งต้องให้อภัยและให้โอกาส
18. อย่าอายที่จะขอโทษ
19. หากิจกรรมสร้างสรรค์ทำร่วมกัน เช่น ชวนกันเล่นกีฬา ไปดูงานศิลปะ เพื่อให้ความรักสดใส และได้พบสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต
20. นึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายเสมอ อย่ามัวแต่คิดว่าทำไมอีกฝ่ายไม่เข้าใจเรา นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังทำให้เป็นคนขี้น้อยใจอย่างไม่มีเหตุผล
21. รู้สึกดีกับสังคมที่อยู่ ทั้งพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน เพื่อยกระดับจิตใจและทำให้ภูมิใจในตัวเอง
22. อย่าปิดกั้นโอกาส เปิดตัวเองให้จักคนที่หลากหลาย จะทำให้รู้คุณค่าคนใกล้ตัวและรู้ใจตัวเอง
23. รู้จักใช้ภาษากายในการสัมผัสร่างกายของอีกฝ่าย เช่น จับมือ ลูบหลัง เพราะสามารถสื่อความในใจได้ดีกว่าคำพูดในหลายโอกาส
24. คิดถึงอนาคต แต่อย่าพูดบ่อยจนกลายเป็นการควบคุมผูกมัด พูดในจังหวะที่เหมาะสม ให้รู้ว่าอีกฝ่ายอยู่ในแผนการอนาคตของกันและกัน
25. รู้จักรักตัวเอง เพื่อให้สามารถรักคนอื่นได้เช่นกัน
credit: http://campus.sanook.com
ในทางตรงกันข้ามหากรักที่เคยสร้างสุข กลายมาเป็นหมดรัก ชีวิตย่อมเป็นทุกข์ ความรักที่มีจึงต้องดูแลอย่างดี เพื่อให้ความรักนั้นไม่จากไป ดังเช่น 25 วิธี ต่อไปนี้
1. อย่าเขินที่จะบอกรัก
2. จดจำรายละเอียดของอีกฝ่าย เช่น ชอบทานอะไร ชอบฟังเพลงแนวไหน กิจกรรมสุดโปรดคืออะไร แล้วหยิบยื่นสิ่งเหล่านี้ให้เสมอ
3. โรแมนติกอย่างรู้กาละเทศะ เลือกสถานที่ให้ถูกที่ เลือกเวลาให้ถูกเวลา เรื่องโรแมนซ์ใครก็ชอบ แต่ความพอเหมาะพอดีก็สำคัญ
4. ให้เกียรติกันและกันเสมอ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
5. อย่าปล่อยให้อารมณ์โกรธอยู่เหนือความรักที่มี นึกถึงเรื่องดีๆ ที่เขาเคยทำให้ จะช่วยให้อารมณ์โกรธหรืออารมณ์ชั่ววูบเบาบางลง
6. เมื่อมีปัญหาควรใช้เหตุผลในการพูดคุย เป็นเรื่องธรรมดาที่คนสองคนจะมีเรื่องขัดแย้ง แต่ถ้าทั้งคู่พร้อมที่จะปรับตัวเข้าหากัน ปัญหาทั้งหลายก็จะกลายเป็นเรื่องเล็ก
7. ปล่อยให้อีกฝ่ายมีเวลาเป็นของตัวเอง การเกาะติด ควบคุมมีแต่จะทำให้ความรักจืดจางได้ง่าย ปล่อยให้อีกฝ่ายไปเที่ยวกับเพื่อนบ้าง รวมทั้งพยายามให้ตัวเองมีโลกส่วนตัวบ้าง จะได้ไม่อึดอัดเช่นกัน
8. พูดกันตรงๆ โดยเลือกใช้คำพูดที่ไม่ทำร้ายจิตใจ
9. มีขอบเขตในการปรับตัว แน่นอนว่าต่างฝ่ายทั้งเราและเขาต่างต้องปรับตัวเข้าหากัน แต่ควรมีขอบเขต ไม่ใช่ยอมเปลี่ยนแปลงให้เป็นแบบที่อีกฝ่ายต้อวการทุกอย่าง จนไม่เหลือความเป็นตัวของตัวเอง เพราะไม่มีใครสามารถเปลี่ยนตคั้นหาคำตอบหาอีกฝ่ายยังไม่พร้อม การดึงดันให้รู้เดี๋ยวนั้น ว่าทำไม? เพราะอะไร? จะเอายังไง? เป็นการกดดันอีกฝ่ายอย่างไม่มีประโยชน์ หากอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด ควรลองถอยออกมาหนึ่งก้าว ทำใจให้สงบ รอจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะพร้อม แล้วค่อยคุยกันใหม่ก็ยังไม่สาย
12. ดูแลตัวเองให้ดูดีเสมอ
13. ไม่ควรคาดหวังกับความรัก เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกของคนสองคนที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ และไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว อย่าคาดหวังว่าอีกฝ่ายจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำนั่นทำนี้ให้ เพราะถ้าผิดหวังจะเสียใจทั้งสองฝ่าย ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
14. ห้ามพูดถ้อยคำหยาบคาย จะทะเลาะกันรุนแรงแค่ไหน ก็ห้ามด่าทอกันเสียๆ หายๆ
15. ซื่อสัตย์และไว้ใจกัน
16. หาสิ่งของที่ต้องดูแลร่วมกัน เช่น เลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ หรือกิจการเล็กๆ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างสองคน
17. ให้โอกาสอีกฝ่ายแก้ไขข้อผิดพลาด กับคนที่เรารักยิ่งต้องให้อภัยและให้โอกาส
18. อย่าอายที่จะขอโทษ
19. หากิจกรรมสร้างสรรค์ทำร่วมกัน เช่น ชวนกันเล่นกีฬา ไปดูงานศิลปะ เพื่อให้ความรักสดใส และได้พบสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต
20. นึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายเสมอ อย่ามัวแต่คิดว่าทำไมอีกฝ่ายไม่เข้าใจเรา นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังทำให้เป็นคนขี้น้อยใจอย่างไม่มีเหตุผล
21. รู้สึกดีกับสังคมที่อยู่ ทั้งพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน เพื่อยกระดับจิตใจและทำให้ภูมิใจในตัวเอง
22. อย่าปิดกั้นโอกาส เปิดตัวเองให้จักคนที่หลากหลาย จะทำให้รู้คุณค่าคนใกล้ตัวและรู้ใจตัวเอง
23. รู้จักใช้ภาษากายในการสัมผัสร่างกายของอีกฝ่าย เช่น จับมือ ลูบหลัง เพราะสามารถสื่อความในใจได้ดีกว่าคำพูดในหลายโอกาส
24. คิดถึงอนาคต แต่อย่าพูดบ่อยจนกลายเป็นการควบคุมผูกมัด พูดในจังหวะที่เหมาะสม ให้รู้ว่าอีกฝ่ายอยู่ในแผนการอนาคตของกันและกัน
25. รู้จักรักตัวเอง เพื่อให้สามารถรักคนอื่นได้เช่นกัน
credit: http://campus.sanook.com
Wednesday, October 26, 2011
ประเพณีการแต่งงานแบบอินเดีย (Indian wedding style)
ประเพณีการแต่งงานแบบอินเดีย
(Indian Wedding Style)
ที่จะนำมาพูดวันนี้ก็คือ ประเพณีที่ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายขอผู้ชายแต่งงานนั้นเอง หลายคนที่ได้ฟังจะแอบขำๆว่า ตกลงเป็นเรื่องจริงรึป่าว วันนี้ก็ขอไขข้อสงสัยเลยนะคะว่า "จริง" คะ
ประเพณีการแต่งงานแบบอินเดีย ก็คือ เมื่อหญิงสาวถึงไวที่จะแต่งงานได้ ผู้ใหญ่ฝ่ายผู้หญิงก็จะไปตามหาผู้ชาย มาเป็นคู่ครอง คู่แต่งงาน ให้แก่บุตรสาวคะ พอเจอผู้ชายที่หมายปองก็จะส่งพ่อสื่อไปเจรจา หลังจากนั้นฝ่ายชาย ก็จะเรียกสินสอด ถ้าอยู่ในปริมาณที่ฝ่ายหญิงตกลงก็คือ จะได้แต่งงานกันคะ แต่ถ้าไม่สามารถจ่ายได้ ก็ต้องหาผู้ชายคนใหม่คะ
ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับพิธีแต่งงาน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงนะคะ แล้วแต่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นคนจ่ายค่าพิธีแต่งงาน หรือร่วมกันจ่ายก็ได้คะ ซึ่งวันจัดงานเขาก็ถือเรื่อง ฤกษ์แต่งงาน เช่นเดียวกันกับบ้านเราคะ โดยส่วนใหญ่คนจะนิยม แต่งงาน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคมคะ นอกจากนี้คนอินเดียก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องคู่ครอง ดังนี้คะ
ผู้หญิงที่ไม่มีสามี หรือมีสามีแต่ไม่มีลูกเป็นหญิงอาภัพ เป็นที่น่ารังเกรียด เมื่อตายก็ต้องตกนรกคะ เช่นเดียวกันกับผู้ชาย หากไม่ได้แต่งงาน ต้องเป็นคนดิบคะ เมื่อตายศพก็จะเอาไปให้แร้งกิน ไม่ได้เผาตามพิธีที่ถูกต้องคะ
พิธีแต่งงาน ของบางเมืองก็แปลกๆ อย่างถ้าผู้หญิงไปแอบชอบผู้ชาย ก็ชวนเพื่อน 4-5 คนไปฉุดได้เลยคะ ผู้ชายก็ต้องยอมด้วย ถ้าไม่ยอมถือว่าผิดผี
ในเมืองคุชราต เขาเชื่อกันว่าการจะจัด งานแต่งงาน จะต้องจัดทุกๆ 12 ปี ดังนั้นเมื่อครบ 12 ปี ปุ๊บลูกเด็กเล็กแดงก็จะถูกจับหมั้น กันไว้ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นต้องรออีก 12 ปีถึงจะได้ แต่งงาน
ทุกวันนี้ประชากรอินเดียได้เพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน ทำให้ผู้ชายมีตัวเลือกเยอะขึ้น ทำให้ผู้หญิงไม่สวย ไม่รวย มักจะหาคู่ แต่งงาน ได้ยาก ดังนั้นตามหน้าหนังสือพิมพ์จึงมีหญิงสาวมาประกาศหาคู่ เต็มไปหมดเลย
เรื่องที่นำมาเล่าในวันนี้ ก็เป็นเพียงวัฒนธรรมความเชื่อของชาวอินเดียนั้นแหละคะ ซึ่งเป็นที่น่ายกย่องมาก ว่ายังคงรักษาขนบธรรมเนียมไว้ แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างมากก็ตาม น่านับถืออย่างยิ่งคะ
credit: http://www.weddinghitz.com
(Indian Wedding Style)
ที่จะนำมาพูดวันนี้ก็คือ ประเพณีที่ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายขอผู้ชายแต่งงานนั้นเอง หลายคนที่ได้ฟังจะแอบขำๆว่า ตกลงเป็นเรื่องจริงรึป่าว วันนี้ก็ขอไขข้อสงสัยเลยนะคะว่า "จริง" คะ
ประเพณีการแต่งงานแบบอินเดีย ก็คือ เมื่อหญิงสาวถึงไวที่จะแต่งงานได้ ผู้ใหญ่ฝ่ายผู้หญิงก็จะไปตามหาผู้ชาย มาเป็นคู่ครอง คู่แต่งงาน ให้แก่บุตรสาวคะ พอเจอผู้ชายที่หมายปองก็จะส่งพ่อสื่อไปเจรจา หลังจากนั้นฝ่ายชาย ก็จะเรียกสินสอด ถ้าอยู่ในปริมาณที่ฝ่ายหญิงตกลงก็คือ จะได้แต่งงานกันคะ แต่ถ้าไม่สามารถจ่ายได้ ก็ต้องหาผู้ชายคนใหม่คะ
ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับพิธีแต่งงาน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงนะคะ แล้วแต่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นคนจ่ายค่าพิธีแต่งงาน หรือร่วมกันจ่ายก็ได้คะ ซึ่งวันจัดงานเขาก็ถือเรื่อง ฤกษ์แต่งงาน เช่นเดียวกันกับบ้านเราคะ โดยส่วนใหญ่คนจะนิยม แต่งงาน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคมคะ นอกจากนี้คนอินเดียก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องคู่ครอง ดังนี้คะ
ผู้หญิงที่ไม่มีสามี หรือมีสามีแต่ไม่มีลูกเป็นหญิงอาภัพ เป็นที่น่ารังเกรียด เมื่อตายก็ต้องตกนรกคะ เช่นเดียวกันกับผู้ชาย หากไม่ได้แต่งงาน ต้องเป็นคนดิบคะ เมื่อตายศพก็จะเอาไปให้แร้งกิน ไม่ได้เผาตามพิธีที่ถูกต้องคะ
พิธีแต่งงาน ของบางเมืองก็แปลกๆ อย่างถ้าผู้หญิงไปแอบชอบผู้ชาย ก็ชวนเพื่อน 4-5 คนไปฉุดได้เลยคะ ผู้ชายก็ต้องยอมด้วย ถ้าไม่ยอมถือว่าผิดผี
ในเมืองคุชราต เขาเชื่อกันว่าการจะจัด งานแต่งงาน จะต้องจัดทุกๆ 12 ปี ดังนั้นเมื่อครบ 12 ปี ปุ๊บลูกเด็กเล็กแดงก็จะถูกจับหมั้น กันไว้ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นต้องรออีก 12 ปีถึงจะได้ แต่งงาน
ทุกวันนี้ประชากรอินเดียได้เพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน ทำให้ผู้ชายมีตัวเลือกเยอะขึ้น ทำให้ผู้หญิงไม่สวย ไม่รวย มักจะหาคู่ แต่งงาน ได้ยาก ดังนั้นตามหน้าหนังสือพิมพ์จึงมีหญิงสาวมาประกาศหาคู่ เต็มไปหมดเลย
เรื่องที่นำมาเล่าในวันนี้ ก็เป็นเพียงวัฒนธรรมความเชื่อของชาวอินเดียนั้นแหละคะ ซึ่งเป็นที่น่ายกย่องมาก ว่ายังคงรักษาขนบธรรมเนียมไว้ แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างมากก็ตาม น่านับถืออย่างยิ่งคะ
credit: http://www.weddinghitz.com
Saturday, October 22, 2011
การขุดต้นกล้วย ต้นอ้อย หมากพลู ผ้าไหว้ ในขบวนขันหมาก (banana trees, sugarcane in Thai Wedding Ceremony)
การขุดต้นกล้วย ต้นอ้อย สำหรับให้คู่บ่าวสาว ในขบวนขันหมาก ในงานแต่งงานไทย
ขันหมากหมั้น เมื่อถึงกำหนดฤกษ์ตามที่ได้กำหนดไว้ ฝ่ายชายจะเตียมขันหมากหมั้นเพื่อยกไปทำการหมั้นฝ่ายหญิงโดยเฒ่าแก่ ฝ่ายชายจะเป็นผู้นำไปมอบให้ฝ่ายหญิง เฒ่าแก่ฝ่ายชายซึ่งอาจเป็นคนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ หรือจะให้ผู้อื่นทำแทนก็ได้ เพราะไม่ค่อยถือเหมือนเฒ่าแก่ขันหมาก ตอนแต่งควรเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกับที่ไปทำการเจรจาสู่ขอ
สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นหมากหมั้นนั้น ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไป ใช้หมากดิบ ทั้งลูก 4 ผล หรือ 8 ผล แต่ต้องเป็นระแง้หรือตะแง้ (กิ่งที่แยกออก จากทะลายหมาก) เดียวกัน หรือถ้าต่างระแง้ก็ต้องมีระแง้ละ 2 ผล หรือ 4 ผล คือต้องเป็นคู่ เพราะถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วใช้ปูนแดงป้ายที่เปลือกหมากเล็กน้อยทุกลูก มีพลูใบ 4 เรียง หรือ 8 เรียงก็ได้ เรียงละ 5 ใบ หรือ 10 ใบ ตัดก้านเสียแล้วใช้ปูนแดงแต้มที่โคนของของใบพลูทุกใบแล้วให้วางเรียงเข้ารอบๆ ภายใน ของขัน ดูให้เสมอกัน และก็เพราะเหตุที่ขันนี้ใส่หมากนั่นเอง จึงเรียกว่า "ขันหมาก" ซึ่งขันมีขนาดเล็กกว่าขั้นสินสอด
ต้นกล้วยต้นอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากแต่งงานนั้น มีความหมายในทางมงคลก็คือ อ้อย หมายถึงความหวาน ส่วน หน่อกล้วย หมายถึงความเจริญงอกงาม การขุดต้องให้ติดรากหรือมีตาและเลือกเอาต้นหรือหน่อที่สมบูรณ์ โดยชุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงามซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการปลูกร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงพายอย่างหนึ่ง ซึ่งหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์ และต้นอ้อยเติบโตหอมหวาน เชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง ความรักจะสดชื่นหอมหวานอยู่มิรู้คลาย ฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจก็สมบูรณ์พูนสุข
หมากพลู และ ผ้าไหว้
หมากพลูในขันหมากเอก บางแห่งจัดจีบเป็นคำ ๆ เรียงลำดับรอบปากขันหรือพานให้ดูสวยงาม แต่บางแห่ง มีหมากทั้งผล และพลูเรียงผสมไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสวยงามเหมาะสมและความนิยมนั่นเอง
ผ้าไหว้มี 2 อย่าง คือผ้าไหว้พ่อแม่ และผู้ที่มีพระคุณที่ได้อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายหญิง อาจเรียกเป็นสำรับๆ ถ้าผู้ที่ไปไหว้เป็นผู้หญิงให้ใช้ผ้าลาย กับผ้าแพรห่ม หรือว่าจะเป็นผ้าไหมก็ได้ ถ้าเป็นผู้ชายก็เป็นผ้าม่วงนุ่ง กับผ้าขาวม้า หากมีการเรียกผ้าไหว้แล้วต้องเรียกทั้งสองอย่างเสมอ ผ้าไหว้ผีจะต้องเป็นผ้าขาวเพื่อนำไปเย็บเป็นสบง หรือจีวรสำหรับถวายพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว ผ้าไหว้ทั้งสองอย่างจะจัดใส่พานแยกกัน
ส่วนผ้าไหว้นั้น นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่น 2 คู่ หรือ 3 คู่ นำมาห่อกระดาษแดงให้สวยงาม ผ้าไหว้นี้ใช้สำหรับ ไหว้ผีบรรพบุรุษ หรือไว้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับผ้าไหว้ ที่เจ้าบ่าวเจ้าสาว มอบให้ญาติผู้ใหญ่ ที่มาทำพิธีรับไหว้ในขั้นตอนการแต่งงาน
การขุดต้นกล้วยต้นอ้อย
ต้นกล้วยต้นอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากแต่งงานนั้น มีความหมายในทางมงคลก็คือ อ้อย หมายถึงความหวาน ส่วน หน่อกล้วย หมาย ถึงความเจริญงอกงาม การขุดต้องให้ติดรากหรือมีตาและเลือกเอาต้นหรือหน่อที่สมบูรณ์ โดยชุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงามซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการ ปลูกร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงพายอย่างหนึ่ง ซึ่งหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์ และต้นอ้อยเติบโตหอมหวาน เชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง ความรักจะสดชื่นหอมหวานอยู่มิรู้คลาย ฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจก็สมบูรณ์พูนสุข
ในสมัยโบราณหรือบางท้องถิ่น อาจมีต้นไม้อื่น ๆ นำมาให้คู่บ่าวสาวปลูกร่วมกัน เช่น ต้นหมาก ต้นพลู เพราะเมื่อก่อนนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีไว้ทุกบ้าน รวมทั้งต้นมะพร้าวที่เพิ่งจะงอกออกมาจากผลแก่ ซึ่งถือเกล็ด ในเรื่องความเจริญงอกงามก้าวหน้านั่นเอง นอกจากนี้ยังมีพวกถั่วงา ข้าวเปลือก และอื่น ๆ ฯลฯ แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว นอกจากการปลูกต้นกล้วย ต้นอ้อยร่วมกัน ที่ยังนิยมทำอยู่
เมื่อคนของฝ่ายเจ้าบ่าว ยกขบวนขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายเจ้าสาวแล้ว จะไม่ยอมมอบต้นกล้วย ต้นอ้อย ให้โดยง่าย อาจถือหรืออุ้มถ่วงเอาไว้ จนกว่าจะได้น้ำมารด เพื่อความเจริญงอกงาม บางทีก็ใช้น้ำมนต์หรือน้ำฝนสะอาด แต่น้ำที่ผู้อุ้มต้องการมากที่สุดคือ สุรา ดังนั้นในวันยกขันหมาก พวกคอสุราจะจับจอง หรือขออาสาเป็นคนอุ้ม ต้นกล้วย ต้นอ้อย เพราะนอกจากจะได้น้ำอมฤตแล้ว ยังได้พูดจาหยอกเย้าต่อรองกับคนของฝ่ายเจ้าสาว เป็นที่สนุกสนาน ครื้นเครง
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
ขันหมากหมั้น เมื่อถึงกำหนดฤกษ์ตามที่ได้กำหนดไว้ ฝ่ายชายจะเตียมขันหมากหมั้นเพื่อยกไปทำการหมั้นฝ่ายหญิงโดยเฒ่าแก่ ฝ่ายชายจะเป็นผู้นำไปมอบให้ฝ่ายหญิง เฒ่าแก่ฝ่ายชายซึ่งอาจเป็นคนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ หรือจะให้ผู้อื่นทำแทนก็ได้ เพราะไม่ค่อยถือเหมือนเฒ่าแก่ขันหมาก ตอนแต่งควรเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกับที่ไปทำการเจรจาสู่ขอ
สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นหมากหมั้นนั้น ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไป ใช้หมากดิบ ทั้งลูก 4 ผล หรือ 8 ผล แต่ต้องเป็นระแง้หรือตะแง้ (กิ่งที่แยกออก จากทะลายหมาก) เดียวกัน หรือถ้าต่างระแง้ก็ต้องมีระแง้ละ 2 ผล หรือ 4 ผล คือต้องเป็นคู่ เพราะถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วใช้ปูนแดงป้ายที่เปลือกหมากเล็กน้อยทุกลูก มีพลูใบ 4 เรียง หรือ 8 เรียงก็ได้ เรียงละ 5 ใบ หรือ 10 ใบ ตัดก้านเสียแล้วใช้ปูนแดงแต้มที่โคนของของใบพลูทุกใบแล้วให้วางเรียงเข้ารอบๆ ภายใน ของขัน ดูให้เสมอกัน และก็เพราะเหตุที่ขันนี้ใส่หมากนั่นเอง จึงเรียกว่า "ขันหมาก" ซึ่งขันมีขนาดเล็กกว่าขั้นสินสอด
ต้นกล้วยต้นอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากแต่งงานนั้น มีความหมายในทางมงคลก็คือ อ้อย หมายถึงความหวาน ส่วน หน่อกล้วย หมายถึงความเจริญงอกงาม การขุดต้องให้ติดรากหรือมีตาและเลือกเอาต้นหรือหน่อที่สมบูรณ์ โดยชุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงามซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการปลูกร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงพายอย่างหนึ่ง ซึ่งหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์ และต้นอ้อยเติบโตหอมหวาน เชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง ความรักจะสดชื่นหอมหวานอยู่มิรู้คลาย ฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจก็สมบูรณ์พูนสุข
หมากพลู และ ผ้าไหว้
หมากพลูในขันหมากเอก บางแห่งจัดจีบเป็นคำ ๆ เรียงลำดับรอบปากขันหรือพานให้ดูสวยงาม แต่บางแห่ง มีหมากทั้งผล และพลูเรียงผสมไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสวยงามเหมาะสมและความนิยมนั่นเอง
ผ้าไหว้มี 2 อย่าง คือผ้าไหว้พ่อแม่ และผู้ที่มีพระคุณที่ได้อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายหญิง อาจเรียกเป็นสำรับๆ ถ้าผู้ที่ไปไหว้เป็นผู้หญิงให้ใช้ผ้าลาย กับผ้าแพรห่ม หรือว่าจะเป็นผ้าไหมก็ได้ ถ้าเป็นผู้ชายก็เป็นผ้าม่วงนุ่ง กับผ้าขาวม้า หากมีการเรียกผ้าไหว้แล้วต้องเรียกทั้งสองอย่างเสมอ ผ้าไหว้ผีจะต้องเป็นผ้าขาวเพื่อนำไปเย็บเป็นสบง หรือจีวรสำหรับถวายพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว ผ้าไหว้ทั้งสองอย่างจะจัดใส่พานแยกกัน
ส่วนผ้าไหว้นั้น นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่น 2 คู่ หรือ 3 คู่ นำมาห่อกระดาษแดงให้สวยงาม ผ้าไหว้นี้ใช้สำหรับ ไหว้ผีบรรพบุรุษ หรือไว้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับผ้าไหว้ ที่เจ้าบ่าวเจ้าสาว มอบให้ญาติผู้ใหญ่ ที่มาทำพิธีรับไหว้ในขั้นตอนการแต่งงาน
การขุดต้นกล้วยต้นอ้อย
ต้นกล้วยต้นอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากแต่งงานนั้น มีความหมายในทางมงคลก็คือ อ้อย หมายถึงความหวาน ส่วน หน่อกล้วย หมาย ถึงความเจริญงอกงาม การขุดต้องให้ติดรากหรือมีตาและเลือกเอาต้นหรือหน่อที่สมบูรณ์ โดยชุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงามซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการ ปลูกร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงพายอย่างหนึ่ง ซึ่งหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์ และต้นอ้อยเติบโตหอมหวาน เชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง ความรักจะสดชื่นหอมหวานอยู่มิรู้คลาย ฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจก็สมบูรณ์พูนสุข
ในสมัยโบราณหรือบางท้องถิ่น อาจมีต้นไม้อื่น ๆ นำมาให้คู่บ่าวสาวปลูกร่วมกัน เช่น ต้นหมาก ต้นพลู เพราะเมื่อก่อนนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีไว้ทุกบ้าน รวมทั้งต้นมะพร้าวที่เพิ่งจะงอกออกมาจากผลแก่ ซึ่งถือเกล็ด ในเรื่องความเจริญงอกงามก้าวหน้านั่นเอง นอกจากนี้ยังมีพวกถั่วงา ข้าวเปลือก และอื่น ๆ ฯลฯ แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว นอกจากการปลูกต้นกล้วย ต้นอ้อยร่วมกัน ที่ยังนิยมทำอยู่
เมื่อคนของฝ่ายเจ้าบ่าว ยกขบวนขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายเจ้าสาวแล้ว จะไม่ยอมมอบต้นกล้วย ต้นอ้อย ให้โดยง่าย อาจถือหรืออุ้มถ่วงเอาไว้ จนกว่าจะได้น้ำมารด เพื่อความเจริญงอกงาม บางทีก็ใช้น้ำมนต์หรือน้ำฝนสะอาด แต่น้ำที่ผู้อุ้มต้องการมากที่สุดคือ สุรา ดังนั้นในวันยกขันหมาก พวกคอสุราจะจับจอง หรือขออาสาเป็นคนอุ้ม ต้นกล้วย ต้นอ้อย เพราะนอกจากจะได้น้ำอมฤตแล้ว ยังได้พูดจาหยอกเย้าต่อรองกับคนของฝ่ายเจ้าสาว เป็นที่สนุกสนาน ครื้นเครง
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
Wednesday, October 19, 2011
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ ๕ : การไหว้ผี และ การตรวจนับขันหมาก (Thai Wedding Ceremony Eps.5)
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ 5 :
การไหว้ผี และการตรวจนับขันหมาก
(Thai Wedding Ceremony Eps.5)
การไหว้ผี
การไหว้ผีเหย้าผีเรือน และผีปู่ย่าตายายที่บ้าน ของฝ่ายเจ้าสาวนี้ เป็นการบอกกล่าวให้ทราบ และเพื่อให้ เจ้าบ่าว ทำการฝากเนื้อฝากตัว จะกระทำก่อน การตรวจนับสินสอด คือเมื่อขบวนขันหมากของเจ้าบ่าว ขึ้นบนเรือน แล้ว เฒ่าแก่ทั้งสอง ฝ่ายจำนำ คู่บ่าวสาวไปไหว้ผี โดยเฒ่าแก่ฝ่ายหญิง จูงมือเจ้าสาว เฒ่าแก่ฝ่ายชาย จูงมือเจ้าบ่าว ให้นั่งคู่กัน
การไหว้ผีนิยมไหว้ที่เสาดั้งกันเรือน หรือที่ตั้งของรูป ปู่ย่าตายายซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว การไหว้ผีนั้นนิยมใช้ธูป เพียงดอกเดียว ไม่ใช้สามดอกอย่างไหว้พระ นอกจากเครื่องเซ่นแล้ว อาจมีผ้าไหว้ ที่ทางเจ้าสาว จัดเตรียม หรือจัดมาไว้ด้วย
การไหว้ผีในปัจจุบัน ก็ใช้มือพนมกราบธรรมดา 3 ครั้ง แต่ในสมัยโบราณ จะมีคำกล่าว เป็นพิธีการ ยาวบ้าง สั้นบ้าง ตามแต่จะนิยม เป็นคำบอกกล่าว และขอพร ตามธรรมเนียมของคนไทย ซึ่งเมื่อจะกระทำเรื่องอะไรก็ตาม ย่อมควรบอกกล่าว ปรึกษาผู้ใหญ่ให้ท่านรับรู้
เสร็จจากการไหว้ผีแล้ว จึงทำการตรวจนับสินสอด และทำพิธีไหว้บิดามารดารวมทั้งญาติ ต่อไป
การตรวจนับขันหมาก
เมื่อขบวนขันหมาก มาถึงเรือนของฝ่ายเจ้าสาวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว จะส่งขันหมากให้ เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาว ทำการตรวจนับ ซึ่งต้องทำกันต่อหน้าสักขีพยาน เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาวจะทำการตรวจนับเอง หรือส่งขันหมากต่อให้คู่สามีภรรยา ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของพ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งจัดเตรียมไว้ให้ทำหน้าที่ ตรวจนับก็ได้
คู่สามีภรรยาที่จัดไว้นิยมว่า ต้องเป็นคู่ที่แต่งงานกันอย่างถูกต้อง และกินอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข 2 คู่ เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาวเปิดผ้าคลุมขันหมาก หรือแก้ผ้าที่ห่อหุ้มเตียบและเปิดฝาออกกางไว้ จะเอาแป้งหอม น้ำมันหอม และกระแจะประพรม สิ่งของในเตียบ
ในสมัยโบราณ หากเป็นการตรวจนับสิ่งของในเตียบ ภรรยาจะอุ้มเตียบ เดินตามหลังสามีของตน เข้าไปใน ห้องเรือนบิดามารดา ฝ่ายเจ้าสาวคนละเตียบ วางเตียบทั้ง 4 พร้อมผ้าไหว้ ลงบนผ้าขาวกว้าง 4 ศอก ยาว 4 ศอก ที่ปูไว้กลางเรือน จุดธูปเทียน ดอกไม้สด 2 ช่อ กระทำสักการะเทวดา และผีเรือนผีปู่ย่าตายาย กล่าวบท ชุมนุมเทวดา ให้มาปกปักรักษา เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่าย จะนำเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ไปทำพิธีไหว้ผี ซึ่งได้แก่ ผีเหย้า ผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย ที่ล่วงลับไปแล้ว เสร็จแล้วจึงมีการนับสินสอด
ในการตรวจนับขันหมาก เฒ่าแก่ฝ่ายชาย จะบอกให้เจ้าบ่าว ใส่เงินสินสอด มาเกินที่ตกลงกันไว้กับทาง เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาว เล็กน้อย เรียกว่า เงินเกินหรืองอกเงย ซึ่งถือเป็นสิริมงคล แก่บ่าวสาวเชื่อว่า ต่อไปจะทำมาค้าขึ้นร่ำรวย มีชีวิตที่ผาสุก ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ เมื่อทำการตรวจนับ เฒ่าแก่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้มีหน้าที่ตรวจนับ จะบอกว่าเงินสินสอด งอกเงยขึ้นแล้ว ทุกคนต่างแสดงความยินดี เฒ่าแก่ผู้ตรวจนับ และพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย จะนำถั่วทอง เมล็ดงา และข้าวเปลือก หรือสิ่งที่เป็นมงคลอื่น ๆ เช่น แป้งหอม น้ำมันหอม มาประพรมคลุกเคล้าเงินสินสอดนั้น
สำหรับสร้อย แหวน กำไลข้อมือ ต่างหูเพชรทอง เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะให้เจ้าบ่าวสวมใส่ให้กับเจ้าสาวของตน ทุกคนที่เป็นสักขีพยาน ต่างกล่าวคำชมด้วยความยินดี มีการหยอกเย้าในขณะที่ เจ้าบ่าว ใส่แหวนสวมสร้อย ให้เจ้าสาว เป็นที่สนุกสนานครื้นเครง ส่วนเงินสินสอดเฒ่าแก่ฝ่ายหญิง จะห่อผ้าแพรไว้อย่างเดิม แล้วส่งให้ บิดามารดา ของเจ้าสาวนำไปเก็บรักษาไว้
เมื่อตรวจนับขันหมากเสร็จ ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องให้ของแถมพก หรือรางวัลแก่ผู้ที่ยกขันหมาก และบริวารขันหมาก สำหรับถาดใส่ขนมนมเนยนั้น เมื่อทำการส่งคืนจะไม่ส่งถาดเปล่า ต้องมีหมากพลูและขนมติดมาด้วย
การไหว้ผี และการตรวจนับขันหมาก
(Thai Wedding Ceremony Eps.5)
การไหว้ผี
การไหว้ผีเหย้าผีเรือน และผีปู่ย่าตายายที่บ้าน ของฝ่ายเจ้าสาวนี้ เป็นการบอกกล่าวให้ทราบ และเพื่อให้ เจ้าบ่าว ทำการฝากเนื้อฝากตัว จะกระทำก่อน การตรวจนับสินสอด คือเมื่อขบวนขันหมากของเจ้าบ่าว ขึ้นบนเรือน แล้ว เฒ่าแก่ทั้งสอง ฝ่ายจำนำ คู่บ่าวสาวไปไหว้ผี โดยเฒ่าแก่ฝ่ายหญิง จูงมือเจ้าสาว เฒ่าแก่ฝ่ายชาย จูงมือเจ้าบ่าว ให้นั่งคู่กัน
การไหว้ผีนิยมไหว้ที่เสาดั้งกันเรือน หรือที่ตั้งของรูป ปู่ย่าตายายซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว การไหว้ผีนั้นนิยมใช้ธูป เพียงดอกเดียว ไม่ใช้สามดอกอย่างไหว้พระ นอกจากเครื่องเซ่นแล้ว อาจมีผ้าไหว้ ที่ทางเจ้าสาว จัดเตรียม หรือจัดมาไว้ด้วย
การไหว้ผีในปัจจุบัน ก็ใช้มือพนมกราบธรรมดา 3 ครั้ง แต่ในสมัยโบราณ จะมีคำกล่าว เป็นพิธีการ ยาวบ้าง สั้นบ้าง ตามแต่จะนิยม เป็นคำบอกกล่าว และขอพร ตามธรรมเนียมของคนไทย ซึ่งเมื่อจะกระทำเรื่องอะไรก็ตาม ย่อมควรบอกกล่าว ปรึกษาผู้ใหญ่ให้ท่านรับรู้
เสร็จจากการไหว้ผีแล้ว จึงทำการตรวจนับสินสอด และทำพิธีไหว้บิดามารดารวมทั้งญาติ ต่อไป
การตรวจนับขันหมาก
เมื่อขบวนขันหมาก มาถึงเรือนของฝ่ายเจ้าสาวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว จะส่งขันหมากให้ เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาว ทำการตรวจนับ ซึ่งต้องทำกันต่อหน้าสักขีพยาน เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาวจะทำการตรวจนับเอง หรือส่งขันหมากต่อให้คู่สามีภรรยา ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของพ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งจัดเตรียมไว้ให้ทำหน้าที่ ตรวจนับก็ได้
คู่สามีภรรยาที่จัดไว้นิยมว่า ต้องเป็นคู่ที่แต่งงานกันอย่างถูกต้อง และกินอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข 2 คู่ เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาวเปิดผ้าคลุมขันหมาก หรือแก้ผ้าที่ห่อหุ้มเตียบและเปิดฝาออกกางไว้ จะเอาแป้งหอม น้ำมันหอม และกระแจะประพรม สิ่งของในเตียบ
ในสมัยโบราณ หากเป็นการตรวจนับสิ่งของในเตียบ ภรรยาจะอุ้มเตียบ เดินตามหลังสามีของตน เข้าไปใน ห้องเรือนบิดามารดา ฝ่ายเจ้าสาวคนละเตียบ วางเตียบทั้ง 4 พร้อมผ้าไหว้ ลงบนผ้าขาวกว้าง 4 ศอก ยาว 4 ศอก ที่ปูไว้กลางเรือน จุดธูปเทียน ดอกไม้สด 2 ช่อ กระทำสักการะเทวดา และผีเรือนผีปู่ย่าตายาย กล่าวบท ชุมนุมเทวดา ให้มาปกปักรักษา เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่าย จะนำเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ไปทำพิธีไหว้ผี ซึ่งได้แก่ ผีเหย้า ผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย ที่ล่วงลับไปแล้ว เสร็จแล้วจึงมีการนับสินสอด
ในการตรวจนับขันหมาก เฒ่าแก่ฝ่ายชาย จะบอกให้เจ้าบ่าว ใส่เงินสินสอด มาเกินที่ตกลงกันไว้กับทาง เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาว เล็กน้อย เรียกว่า เงินเกินหรืองอกเงย ซึ่งถือเป็นสิริมงคล แก่บ่าวสาวเชื่อว่า ต่อไปจะทำมาค้าขึ้นร่ำรวย มีชีวิตที่ผาสุก ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ เมื่อทำการตรวจนับ เฒ่าแก่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้มีหน้าที่ตรวจนับ จะบอกว่าเงินสินสอด งอกเงยขึ้นแล้ว ทุกคนต่างแสดงความยินดี เฒ่าแก่ผู้ตรวจนับ และพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย จะนำถั่วทอง เมล็ดงา และข้าวเปลือก หรือสิ่งที่เป็นมงคลอื่น ๆ เช่น แป้งหอม น้ำมันหอม มาประพรมคลุกเคล้าเงินสินสอดนั้น
สำหรับสร้อย แหวน กำไลข้อมือ ต่างหูเพชรทอง เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะให้เจ้าบ่าวสวมใส่ให้กับเจ้าสาวของตน ทุกคนที่เป็นสักขีพยาน ต่างกล่าวคำชมด้วยความยินดี มีการหยอกเย้าในขณะที่ เจ้าบ่าว ใส่แหวนสวมสร้อย ให้เจ้าสาว เป็นที่สนุกสนานครื้นเครง ส่วนเงินสินสอดเฒ่าแก่ฝ่ายหญิง จะห่อผ้าแพรไว้อย่างเดิม แล้วส่งให้ บิดามารดา ของเจ้าสาวนำไปเก็บรักษาไว้
เมื่อตรวจนับขันหมากเสร็จ ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องให้ของแถมพก หรือรางวัลแก่ผู้ที่ยกขันหมาก และบริวารขันหมาก สำหรับถาดใส่ขนมนมเนยนั้น เมื่อทำการส่งคืนจะไม่ส่งถาดเปล่า ต้องมีหมากพลูและขนมติดมาด้วย
Monday, October 17, 2011
ประวัติความเป็นมาของราชินี "เจตซุน เพมา" ผู้กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี (biography of Queen Jetsun Pema)
เป็นที่น่าปลาบปลื้มยินดีอย่างยิ่ง เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก หรือ ที่คนไทยรู้จักในพระนาม "กษัตริย์จิกมี" เข้าพิธีอภิเสกสมรสกับ นางสาวเจตซุน เพมา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีชื่อเต็มว่า "เจตซุน เพมา วังชุก (Jetsun Pema Wangchuck)"
หลังจากที่เธอได้เข้าพิธีอภิเสกสมรส และแต่งตั้งราชินี (Queen consort of Bhutan) อย่างเป็นทางการไปแล้วเรียบร้อย เมื่อเช้าของวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ทำให้หลายๆคนอยากรู้ประวัติ และความเป็นมาของสาวน้อยหน้าใส ผู้ที่กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี คนนี้อย่างแน่นอน
ประวัติความเป็นมาของราชินี "เจตซุน เพมา" ผู้กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี
(biography of Jetsun Pema)
เจตซุน เพมา (Jetsun Pema) เกิดวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ที่กรุงทิมพู ประเทศภูฏาน เธอเป็นลูกสาวคนที่สองจากจำนวนพี่น้องห้าคนของ โทนทับ ดียัลเซน (บิดา) กับ โซนัม สุกี (มารดา) โดยเจตซุนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ประเทศภูฏาน ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อที่ลอว์เรนซ์สคูล ในซานาวาร์ หิมาจัลประเทศ และที่เซนต์โจเซฟคอนแวนต์ ในกาลิมพง ประเทศอินเดีย ในภายหลังได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรีเจนต์คอลเลจ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เธอมีความสนใจในงานศิลปะเรอเนซองส์ และมีงานอดิเรกคือ การถ่ายภาพ เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี รวมทั้งเธอยังชอบฟังเพลงพื้นเมืองด้วยเช่นกัน
ด้วยความที่เธอ เป็นผู้หญิงที่สวยสง่า เพียบพร้อม แถมมีลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนใคร เป็นผู้หญิงที่มีหัวใจที่งดงาม จิตใจดี และพร้อมที่จะสนับสนุน เจ้าชายจิกมี ในทุกๆ เรื่อง อีกทั้งยังเป็นคนที่ เจ้าชายจิกมี ไว้วางใจมากที่สุดอีกด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าชายจิกมี ตัดสินใจที่เลือก เจตซุน มาเป็นราชินีของพระองค์
โดย กษัตริย์จิกมี กล่าวชื่นชมว่าเธอเป็นคนอบอุ่น ใจดี และมีอุปนิสัยที่ไม่เหมือนใคร ด้วยคุณสมบัติที่มาพร้อมกับความเฉลียวฉลาด พร้อมอายุและประสบการณ์ เชื่อว่าเธอจะสามารถรับใช้ชาติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ยังกล่าวด้วยว่า ลักษณะที่สำคัญที่สุดของพระราชินีในอนาคตของประเทศ คือ การดำรงอยู่ซึ่งความดีงาม และไม่เปลี่ยนแปลงในความมุ่งมั่นเพื่อรับใช้ประชาชนและประเทศชาติ
On 20 May 2011, during the opening of the Parliament's seventh session, King Jigme Khesar announced that he would marry Jetsun Pema in October 2011. During the announcement, he said,
"While she is young, she is warm and kind in heart and character. These qualities together with the wisdom that will come with age and experience will make her a great servant to the nation."
Khesar has also commented, "Jetsun Pema is a kind-hearted girl who is very supportive and whom I can trust. I cannot say how she might appear to the people, but to me, she is the one."
King Jigme Khesar and Jetsun Pema married on 13 October 2011, at Punakha Dzong. The royal wedding ceremony was held first in Punakha followed by formal visits to different parts of the country. During the ceremony the King also received the Crown of the Druk Gyal-tsuen from the sacred Machhen and bestowed it on Jetsun Pema, thereby formally proclaiming her as the Queen of the Kingdom of Bhutan. The wedding was held in traditional style with the "blessings of the guardian deities".
Ashi Jetsun Pema Wangchuck is the Queen consort of Bhutan, as the wife of King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck.
Jetsun Pema was born in Thimphu on 4 June 1990 in the Thimphu Hospital. Her father is Dhondup Gyaltshen from Trashigang and is the grandson of the Trashigang Dzongpon (Governor of Trashigang) Thinley Tobgye (aka Dopola 1893–1952). Dhondup was graduated from Sherubtse College, Kanglung and has been a commercial pilot since 1989, initially with Druk Air and now Bahrain Air. Her mother, Sonam Chuki, is from Bumthang Pangtey and is the goddaughter of His Royal Highness Prince Namgyel Wangchuck (half-brother of Third King Jigme Dorji Wangchuck); but she considered herself as an ordinary Bhutanese subject although her father is the half-brother of the queen of Second King Jigme Wangchuck—Ashi Phuntsho Choden and Ashi Pema Dechan. Jetsun is the second eldest among five children. Her four siblings are two brothers – Thinlay Norbu and Jigme Namgyal, and two sisters – elder sister Yeatso Lhamo and younger sister Serchen Doma (also studying at Sanawar in India).
Jetsun Pema's initial schooling started in Thimphu in the Little Dragon School, Sunshine School (1995–96) and Changangkha Lower Secondary School (1997–98). Then she had her convent education in St. Joseph's Convent in Kalimpong, West Bengal, India, during 1999–2000. She did her secondary school education at the Lungtenzampa Middle Secondary School in Thimphu from 2001 to 2005. She then moved to the Lawrence School, Sanawar in Himachal Pradesh, India, in April 2006 (joined as Class-XI student) where the subjects she chose to study were English, history, geography, economics, and painting. She completed Higher Secondary education on 31 March 2008. She then pursued her tertiary education by enrolling at Regent's College, in London where she read International Relations with Psychology and Art History as minor subjects.
Jetsun Pema's interests include fine arts, painting, and basketball. She captained her school team in basketball games and maintains that interest even now. Her other diversions during her school days included participation in school bands and dance programmes. Besides Dzongkha, the national language of Bhutan, she is fluent in English and Hindi.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจ:
เจ้าชายจิกมี ประกาศแต่งงานกับ นางสาวเจตซุน เพมา »
พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" แห่งภูฏาน »
ประมวลภาพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" »
credit:
http://en.wikipedia.org/wiki/Jetsun_Pema
http://women.mthai.com/amazing-women/86993.html
หลังจากที่เธอได้เข้าพิธีอภิเสกสมรส และแต่งตั้งราชินี (Queen consort of Bhutan) อย่างเป็นทางการไปแล้วเรียบร้อย เมื่อเช้าของวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ทำให้หลายๆคนอยากรู้ประวัติ และความเป็นมาของสาวน้อยหน้าใส ผู้ที่กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี คนนี้อย่างแน่นอน
ประวัติความเป็นมาของราชินี "เจตซุน เพมา" ผู้กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี
(biography of Jetsun Pema)
เจตซุน เพมา (Jetsun Pema) เกิดวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ที่กรุงทิมพู ประเทศภูฏาน เธอเป็นลูกสาวคนที่สองจากจำนวนพี่น้องห้าคนของ โทนทับ ดียัลเซน (บิดา) กับ โซนัม สุกี (มารดา) โดยเจตซุนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ประเทศภูฏาน ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อที่ลอว์เรนซ์สคูล ในซานาวาร์ หิมาจัลประเทศ และที่เซนต์โจเซฟคอนแวนต์ ในกาลิมพง ประเทศอินเดีย ในภายหลังได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรีเจนต์คอลเลจ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เธอมีความสนใจในงานศิลปะเรอเนซองส์ และมีงานอดิเรกคือ การถ่ายภาพ เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี รวมทั้งเธอยังชอบฟังเพลงพื้นเมืองด้วยเช่นกัน
ด้วยความที่เธอ เป็นผู้หญิงที่สวยสง่า เพียบพร้อม แถมมีลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนใคร เป็นผู้หญิงที่มีหัวใจที่งดงาม จิตใจดี และพร้อมที่จะสนับสนุน เจ้าชายจิกมี ในทุกๆ เรื่อง อีกทั้งยังเป็นคนที่ เจ้าชายจิกมี ไว้วางใจมากที่สุดอีกด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าชายจิกมี ตัดสินใจที่เลือก เจตซุน มาเป็นราชินีของพระองค์
โดย กษัตริย์จิกมี กล่าวชื่นชมว่าเธอเป็นคนอบอุ่น ใจดี และมีอุปนิสัยที่ไม่เหมือนใคร ด้วยคุณสมบัติที่มาพร้อมกับความเฉลียวฉลาด พร้อมอายุและประสบการณ์ เชื่อว่าเธอจะสามารถรับใช้ชาติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ยังกล่าวด้วยว่า ลักษณะที่สำคัญที่สุดของพระราชินีในอนาคตของประเทศ คือ การดำรงอยู่ซึ่งความดีงาม และไม่เปลี่ยนแปลงในความมุ่งมั่นเพื่อรับใช้ประชาชนและประเทศชาติ
On 20 May 2011, during the opening of the Parliament's seventh session, King Jigme Khesar announced that he would marry Jetsun Pema in October 2011. During the announcement, he said,
"While she is young, she is warm and kind in heart and character. These qualities together with the wisdom that will come with age and experience will make her a great servant to the nation."
Khesar has also commented, "Jetsun Pema is a kind-hearted girl who is very supportive and whom I can trust. I cannot say how she might appear to the people, but to me, she is the one."
King Jigme Khesar and Jetsun Pema married on 13 October 2011, at Punakha Dzong. The royal wedding ceremony was held first in Punakha followed by formal visits to different parts of the country. During the ceremony the King also received the Crown of the Druk Gyal-tsuen from the sacred Machhen and bestowed it on Jetsun Pema, thereby formally proclaiming her as the Queen of the Kingdom of Bhutan. The wedding was held in traditional style with the "blessings of the guardian deities".
Ashi Jetsun Pema Wangchuck is the Queen consort of Bhutan, as the wife of King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck.
Jetsun Pema was born in Thimphu on 4 June 1990 in the Thimphu Hospital. Her father is Dhondup Gyaltshen from Trashigang and is the grandson of the Trashigang Dzongpon (Governor of Trashigang) Thinley Tobgye (aka Dopola 1893–1952). Dhondup was graduated from Sherubtse College, Kanglung and has been a commercial pilot since 1989, initially with Druk Air and now Bahrain Air. Her mother, Sonam Chuki, is from Bumthang Pangtey and is the goddaughter of His Royal Highness Prince Namgyel Wangchuck (half-brother of Third King Jigme Dorji Wangchuck); but she considered herself as an ordinary Bhutanese subject although her father is the half-brother of the queen of Second King Jigme Wangchuck—Ashi Phuntsho Choden and Ashi Pema Dechan. Jetsun is the second eldest among five children. Her four siblings are two brothers – Thinlay Norbu and Jigme Namgyal, and two sisters – elder sister Yeatso Lhamo and younger sister Serchen Doma (also studying at Sanawar in India).
Jetsun Pema's initial schooling started in Thimphu in the Little Dragon School, Sunshine School (1995–96) and Changangkha Lower Secondary School (1997–98). Then she had her convent education in St. Joseph's Convent in Kalimpong, West Bengal, India, during 1999–2000. She did her secondary school education at the Lungtenzampa Middle Secondary School in Thimphu from 2001 to 2005. She then moved to the Lawrence School, Sanawar in Himachal Pradesh, India, in April 2006 (joined as Class-XI student) where the subjects she chose to study were English, history, geography, economics, and painting. She completed Higher Secondary education on 31 March 2008. She then pursued her tertiary education by enrolling at Regent's College, in London where she read International Relations with Psychology and Art History as minor subjects.
Jetsun Pema's interests include fine arts, painting, and basketball. She captained her school team in basketball games and maintains that interest even now. Her other diversions during her school days included participation in school bands and dance programmes. Besides Dzongkha, the national language of Bhutan, she is fluent in English and Hindi.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจ:
เจ้าชายจิกมี ประกาศแต่งงานกับ นางสาวเจตซุน เพมา »
พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" แห่งภูฏาน »
ประมวลภาพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" »
credit:
http://en.wikipedia.org/wiki/Jetsun_Pema
http://women.mthai.com/amazing-women/86993.html
Saturday, October 15, 2011
ประมวลภาพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" (Bhutan's royal wedding photos)
ประมวลภาพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" และพระราชกรณียกิจ
(Bhutan's royal wedding photos)
เสร็จสิ้นไปแล้วกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กับพระราชินีองค์ใหม่แห่งภูฏาน (ชื่อเดิมตอนเป็นสามัญชนคือ นางสาวเจ็ตสัน เปมา) ท่ามกลางความปลาบปลื้มยินดีของพสกนิกรชาวภูฏานทั้งประเทศ
สำหรับงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส มีหัวหน้าคณะสงฆ์ของภูฎาน เป็นผู้ประกอบพิธีให้กับทั้งสองพระองค์ ภายในพระราชพิธีมีการตกแต่งและประดับประดาอย่างสวยงาม แต่ก็น้อยกว่าพระราชพิธีเสกสมรสของสมาชิกราชวงศ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามวิถีของชาวภูฎานที่เน้นความพอเพียง และเรียบง่าย แต่ชาวภูฎานก็มีการเฉลิมฉลองรูปแบบต่างๆตามท้องถนน
ชาวภูฏานและชาวโลกต่างประทับใจกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสดังกล่าว เราจึงประมวลภาพความประทับใจนั้นมาให้ชมกันอีกครั้งค่ะ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจ:
เจ้าชายจิกมี ประกาศแต่งงานกับ นางสาวเจตซุน เพมา »
พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" แห่งภูฏาน »
ประวัติความเป็นมาของราชินี "เจตซุน เพมา" ผู้กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี »
credit: http://www.facebook.com/KingJigmeKhesar
(Bhutan's royal wedding photos)
เสร็จสิ้นไปแล้วกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กับพระราชินีองค์ใหม่แห่งภูฏาน (ชื่อเดิมตอนเป็นสามัญชนคือ นางสาวเจ็ตสัน เปมา) ท่ามกลางความปลาบปลื้มยินดีของพสกนิกรชาวภูฏานทั้งประเทศ
สำหรับงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส มีหัวหน้าคณะสงฆ์ของภูฎาน เป็นผู้ประกอบพิธีให้กับทั้งสองพระองค์ ภายในพระราชพิธีมีการตกแต่งและประดับประดาอย่างสวยงาม แต่ก็น้อยกว่าพระราชพิธีเสกสมรสของสมาชิกราชวงศ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามวิถีของชาวภูฎานที่เน้นความพอเพียง และเรียบง่าย แต่ชาวภูฎานก็มีการเฉลิมฉลองรูปแบบต่างๆตามท้องถนน
ชาวภูฏานและชาวโลกต่างประทับใจกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสดังกล่าว เราจึงประมวลภาพความประทับใจนั้นมาให้ชมกันอีกครั้งค่ะ
The Royal Wedding celebrations held in Punakha on the 13th of October 2011, and in Thimphu on the 15th of October 2011.
15 October 2011: His Majesty kisses Her Majesty in front of more than 30,000 people gathered at the Changlimenthang ground to celebrate the Royal Wedding.
15 October 2011: His Majesty the King and Her Majesty the Queen interact with their people at the Changlimethang grounds in Thimphu.
15 October 2011: Our Druk Gyalpo with Prime Minister Jigmi Y. Thinley during the public celebrations of the Royal Wedding at the Changlimethang grounds in Thimphu. His Majesty took part in a traditional Bhutanese dance along with Parliamentarians.
14 October 2011: Their Majesties the King and Queen are greeted by thousands of people from all walks of life and age groups on their way back from Punakha to Thimphu.
Right: 14 October 2011: Their Majesties the King and Queen are greeted by thousands of people from all walks of life and age groups on their way back from Punakha to Thimphu.
14 October 2011: Their Majesties the King and Queen are greeted by students on their way back from Punakha to Thimphu.
14 October 2011: Their Majesties the King and Queen are greeted by students on their way back from Punakha to Thimphu.
14 October 2011: Their Majesties the King and Queen are greeted by students on their way back from Punakha to Thimphu.
Left: 14 October 2011: Their Majesties the King and Queen are greeted by students on their way back from Punakha to Thimphu.
Right: His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck
Right: His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck
Our Druk Gyalpo bestows the crown of the Druk Gyaltsuen (Queen of the Kingdom of Bhutan) upon the Royal Bride.
Left: 12 October, 2011 - Royal Bride Jetsun Pema offered prayers at the Druk Wangyal Lhakhang in Dochula, on her way to Wangduephodrang where she will spend the night on the eve of the Royal Wedding. The Royal Wedding will be held in the 17th century Punaakha Dzong tomorrow.
Right: 12 October, 2011 - Royal Bride Jetsun Pema being welcomed in traditional Chipdrel in Wangduephodrang where she will spend the night on the eve of the Royal Wedding. The Royal Wedding will be held in the 17th century Punaakha Dzong tomorrow.
Right: 12 October, 2011 - Royal Bride Jetsun Pema being welcomed in traditional Chipdrel in Wangduephodrang where she will spend the night on the eve of the Royal Wedding. The Royal Wedding will be held in the 17th century Punaakha Dzong tomorrow.
Left: 18 September, 2011: The Royal Bride joined hundreds of people in Rongthong Nagtshang to welcome His Majesty. Rongthong Nagtsang was the home of Tashigangpa Dopola, who is the great-grandfather of Royal Bride Jetsun Pema.
Right: 10 October, 2011 - His Majesty and the Royal Bride Jetsun Pema attended a gala cultural program at the Indian Embassy, specially organized to congratulate the Royal Couple for the Royal Wedding. The program which featured folk musicians from India was attended by His Majesty the Fourth Druk Gyalpo, members of the Royal Family and senior government officials.
Right: 10 October, 2011 - His Majesty and the Royal Bride Jetsun Pema attended a gala cultural program at the Indian Embassy, specially organized to congratulate the Royal Couple for the Royal Wedding. The program which featured folk musicians from India was attended by His Majesty the Fourth Druk Gyalpo, members of the Royal Family and senior government officials.
13 September, 2011 - The students of Tshangkha Lower Secondary School offer good wishes to His Majesty and the Royal Bride for the upcoming Royal Wedding.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจ:
เจ้าชายจิกมี ประกาศแต่งงานกับ นางสาวเจตซุน เพมา »
พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" แห่งภูฏาน »
ประวัติความเป็นมาของราชินี "เจตซุน เพมา" ผู้กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี »
credit: http://www.facebook.com/KingJigmeKhesar
Thursday, October 13, 2011
พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" แห่งภูฏาน (Bhutan's royal wedding)
พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" กษัตริย์แห่งภูฏาน เข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับพระคู่หมั้น สามัญชน
(Bhutan's royal wedding)
เหล่าพสกนิกรของภูฎานต่างปลื้มปีติกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กับ สาวสามัญชน ซึ่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีจิ๊กมี แห่งภูฏาน จัดขึ้นอย่างเรียบง่าย เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (13 ตุลาคม 2554)
ท่ามกลางความปลาบปลื้มยินดีของพสกนิกรชาวภูฏานทั้งประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชวงศ์ภูฎาน ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ นางสาวเจ็ตสัน เปมา สาวสามัญชนวัย 21 ปี ที่ป้อมปราการปูนาคา กรุงเก่าแห่งภูฏาน ตามพระราชประเพณีในวันนี้ ท่ามกลางสมาชิกราชวงศ์และบุคคลสำคัญของภูฎานเท่านั้น โดยไม่ได้ทรงเชิญพระราชวงศ์จากต่างประเทศ และคนดังจากวงการต่างๆมาร่วมในงาน ขณะที่พสกนิกรชาวภูฎานราว 700,000 คน จะได้ชมพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
สำหรับงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส มีหัวหน้าคณะสงฆ์ของภูฎาน เป็นผู้ประกอบพิธีให้กับทั้งสองพระองค์ ภายในพระราชพิธีมีการตกแต่งและประดับประดาอย่างสวยงาม แต่ก็น้อยกว่าพระราชพิธีเสกสมรสของสมาชิกราชวงศ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามวิถีของชาวภูฎานที่เน้นความพอเพียง และเรียบง่าย แต่ชาวภูฎานก็มีการเฉลิมฉลองรูปแบบต่างๆตามท้องถนน
หลังจากประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสแล้ว สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงสวมมงกุฎให้กับพระราชินี กลายเป็นสมาชิกพระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์ทันที ทั้งนี้สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้เคยมีพระราชดำรัสว่าจะมีพระราชินีเพียงพระองค์เดียว ซึ่งนั้นก็หมายความว่าชาวภูฎานจะไม่ได้เห็นพระราชพิธีที่สวยงามอย่างนี้ไปอีกนาน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจ:
เจ้าชายจิกมี ประกาศแต่งงานกับ นางสาวเจตซุน เพมา »
ประมวลภาพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" »
ประวัติความเป็นมาของราชินี "เจตซุน เพมา" ผู้กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี »
(Bhutan's royal wedding)
เหล่าพสกนิกรของภูฎานต่างปลื้มปีติกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กับ สาวสามัญชน ซึ่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีจิ๊กมี แห่งภูฏาน จัดขึ้นอย่างเรียบง่าย เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (13 ตุลาคม 2554)
ท่ามกลางความปลาบปลื้มยินดีของพสกนิกรชาวภูฏานทั้งประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชวงศ์ภูฎาน ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ นางสาวเจ็ตสัน เปมา สาวสามัญชนวัย 21 ปี ที่ป้อมปราการปูนาคา กรุงเก่าแห่งภูฏาน ตามพระราชประเพณีในวันนี้ ท่ามกลางสมาชิกราชวงศ์และบุคคลสำคัญของภูฎานเท่านั้น โดยไม่ได้ทรงเชิญพระราชวงศ์จากต่างประเทศ และคนดังจากวงการต่างๆมาร่วมในงาน ขณะที่พสกนิกรชาวภูฎานราว 700,000 คน จะได้ชมพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
สำหรับงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส มีหัวหน้าคณะสงฆ์ของภูฎาน เป็นผู้ประกอบพิธีให้กับทั้งสองพระองค์ ภายในพระราชพิธีมีการตกแต่งและประดับประดาอย่างสวยงาม แต่ก็น้อยกว่าพระราชพิธีเสกสมรสของสมาชิกราชวงศ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามวิถีของชาวภูฎานที่เน้นความพอเพียง และเรียบง่าย แต่ชาวภูฎานก็มีการเฉลิมฉลองรูปแบบต่างๆตามท้องถนน
หลังจากประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสแล้ว สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงสวมมงกุฎให้กับพระราชินี กลายเป็นสมาชิกพระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์ทันที ทั้งนี้สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้เคยมีพระราชดำรัสว่าจะมีพระราชินีเพียงพระองค์เดียว ซึ่งนั้นก็หมายความว่าชาวภูฎานจะไม่ได้เห็นพระราชพิธีที่สวยงามอย่างนี้ไปอีกนาน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจ:
เจ้าชายจิกมี ประกาศแต่งงานกับ นางสาวเจตซุน เพมา »
ประมวลภาพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส "กษัตริย์จิกมี" »
ประวัติความเป็นมาของราชินี "เจตซุน เพมา" ผู้กุมหัวใจของ กษัตริย์จิกมี »
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ ๔ : กั้นประตูทอง ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่ (Thai Wedding Ceremony Eps.4)
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ 4 :
กั้นประตูทอง ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
(Thai Wedding Ceremony Eps.4)
ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
เมื่อผู้กั้นประตูเงิน ตกลงเปิดทางให้ผ่าน เจ้าบ่าวก็ขึ้นบันไดไปสู่ขอประตูทอง เพื่อเข้าไปในตัวเรือน ในช่วงนี้ จะมีคนแย่งกันถอดรองเท้าให้เจ้าบ่าว เพราะสามารถนำไปซ่อน เพื่อขอค่าไถ่ได้ในภายหลัง คือ เมื่อขึ้นไปทำพิธี บนบ้านเสร็จแล้ว เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องลงมาข้างล่าง เพื่อทักทายแขก หรือทำการ ปลูกต้นกล้วยต้นอ้อยร่วมกัน ผู้นำรองเท้าไปซ่อน จะเรียกค่าไถ่จากเจ้าบ่าว จนเป็นที่พอใจจึงจะนำมาคืนให้ เป็นการหยอกล้อกัน เพื่อ ความสนุกสนาน
ก่อนขึ้นบ้าน น้องเจ้าสาวจะทำหน้าที่ล้างเท้าให้เจ้าบ่าว ซึ่งทำพอเป็นพิธีเท่านั้น และเจ้าบ่าวต้องให้ซองเงิน หรือ ของแถมพกเป็นรางวัล
สำหรับด่านสุดท้ายหรือประตูทองนั้น ผู้ที่ทำการปิดกั้นส่วนใหญ่จะเป็นพี่หรือน้อง ของเจ้าสาว สิ่งที่ใช้กั้น อาจเป็นแพรอย่างดี หรือจะใช้สร้อยทองดึงชายไว้คนละมุมก็ได้ เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะถามว่า “นี่ประตูอะไรจ๊ะ ” ตอบว่า “ ประตูทอง ” เฒ่าแก่จึงให้ซองหรือของแถมพกอย่างเอก เพื่อขอผ่านทาง
ของแถมพกหรือซองเงินที่ใช้ผ่านประตูทองนี้ จะมีราคาสูงกว่า ๒ ประตูแรก บางครั้งถ้าฐานะดี ฝ่ายเจ้าบ่าว อาจใช้สร้อยทอง หรือแหวนทอง เป็นค่าผ่านก็มี
เมื่อได้ของแถมพกแล้ว ผู้ปิดกั้นหรือเฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะถามเฒ่าแก่ฝ่ายชายว่า “ ท่านทั้งปวงนี้ เดินมาทางไหน ”
เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวผู้เป็นสามีตอบว่า “ ข้าพเจ้าเดินมาทางตะพานทิพย์ตะพานแสง ”
เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาวผู้เป็นภรรยาตอบว่า “ ข้าพเจ้าเดินมาทางตะพานเงินตะพานทอง ”
ครั้นตอบดังนี้แล้ว ผู้ปิดกั้นประตู จึงยอมเปิดทางให้ผ่าน เฒ่าแก่และฝ่ายเจ้าบ่าว พร้อมเครื่องขันหมาก จึงเข้าไป ในเรือนหรือบ้านของฝ่ายหญิง ทันใดนั้นก็มีการลั่นฆ้องสามลา (ถ้ามี) เป็นฤกษ์ขันหมากถึงเรือนหอ หรือบางที ไม่มีการลั่นฆ้อง ฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาว ก็จะออกมาต้อนรับ
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
กั้นประตูทอง ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
(Thai Wedding Ceremony Eps.4)
ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
เมื่อผู้กั้นประตูเงิน ตกลงเปิดทางให้ผ่าน เจ้าบ่าวก็ขึ้นบันไดไปสู่ขอประตูทอง เพื่อเข้าไปในตัวเรือน ในช่วงนี้ จะมีคนแย่งกันถอดรองเท้าให้เจ้าบ่าว เพราะสามารถนำไปซ่อน เพื่อขอค่าไถ่ได้ในภายหลัง คือ เมื่อขึ้นไปทำพิธี บนบ้านเสร็จแล้ว เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องลงมาข้างล่าง เพื่อทักทายแขก หรือทำการ ปลูกต้นกล้วยต้นอ้อยร่วมกัน ผู้นำรองเท้าไปซ่อน จะเรียกค่าไถ่จากเจ้าบ่าว จนเป็นที่พอใจจึงจะนำมาคืนให้ เป็นการหยอกล้อกัน เพื่อ ความสนุกสนาน
ก่อนขึ้นบ้าน น้องเจ้าสาวจะทำหน้าที่ล้างเท้าให้เจ้าบ่าว ซึ่งทำพอเป็นพิธีเท่านั้น และเจ้าบ่าวต้องให้ซองเงิน หรือ ของแถมพกเป็นรางวัล
สำหรับด่านสุดท้ายหรือประตูทองนั้น ผู้ที่ทำการปิดกั้นส่วนใหญ่จะเป็นพี่หรือน้อง ของเจ้าสาว สิ่งที่ใช้กั้น อาจเป็นแพรอย่างดี หรือจะใช้สร้อยทองดึงชายไว้คนละมุมก็ได้ เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะถามว่า “นี่ประตูอะไรจ๊ะ ” ตอบว่า “ ประตูทอง ” เฒ่าแก่จึงให้ซองหรือของแถมพกอย่างเอก เพื่อขอผ่านทาง
ของแถมพกหรือซองเงินที่ใช้ผ่านประตูทองนี้ จะมีราคาสูงกว่า ๒ ประตูแรก บางครั้งถ้าฐานะดี ฝ่ายเจ้าบ่าว อาจใช้สร้อยทอง หรือแหวนทอง เป็นค่าผ่านก็มี
เมื่อได้ของแถมพกแล้ว ผู้ปิดกั้นหรือเฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะถามเฒ่าแก่ฝ่ายชายว่า “ ท่านทั้งปวงนี้ เดินมาทางไหน ”
เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวผู้เป็นสามีตอบว่า “ ข้าพเจ้าเดินมาทางตะพานทิพย์ตะพานแสง ”
เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าสาวผู้เป็นภรรยาตอบว่า “ ข้าพเจ้าเดินมาทางตะพานเงินตะพานทอง ”
ครั้นตอบดังนี้แล้ว ผู้ปิดกั้นประตู จึงยอมเปิดทางให้ผ่าน เฒ่าแก่และฝ่ายเจ้าบ่าว พร้อมเครื่องขันหมาก จึงเข้าไป ในเรือนหรือบ้านของฝ่ายหญิง ทันใดนั้นก็มีการลั่นฆ้องสามลา (ถ้ามี) เป็นฤกษ์ขันหมากถึงเรือนหอ หรือบางที ไม่มีการลั่นฆ้อง ฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาว ก็จะออกมาต้อนรับ
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
Sunday, October 9, 2011
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ ๓ : พานรับขันหมาก การรับขันหมาก การปิดประตูขันหมาก (Thai Wedding Ceremony Eps.3)
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ 3 :
พานรับขันหมาก การรับขันหมาก การปิดประตูขันหมาก
(Thai Wedding Ceremony Eps.3)
พานรับขันหมาก
พอขบวนขันหมาก ของเจ้าบ่าวมาถึงเขตบ้านแล้ว ฝ่ายเจ้าสาวจะจัดพานใส่หมากพลู สำหรับรับขันหมาก เตรียมไว้ให้เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว ซึ่งอาจให้เด็กผู้หญิงแต่งตัวสวยงาม หรือญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว ถือพานออกไปรับ ก็ได้ เป็นการแสดงความยินดีและให้เกียรติเฒ่าแก่ฝ่ายชาย
เมื่อมีผู้นำพานรับขันหมาก มามอบให้ เฒ่าแก่ฝ่ายชาย จะหยิบหมากพลูที่จีบไว้ เป็นคำ ๆ เคี้ยวกินหรือหยิบไว้ พอเป็นพิธี แล้วส่งพานคืนให้พร้อมกับของชำร่วยหรือซองใส่เงิน ผู้ที่ถือขันหมาก ต้องไปยืนอยู่นอกเขตบ้าน เพราะต่อไปจะมีการปิดกั้นประตูเงินประตูทอง เมื่อรับพานคืนมาพร้อมของรางวัลแล้ว ผู้ทำหน้าที่รับขันหมาก ก็จะนำขบวนขันหมาก เข้าสู่เขตบ้าน
การรับขันหมาก
ในการรับขันหมาก นอกจะให้เด็กยกพาน รับขันหมากแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวก็จะออกมา ให้การต้อนรับด้วย เพื่อเจรจาต้อนรับเฒ่าแก่ ของฝ่ายเจ้าบ่าว พูดคุยกันในเรื่องอันเป็นมงคลเกี่ยวกับ ฤกษ์งามยามดีในวันนี้ บางทีหน้าที่โต้ตอบ และจัดขบวนขันหมาก อาจใช้ผู้ที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะคอยควบคุม เรียกว่า นายขันหมาก ส่วนเฒ่าแก่เป็นเพียงผู้ร่วมมาในขบวนขันหมาก และเป็นผู้ทำพิธีในฐานะผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย นายขันหมาก บางทีเรียกว่า คนเอิ้น...หรือผู้ขานขันหมาก มีหน้าที่บอกกับทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงว่า บัดนี้ขบวนขันหมาก ได้มาถึงบ้านของฝ่ายหญิงแล้ว
ในวันงาน ทั้งตัวเฒ่าแก่ นายขันหมาก เจ้าบ่าว เจ้าสาว และพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งญาติผู้ใหญ่ จะแต่งตัวกัน งดงามเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ใครมีเครื่องเพชรเครื่องทอง ก็จะขนมาแต่งกัน เต็มที่ เจ้าบ่าวนิยมใส่ชุดสูทหรือชุดพระราชทาน ส่วนเจ้าสาวนั้น นิยมแต่งชุดไทย และใส่ชุดราตรี หรือ ที่เรียกว่า ชุดเจ้าสาวในเวลากินเลี้ยงตอนกลางคืน เกี่ยวกับ การแต่งตัวนี้ ความจริงไม่มีข้อจำกัด หรือบังคับอันใด ดูตามความเหมาะสม
การปิดประตูขันหมาก
เมื่อขบวนขันหมากมาถึงประตูบ้านเจ้าสาว ซึ่งด่านแรกนี้จะเป็นประตูรั้ว หรือบางทีออกไปกั้นกัน ตั้งแต่ ปากซอยเลย ก็มีกว่าจะเข้าไปในบ้านเจ้าสาวได้ อาจต้องผ่านถึง 5 ประตู 7 ประตู แต่ส่วนใหญ่นิยมกันแค่ 3 ประตู เท่านั้น คือ ประตูชัย ประตูเงิน ประตูทอง หรือ ประตูนาก ประตูเงิน ประตูทอง
ด่านแรกที่รั้วบ้านนี้ คนของฝ่ายเจ้าสาว 2 คนจะถือชายผ้ากั้นไว้คนละข้าง เรียกว่าปิดประตูขันหมาก เฒ่าแก่หรือนายขันหมากซึ่งมากับเจ้าบ่าวก็จะถามว่า
“ประตูนี้มีชื่อว่าอันใด” หรือจะพูดอย่างธรรมดาว่า “ประตูอะไรจ๊ะ” ก็ได้ ผู้ปิดประตูต้องตอบว่า “ประตูชัย”
เฒ่าแก่ก็จะให้ซองเงิน หรือของชำร่วย แก่ผู้กั้นเพื่อขอผ่าน ของชำร่วยหรือซองเงินนี้ จะมีค่างวดน้อยกว่า ที่จะต้องให้ผ่านประตูเงิน และประตูทอง เรียกว่า "ของแถมพกอย่างตรี"
บางทีกว่าจะผ่านด่านแรกได้ อาจมีการกล่าวหยอกเย้าต่อรองกันเป็นที่สนุกสนาน เมื่อผู้กั้น ยอมเปิดให้ผ่าน เข้ามาในเขตบ้านแล้ว ก็มาถึงประตูที่ 2 คือ ประตูเงิน ซึ่งจะอยู่บริเวณบันได เพราะบ้านทรงไทยสมัยโบราณ นิยมสร้าง แบบยกพื้นสูง
การกั้นประตูเงินนี้ จะใช้ผ้าแพรหรือผ้าชนิดดีกว่าที่ใช้กั้นประตูชัย ผู้ที่ถือผ้ากั้นทั้งสองคนส่วนใหญ่เป็นญาติสนิท ของฝ่ายเจ้าสาว เฒ่าแก่จะถามว่า “ประตูชั้นสองนี้มีชื่อว่าประการใด” ผู้กั้นตอบว่า “ประตูเงิน” เฒ่าแก่จึงมอบซอง หรือ "ของแถมพกอย่างโท" ให้เพื่อขอผ่านทาง
การให้ของแถมพกหรือซองเงินนั้น บางทีเจ้าบ่าวก็ทำหน้าที่เอง มีเพื่อนเจ้าบ่าว ช่วยเจรจาต่อรอง กับคนของ ฝ่ายเจ้าสาว บางทีแกล้งให้ซองแดงเปล่า ๆ ผู้กั้นไหวไม่ทันอาจเสียทีเป็นการหยอกเย้ากัน ให้สนุกสนาน ครื้นเครงมากกว่า ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่ที่รู้เชิงอยู่กำกับ จะนำซองมาเปิดหรือส่องดูก่อนว่าในซองมีเงินจริงหรือเปล่า เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว จึงเปิดทางให้ผ่าน จึงเป็นเรื่องของการหยอกล้อกันมากกว่า ที่จะสนใจในเรื่องของเงินทอง
(ติดตามต่อใน ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนต่อไปค่ะ)
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
พานรับขันหมาก การรับขันหมาก การปิดประตูขันหมาก
(Thai Wedding Ceremony Eps.3)
พานรับขันหมาก
พอขบวนขันหมาก ของเจ้าบ่าวมาถึงเขตบ้านแล้ว ฝ่ายเจ้าสาวจะจัดพานใส่หมากพลู สำหรับรับขันหมาก เตรียมไว้ให้เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว ซึ่งอาจให้เด็กผู้หญิงแต่งตัวสวยงาม หรือญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว ถือพานออกไปรับ ก็ได้ เป็นการแสดงความยินดีและให้เกียรติเฒ่าแก่ฝ่ายชาย
เมื่อมีผู้นำพานรับขันหมาก มามอบให้ เฒ่าแก่ฝ่ายชาย จะหยิบหมากพลูที่จีบไว้ เป็นคำ ๆ เคี้ยวกินหรือหยิบไว้ พอเป็นพิธี แล้วส่งพานคืนให้พร้อมกับของชำร่วยหรือซองใส่เงิน ผู้ที่ถือขันหมาก ต้องไปยืนอยู่นอกเขตบ้าน เพราะต่อไปจะมีการปิดกั้นประตูเงินประตูทอง เมื่อรับพานคืนมาพร้อมของรางวัลแล้ว ผู้ทำหน้าที่รับขันหมาก ก็จะนำขบวนขันหมาก เข้าสู่เขตบ้าน
การรับขันหมาก
ในการรับขันหมาก นอกจะให้เด็กยกพาน รับขันหมากแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวก็จะออกมา ให้การต้อนรับด้วย เพื่อเจรจาต้อนรับเฒ่าแก่ ของฝ่ายเจ้าบ่าว พูดคุยกันในเรื่องอันเป็นมงคลเกี่ยวกับ ฤกษ์งามยามดีในวันนี้ บางทีหน้าที่โต้ตอบ และจัดขบวนขันหมาก อาจใช้ผู้ที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะคอยควบคุม เรียกว่า นายขันหมาก ส่วนเฒ่าแก่เป็นเพียงผู้ร่วมมาในขบวนขันหมาก และเป็นผู้ทำพิธีในฐานะผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย นายขันหมาก บางทีเรียกว่า คนเอิ้น...หรือผู้ขานขันหมาก มีหน้าที่บอกกับทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงว่า บัดนี้ขบวนขันหมาก ได้มาถึงบ้านของฝ่ายหญิงแล้ว
ในวันงาน ทั้งตัวเฒ่าแก่ นายขันหมาก เจ้าบ่าว เจ้าสาว และพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งญาติผู้ใหญ่ จะแต่งตัวกัน งดงามเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ใครมีเครื่องเพชรเครื่องทอง ก็จะขนมาแต่งกัน เต็มที่ เจ้าบ่าวนิยมใส่ชุดสูทหรือชุดพระราชทาน ส่วนเจ้าสาวนั้น นิยมแต่งชุดไทย และใส่ชุดราตรี หรือ ที่เรียกว่า ชุดเจ้าสาวในเวลากินเลี้ยงตอนกลางคืน เกี่ยวกับ การแต่งตัวนี้ ความจริงไม่มีข้อจำกัด หรือบังคับอันใด ดูตามความเหมาะสม
การปิดประตูขันหมาก
เมื่อขบวนขันหมากมาถึงประตูบ้านเจ้าสาว ซึ่งด่านแรกนี้จะเป็นประตูรั้ว หรือบางทีออกไปกั้นกัน ตั้งแต่ ปากซอยเลย ก็มีกว่าจะเข้าไปในบ้านเจ้าสาวได้ อาจต้องผ่านถึง 5 ประตู 7 ประตู แต่ส่วนใหญ่นิยมกันแค่ 3 ประตู เท่านั้น คือ ประตูชัย ประตูเงิน ประตูทอง หรือ ประตูนาก ประตูเงิน ประตูทอง
ด่านแรกที่รั้วบ้านนี้ คนของฝ่ายเจ้าสาว 2 คนจะถือชายผ้ากั้นไว้คนละข้าง เรียกว่าปิดประตูขันหมาก เฒ่าแก่หรือนายขันหมากซึ่งมากับเจ้าบ่าวก็จะถามว่า
“ประตูนี้มีชื่อว่าอันใด” หรือจะพูดอย่างธรรมดาว่า “ประตูอะไรจ๊ะ” ก็ได้ ผู้ปิดประตูต้องตอบว่า “ประตูชัย”
เฒ่าแก่ก็จะให้ซองเงิน หรือของชำร่วย แก่ผู้กั้นเพื่อขอผ่าน ของชำร่วยหรือซองเงินนี้ จะมีค่างวดน้อยกว่า ที่จะต้องให้ผ่านประตูเงิน และประตูทอง เรียกว่า "ของแถมพกอย่างตรี"
บางทีกว่าจะผ่านด่านแรกได้ อาจมีการกล่าวหยอกเย้าต่อรองกันเป็นที่สนุกสนาน เมื่อผู้กั้น ยอมเปิดให้ผ่าน เข้ามาในเขตบ้านแล้ว ก็มาถึงประตูที่ 2 คือ ประตูเงิน ซึ่งจะอยู่บริเวณบันได เพราะบ้านทรงไทยสมัยโบราณ นิยมสร้าง แบบยกพื้นสูง
การกั้นประตูเงินนี้ จะใช้ผ้าแพรหรือผ้าชนิดดีกว่าที่ใช้กั้นประตูชัย ผู้ที่ถือผ้ากั้นทั้งสองคนส่วนใหญ่เป็นญาติสนิท ของฝ่ายเจ้าสาว เฒ่าแก่จะถามว่า “ประตูชั้นสองนี้มีชื่อว่าประการใด” ผู้กั้นตอบว่า “ประตูเงิน” เฒ่าแก่จึงมอบซอง หรือ "ของแถมพกอย่างโท" ให้เพื่อขอผ่านทาง
การให้ของแถมพกหรือซองเงินนั้น บางทีเจ้าบ่าวก็ทำหน้าที่เอง มีเพื่อนเจ้าบ่าว ช่วยเจรจาต่อรอง กับคนของ ฝ่ายเจ้าสาว บางทีแกล้งให้ซองแดงเปล่า ๆ ผู้กั้นไหวไม่ทันอาจเสียทีเป็นการหยอกเย้ากัน ให้สนุกสนาน ครื้นเครงมากกว่า ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่ที่รู้เชิงอยู่กำกับ จะนำซองมาเปิดหรือส่องดูก่อนว่าในซองมีเงินจริงหรือเปล่า เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว จึงเปิดทางให้ผ่าน จึงเป็นเรื่องของการหยอกล้อกันมากกว่า ที่จะสนใจในเรื่องของเงินทอง
(ติดตามต่อใน ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนต่อไปค่ะ)
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
Wednesday, October 5, 2011
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ ๒ : การจัดขบวนขันหมาก การเคลื่อนขบวนขันหมาก (Thai Wedding Ceremony Eps.2)
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ 2 :
การจัดขบวนขันหมาก การเคลื่อนขบวนขันหมาก
(Thai Wedding Ceremony Eps.2)
การจัดขบวนขันหมาก
หลังจาก ฝ่ายเจ้าสาว ที่นำของเลื่อนเตือนขันหมาก ลากลับไปแล้ว ฝ่ายเจ้าบ่าวก็เริ่มจัดขบวนโดยเฒ่าแก่ หรือพ่อสื่อแม่สื่อ ที่เป็นผู้มาเจรจาสู่ขอ จะเดินนำหน้าเคียงคู่ไปกับเจ้าบ่าว ซึ่งถือพานธูปเทียนสำหรับ ใช้ไหว้พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ของฝ่ายหญิง การจัดขบวนขันหมากไม่มีกำหนดตายตัว เพราะในแต่ละท้องถิ่น อาจมีประเพณีนิยม แตกต่างกันไป
ในหนังสือ 100 ปีพระยาอนุมานราชธน หมวดขนบธรรมเนียมประเพณีเล่ม 6 ได้บอกไว้ว่า คนยกขันหมาก มักใช้เด็กรุ่นสาว ซึ่งต้องเกิดจากบิดามารดาที่ได้แต่งงานกัน แต่งตัวสวยงามเต็มยศ หรือแต่งกันเต็มที่ ส่วนใหญ่ นิยมนุ่งชุดไทย
บางแห่งว่า ต้องใช้หญิงสาวพรหมจารี แต่บางแห่งก็ว่า ควรใช้หญิงสาวที่แต่งงาน มีครอบครัวแล้ว เพื่อให้ได้ครบ ตามจำนวนมเหสี 4 องค์ของพระอินทร์ ซึ่งมีกล่าวไว้ในบทถาม และตอบในเรื่อง ปิดประตูกั้นขันหมาก ที่ใช้กัน ในสมัยโบราณ
สำหรับขันอื่น ๆ เช่น ขันเงินสินสอดทองหมั้น พานใส่ผ้าไหว้ ก็ให้เด็กสาวรุ่นทำหน้าที่ยก ในสมัยโบราณ มีขันเงินทุน อีกขันหนึ่งด้วย ซึ่งต้องจัดหาคนยกไว้ให้ครบถ้วน นี่เป็นชุดที่จัดไว้ สำหรับยกขันหมากเอก ส่วนคนยกขันหมากโทนั้น จะใช้หญิงสามัญ หรือคนรุ่นไหนก็ได้ ของบางอย่างให้ผู้ชายยกจะสะดวกกว่า เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย
เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก
เมื่อจัดเตรียมตั้งขบวนขันหมากเป็นที่เรียบร้อยพร้อมเพรียงกันดีแล้ว ครั้นได้เวลาฤกษ์ดีมีชัย ก็เริ่มเคลื่อนขบวนได้ ส่วนใหญ่จะมีการโห่ และจุดประทัดกันเป็นที่สนุกสนาน บางทีมีการยิงปืนขึ้นฟ้าด้วย เพื่อใช้สัญญาณเสียงบอกให้ทางบ้านฝ่ายหญิงทราบ ว่าบัดนี้ขบวนขันหมาก กำลังจะเคลื่อนไปทำพิธีแล้ว
การเคลื่อนขบวน หากมีกลองยาว หรือแตรวงนำหน้า คนเฒ่าคนแก่และหนุ่มสาว ที่ไม่ได้มีหน้าที่ยกขันหมาก และข้าวของก็จะออกมาร่ายรำกันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง เสียงโห่และเสียงรับจะดังขึ้นเป็นระยะ ในช่วงนี้ เพื่อนเจ้าสาว จะพาเจ้าสาวไปหลบในห้อง ส่วนผู้ที่มีหน้าที่กั้นประตูเงินประตูทอง และรับขันหมากก็เตรียม ทำหน้าที่ของตน
ดังนั้นเฒ่าแก่หรือเจ้าบ่าว จะต้องเตรียมเงินใส่ซองไว้ จำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นกุญแจ สำหรับไขผ่านประตู หรือ ด่านต่าง ๆ ไปจนกว่าจะไปถึงตัวเจ้าสาว การให้ซองสำหรับขอผ่านประตูต่าง ๆ นั้นจะต้องให้ประตูละ 2 ซอง และใส่เงินเป็นจำนวนคู่ เช่น ซองละ 20, 60, 80 หรือ 100 ไม่นิยมใส่เป็นจำนวนคี่ ซองสำหรับประตูทอง จะต้องใส่ให้มีมูลค่ามากกว่า 2 ประตูแรก
สำหรับการจุดประทัด หรือยิงปืน ให้สัญญาณนั้น นิยมจุดเมื่อเริ่มเคลื่อนขบวนครั้งหนึ่ง เมื่อมาถึงกลางทาง อีกครั้งหนึ่ง ครั้นพอถึงเขตบ้านเจ้าสาวก็จุดอีกครั้ง บางทีทางฝ่ายเจ้าสาวก็มีการยิงปืน หรือจุดประทัดรับเช่นกัน
การเคลื่อนขบวนขันหมาก
เมื่อถึงวันงานฝ่ายเจ้าบ่าว จัดเตรียมขบวนขันหมากไว้ครบถ้วนแล้ว ผู้ที่ได้รับการไหว้วาน ให้มาช่วยยกขันหมาก ก็พร้อมหน้าพร้อมตา แต่งตัวกันสวยงามดูภูมิฐาน รอจนกว่าจะถึงฤกษ์งามยามดี ตามที่ไปหาหรือไปดูเอาไว้ ก็เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก ไปยังบ้านของเจ้าสาว
หากบ้านของฝ่ายเจ้าสาวอยู่ไกล เมื่อใกล้ถึงวันงาน อาจนำข้าวของมาฝากไว้ที่บ้านญาติของเจ้าสาว ซึ่งอยู่ ในบริเวณใกล้เคียงกันก็ได้ หรือมาจัดข้าวของกันที่นี่เลย แต่ถ้าบ้านเจ้าบ่าว อยู่ไม่ไกลมากนัก การจัดขบวนขันหมาก แห่แหนมา จะดูครึกครื้นสนุกสนานกว่า
ของเลื่อนเตือนขันหมาก
พอใกล้เวลาได้ฤกษ์ยกขบวนขันหมาก ทางบ้านฝ่ายเจ้าสาว จะจัดสำรับกับข้าวคาวหวาน 2 คู่หรือ 4 สำรับ ให้ผู้ใหญ่ที่มีหน้ามีตา หรืออาจเป็นญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าสาว นำหน้าให้คนยกไปยังบ้านเจ้าบ่าว สำหรับกับข้าว คาวหวานนี้ เรียกว่า ของเลื่อนเตือนขันหมาก
เมื่อผู้นำของเลื่อนมาถึง ก็จะเจรจาปราศรัยกับผู้ใหญ่ หรือคนของฝ่ายเจ้าบ่าว ในเรื่องอันเป็นมงคลพอเป็นพิธี ส่วนคนที่ถือของเลื่อนตามผู้ใหญ่มาก็ส่งของให้กับคนของทางฝ่ายเจ้าบ่าวให้รับไปถ่ายไว้แล้วส่งภาชนะคืน พร้อมจัดของชำร่วยมอบให้เป็นรางวัลให้แก่คนยก
หลังจากนั้นผู้นำของเลื่อนก็จักนัดแนะเวลาที่ทำให้การยก หรือเคลื่อนขบวนขันหมาก และลากลับไป เป็นการ เตรียมความพร้อม ทั้งสองฝ่ายนั่นเอง เมื่อมีผู้ยกของเลื่อนเตือนขันหมากมา แสดงว่าทางบ้านฝ่ายเจ้าสาว เตรียมตัว พร้อมแล้ว ให้เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมากไปได้
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
การจัดขบวนขันหมาก การเคลื่อนขบวนขันหมาก
(Thai Wedding Ceremony Eps.2)
การจัดขบวนขันหมาก
หลังจาก ฝ่ายเจ้าสาว ที่นำของเลื่อนเตือนขันหมาก ลากลับไปแล้ว ฝ่ายเจ้าบ่าวก็เริ่มจัดขบวนโดยเฒ่าแก่ หรือพ่อสื่อแม่สื่อ ที่เป็นผู้มาเจรจาสู่ขอ จะเดินนำหน้าเคียงคู่ไปกับเจ้าบ่าว ซึ่งถือพานธูปเทียนสำหรับ ใช้ไหว้พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ของฝ่ายหญิง การจัดขบวนขันหมากไม่มีกำหนดตายตัว เพราะในแต่ละท้องถิ่น อาจมีประเพณีนิยม แตกต่างกันไป
ในหนังสือ 100 ปีพระยาอนุมานราชธน หมวดขนบธรรมเนียมประเพณีเล่ม 6 ได้บอกไว้ว่า คนยกขันหมาก มักใช้เด็กรุ่นสาว ซึ่งต้องเกิดจากบิดามารดาที่ได้แต่งงานกัน แต่งตัวสวยงามเต็มยศ หรือแต่งกันเต็มที่ ส่วนใหญ่ นิยมนุ่งชุดไทย
บางแห่งว่า ต้องใช้หญิงสาวพรหมจารี แต่บางแห่งก็ว่า ควรใช้หญิงสาวที่แต่งงาน มีครอบครัวแล้ว เพื่อให้ได้ครบ ตามจำนวนมเหสี 4 องค์ของพระอินทร์ ซึ่งมีกล่าวไว้ในบทถาม และตอบในเรื่อง ปิดประตูกั้นขันหมาก ที่ใช้กัน ในสมัยโบราณ
สำหรับขันอื่น ๆ เช่น ขันเงินสินสอดทองหมั้น พานใส่ผ้าไหว้ ก็ให้เด็กสาวรุ่นทำหน้าที่ยก ในสมัยโบราณ มีขันเงินทุน อีกขันหนึ่งด้วย ซึ่งต้องจัดหาคนยกไว้ให้ครบถ้วน นี่เป็นชุดที่จัดไว้ สำหรับยกขันหมากเอก ส่วนคนยกขันหมากโทนั้น จะใช้หญิงสามัญ หรือคนรุ่นไหนก็ได้ ของบางอย่างให้ผู้ชายยกจะสะดวกกว่า เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย
เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก
เมื่อจัดเตรียมตั้งขบวนขันหมากเป็นที่เรียบร้อยพร้อมเพรียงกันดีแล้ว ครั้นได้เวลาฤกษ์ดีมีชัย ก็เริ่มเคลื่อนขบวนได้ ส่วนใหญ่จะมีการโห่ และจุดประทัดกันเป็นที่สนุกสนาน บางทีมีการยิงปืนขึ้นฟ้าด้วย เพื่อใช้สัญญาณเสียงบอกให้ทางบ้านฝ่ายหญิงทราบ ว่าบัดนี้ขบวนขันหมาก กำลังจะเคลื่อนไปทำพิธีแล้ว
การเคลื่อนขบวน หากมีกลองยาว หรือแตรวงนำหน้า คนเฒ่าคนแก่และหนุ่มสาว ที่ไม่ได้มีหน้าที่ยกขันหมาก และข้าวของก็จะออกมาร่ายรำกันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง เสียงโห่และเสียงรับจะดังขึ้นเป็นระยะ ในช่วงนี้ เพื่อนเจ้าสาว จะพาเจ้าสาวไปหลบในห้อง ส่วนผู้ที่มีหน้าที่กั้นประตูเงินประตูทอง และรับขันหมากก็เตรียม ทำหน้าที่ของตน
ดังนั้นเฒ่าแก่หรือเจ้าบ่าว จะต้องเตรียมเงินใส่ซองไว้ จำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นกุญแจ สำหรับไขผ่านประตู หรือ ด่านต่าง ๆ ไปจนกว่าจะไปถึงตัวเจ้าสาว การให้ซองสำหรับขอผ่านประตูต่าง ๆ นั้นจะต้องให้ประตูละ 2 ซอง และใส่เงินเป็นจำนวนคู่ เช่น ซองละ 20, 60, 80 หรือ 100 ไม่นิยมใส่เป็นจำนวนคี่ ซองสำหรับประตูทอง จะต้องใส่ให้มีมูลค่ามากกว่า 2 ประตูแรก
สำหรับการจุดประทัด หรือยิงปืน ให้สัญญาณนั้น นิยมจุดเมื่อเริ่มเคลื่อนขบวนครั้งหนึ่ง เมื่อมาถึงกลางทาง อีกครั้งหนึ่ง ครั้นพอถึงเขตบ้านเจ้าสาวก็จุดอีกครั้ง บางทีทางฝ่ายเจ้าสาวก็มีการยิงปืน หรือจุดประทัดรับเช่นกัน
การเคลื่อนขบวนขันหมาก
เมื่อถึงวันงานฝ่ายเจ้าบ่าว จัดเตรียมขบวนขันหมากไว้ครบถ้วนแล้ว ผู้ที่ได้รับการไหว้วาน ให้มาช่วยยกขันหมาก ก็พร้อมหน้าพร้อมตา แต่งตัวกันสวยงามดูภูมิฐาน รอจนกว่าจะถึงฤกษ์งามยามดี ตามที่ไปหาหรือไปดูเอาไว้ ก็เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก ไปยังบ้านของเจ้าสาว
หากบ้านของฝ่ายเจ้าสาวอยู่ไกล เมื่อใกล้ถึงวันงาน อาจนำข้าวของมาฝากไว้ที่บ้านญาติของเจ้าสาว ซึ่งอยู่ ในบริเวณใกล้เคียงกันก็ได้ หรือมาจัดข้าวของกันที่นี่เลย แต่ถ้าบ้านเจ้าบ่าว อยู่ไม่ไกลมากนัก การจัดขบวนขันหมาก แห่แหนมา จะดูครึกครื้นสนุกสนานกว่า
ของเลื่อนเตือนขันหมาก
พอใกล้เวลาได้ฤกษ์ยกขบวนขันหมาก ทางบ้านฝ่ายเจ้าสาว จะจัดสำรับกับข้าวคาวหวาน 2 คู่หรือ 4 สำรับ ให้ผู้ใหญ่ที่มีหน้ามีตา หรืออาจเป็นญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าสาว นำหน้าให้คนยกไปยังบ้านเจ้าบ่าว สำหรับกับข้าว คาวหวานนี้ เรียกว่า ของเลื่อนเตือนขันหมาก
เมื่อผู้นำของเลื่อนมาถึง ก็จะเจรจาปราศรัยกับผู้ใหญ่ หรือคนของฝ่ายเจ้าบ่าว ในเรื่องอันเป็นมงคลพอเป็นพิธี ส่วนคนที่ถือของเลื่อนตามผู้ใหญ่มาก็ส่งของให้กับคนของทางฝ่ายเจ้าบ่าวให้รับไปถ่ายไว้แล้วส่งภาชนะคืน พร้อมจัดของชำร่วยมอบให้เป็นรางวัลให้แก่คนยก
หลังจากนั้นผู้นำของเลื่อนก็จักนัดแนะเวลาที่ทำให้การยก หรือเคลื่อนขบวนขันหมาก และลากลับไป เป็นการ เตรียมความพร้อม ทั้งสองฝ่ายนั่นเอง เมื่อมีผู้ยกของเลื่อนเตือนขันหมากมา แสดงว่าทางบ้านฝ่ายเจ้าสาว เตรียมตัว พร้อมแล้ว ให้เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมากไปได้
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
Sunday, October 2, 2011
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ ๑ : พิธียกขันหมาก ขันหมากเอก ขันหมากโท (Thai Wedding Ceremony Eps.1)
ครบเครื่องเรื่องขันหมาก ตอนที่ 1 :
พิธียกขันหมาก ขันหมากเอก ขันหมากโท
(Thai Wedding Ceremony Eps.1)
ก่อนถึงกำหนดวันแต่งงาน พ่อแม่และผู้เป็นเฒ่าแก่ของฝ่ายชาย ต้องจัดเตรียมขันหมาก เอก โท และบริวารขันหมาก ไว้ให้เรียบร้อย นิยมจัดหากัน ตามความสะดวกเหมาะสม เช่น เงินทองสร้อยแหวนกำไล จะต้องจัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าหลาย ๆ วัน ขนมนมเนยผลไม้จัดเตรียมไว้ก่อนวันงานสักวันสองวัน เพราะถ้าเก็บไว้นาน อาจเน่าเสียได้ ส่วนต้นกล้วยต้นอ้อยหมากพลู ที่จะใช้ก็ทำการเสาะหา หรือเจรจาขอ ตามไร่นาตามสวน หรือจากเพื่อนบ้านไว้ เป็นการล่วงหน้า เมื่อใกล้วันงานจึงไปขุดไปตัดมาเตรียมไว้
สำหรับฝ่ายหญิงจะต้องจัดเตรียม ของเลื่อนเตือนขันหมาก ผ้าไหว้ ของสำหรับเลี้ยงแขก และจัดหาผู้ที่ จะทำหน้าที่รับขันหมาก ผู้ดูแลเกี่ยวกับพิธีทางศาสนา ฯลฯ
ขันหมากเอก
ขันหมากเอก มีทั้งที่จัดเป็นขันหมากเดี่ยวและขันหมากคู่แล้วแต่ประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น พานขันหมาก นิยมใช้เป็นขันเงินหรือขันทองมีพานรองใช้ถุงผ้าที่ทอจากดิ้นเงิน-ดิ้นทองคลุม บนขันหมากบรรจุหมากดิบ 8 ผล ที่จัดติดกันทั้งหมด หรือจัดเป็นคู่ 2 ผลติดกัน 4 คู่ก็ได้ และมีใบพลู 4 เรียง แต่ละเรียงมี 8 ใบ และยังมีถุงเงิน-ถุงทองใส่ถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเปลือก ส่วนใบเงิน ใบทอง ใบนาก ที่บรรจุมาด้วย มักจะใช้รองกันไว้ด้านล่าง ขันหมากเอก นี้นิยมจัดเป็นคู่ เวลายกขบวนแห่ขันหมาก จะมีคนถือเป็นคู่ ๆ ดูสวยงามและเป็นมงคล โดยถือเคล็ดจากคำว่า “ คู่ ” นั่นเอง
พานสินสอดในปัจจุบันมีการแยกเป็นหลายพาน อย่างพานเงิน พานทอง พานแหวน ต้นอ้อย หรือมัดอ้อย 2 ต้นหรือ 2 มัด ต้นกล้วย หรือหน่อกล้วย 2 หน่อ
หากเป็นพิธีหมั้นเพียงอย่างเดียวโดยยังไม่มีพิธีแต่งงาน การแห่ขันหมากจะมีพานขันหมาก และพานขันหมั้น ซึ่งคล้ายคลึงกับพานสินสอด แต่สินสอดจะใช้ในพิธีแต่งงานเช่นเดียวกับต้นกล้วยต้นอ้อย สำหรับพานขันหมั้นในพิธีหมั้นนั้น จะใส่พวกของที่จะนำไปหมั้น อย่างหวานหมั้น เงิน ทอง เพชร อัญมณีมีค่า หรือของอื่นตามที่ตกลงกัน ในปัจจุบันมีการจัดของหมั้นแยกเป็นหลายพานเพื่อความสวยงามตามแบบดั้งเดิม ของหมั้นทั้งหมดจะจัดวางมาในพานเดียวและไม่ต้องนับ ซึ่งแตกต่างจากการนับสินสอดแต่งงาน
ขันหมากโท
ขันหมากโท ได้แก่ พวกของที่ใช้เป็นอาหารและขนม รวมทั้งบริวารขันหมากอื่น ๆ เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่นกัน มีการนำกระดาษสีแดงประดับตกแต่งให้สวยงาม
อาหารในขบวนขันหมากโท ไม่นิยมอาหารที่ปรุงสุกแล้ว แต่จะเป็นประเภท ไก่ หมู ที่ยังสด ๆ อยู่ อย่างเช่น ไก่ จะจัดใส่ถาดละตัว รวม 2 ถาด ใช้ไก่ที่ลวกน้ำร้อน ถอนขนเรียบร้อยแล้ว หมูใช้เนื้อหมูเป็นชิ้น ๆ เพราะอาหารเหล่านี้ ใช้สำหรับเป็น เครื่องเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ตามประเพณีโบราณ หลังจากเซ่นแล้ว จึงนำมาปรุงเลี้ยงดูกัน เมื่อเป็นเช่นนี้สมัยก่อน การยกขันหมาก คงจะใช้ไก่หลายตัว หรือหมูทั้งตัวไม่ใช่แบ่งเป็นชิ้นอย่างในปัจจุบัน เช่นเดียวกับ สุรา ที่คงต้องแบกมาเป็นไห หรือโอ่ง ไม่ใช่แค่ 2 ขวดหรือ 4 ขวด ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องสุราอาหารนั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ทางฝ่ายเจ้าสาวจะจัดเตรียมไว้ สำหรับเลี้ยงแขกโดยเฉพาะอยู่แล้ว
ของที่อยู่ในขันหมากโท ซึ่งถือกันว่าเป็น บริวารขันหมาก ได้แก่
ไก่ต้ม 2 ตัวหรือ 1 คู่
หมู 2 ถาด
ต้นอ้อยหรือมัดอ้อย 2 ต้นหรือ 2 มัด
ต้นกล้วยหรือหน่อกล้วย 2 หน่อ
มะพร้าวอ่อนที่ปอกเปลือกแล้ว 2 ผล
กล้วยน้ำว้า 2 หวี
ส้มโอ 2 ผล
เหล้า 2 คู่
ขนมต่าง ๆ จำนวนไม่จำกัด แต่ต้องจัดเป็นคู่ ๆ
เครื่องบริวารขันหมาก นิยมจัดให้ได้อย่างน้อย ๙ อย่าง ซึ่งไม่ได้กำหนดแน่นอนลงไปว่า ต้องใช้อะไรบ้าง สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้นกล้วย ต้นอ้อย เพราะต้องให้คู่บ่าวสาวร่วมกับปลูก นอกจากนั้นให้จัดหา ตามแต่จะได้รับ การบอกกล่าวจากผู้ใหญ่หรือท่านผู้รู้แต่ไม่ควรต่ำว่า 9 อย่าง เพราะถือเคล็ดคำว่าก้าวหน้า ในการยกขบวนขันหมาก ในสมัยโบราณ จะมีเตียบร่วมอยู่ในจำพวกขันหมากเอกด้วย เตียบ คือตะลุ่มที่มีปากผายและมีฝาครอบปาก ทำจากไม้ไผ่สาน เป็นภาชนะใส่ของชนิดหนึ่ง หากทำอย่างดีจะลงรักและฝังมุกด้วย ใช้เป็นเครื่องใส่ของกิน อย่างภาชนะสำหรับใส่กับข้าวของผู้ดีสมัยก่อน
ในขบวนขันหมาก ใช้เตียบ 2 คู่ ผู้อุ้มคือหญิงผู้มีตระกูลหรือสุภาพสตรี 4 คน นิยมใช้หญิงที่แต่งงานมีสามี และสามียังมีชีวิตอยู่ ของที่บรรจุในเตียบคือ สุรา ไก่ย่าง ขนมจีนน้ำยาและห่อหมกปลา มะพร้าวอ่อน ส้มและกล้วย ขนมชะมด ขนมกง ฯลฯ ในแต่ละตำรา มีการจัดไม่เหมือนกันแต่ต้องมีผ้า สำหรับเช็ดปาก และผ้าผืนงาม ๆ คลุมเตียบไว้ด้วย
ในปัจจุบันนี้หากเป็นท้องถิ่น ที่ยังรักษาประเพณีแบบโบราณก็จะมีการ ยกเตียบ หรืออุ้มเตียบไปใน ขบวนขันหมาก ด้วย ความเชื่ออีกอย่าง เกี่ยวกับการยกขบวนขันหมาก คือ ไม่นิยมให้หญิงที่เป็นหม้าย และแม่ร้าง หรือสาวแก่ที่ ไม่ได้แต่งงาน มาร่วมยกของในขบวนขันหมาก สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่อุ้มเตียบนั้น เมื่อรับเตียบจาก เฒ่าแก่ หรือผู้มีหน้าที่จัดขันหมากแล้ว ห้ามวางโดยเด็ดขาด จะต้องยกหรืออุ้มเอาไว้ จนกว่าจะไปถึงบ้าน ฝ่ายเจ้าสาว ผู้อุ้มเตียบและขันหมาก รวมทั้งบริวารขันหมากต่าง ๆ จะได้ซองหรือของแถมพก เป็นรางวัล โดยถ้วนหน้ากัน หรือได้เป็นขนม ของใช้ต่าง ๆ แล้วแต่ความนิยมในท้องถิ่น
เมื่อคนของฝ่ายเจ้าบ่าว ยกขบวนขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายเจ้าสาวแล้ว จะไม่ยอมมอบต้นกล้วย ต้นอ้อย ให้โดยง่าย อาจถือหรืออุ้มถ่วงเอาไว้ จนกว่าจะได้น้ำมารด เพื่อความเจริญงอกงาม บางทีก็ใช้น้ำมนต์หรือน้ำฝนสะอาด แต่น้ำที่ผู้อุ้มต้องการมากที่สุดคือ สุรา ดังนั้นในวันยกขันหมาก พวกคอสุราจะจับจอง หรือขออาสาเป็นคนอุ้ม ต้นกล้วย ต้นอ้อย เพราะนอกจากจะได้น้ำอมฤตแล้ว ยังได้พูดจาหยอกเย้าต่อรองกับคนของฝ่ายเจ้าสาว เป็นที่สนุกสนาน ครื้นเครง
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
http://women.kapook.com/wedding00117/
พิธียกขันหมาก ขันหมากเอก ขันหมากโท
(Thai Wedding Ceremony Eps.1)
ก่อนถึงกำหนดวันแต่งงาน พ่อแม่และผู้เป็นเฒ่าแก่ของฝ่ายชาย ต้องจัดเตรียมขันหมาก เอก โท และบริวารขันหมาก ไว้ให้เรียบร้อย นิยมจัดหากัน ตามความสะดวกเหมาะสม เช่น เงินทองสร้อยแหวนกำไล จะต้องจัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าหลาย ๆ วัน ขนมนมเนยผลไม้จัดเตรียมไว้ก่อนวันงานสักวันสองวัน เพราะถ้าเก็บไว้นาน อาจเน่าเสียได้ ส่วนต้นกล้วยต้นอ้อยหมากพลู ที่จะใช้ก็ทำการเสาะหา หรือเจรจาขอ ตามไร่นาตามสวน หรือจากเพื่อนบ้านไว้ เป็นการล่วงหน้า เมื่อใกล้วันงานจึงไปขุดไปตัดมาเตรียมไว้
สำหรับฝ่ายหญิงจะต้องจัดเตรียม ของเลื่อนเตือนขันหมาก ผ้าไหว้ ของสำหรับเลี้ยงแขก และจัดหาผู้ที่ จะทำหน้าที่รับขันหมาก ผู้ดูแลเกี่ยวกับพิธีทางศาสนา ฯลฯ
ขันหมากเอก
ขันหมากเอก มีทั้งที่จัดเป็นขันหมากเดี่ยวและขันหมากคู่แล้วแต่ประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น พานขันหมาก นิยมใช้เป็นขันเงินหรือขันทองมีพานรองใช้ถุงผ้าที่ทอจากดิ้นเงิน-ดิ้นทองคลุม บนขันหมากบรรจุหมากดิบ 8 ผล ที่จัดติดกันทั้งหมด หรือจัดเป็นคู่ 2 ผลติดกัน 4 คู่ก็ได้ และมีใบพลู 4 เรียง แต่ละเรียงมี 8 ใบ และยังมีถุงเงิน-ถุงทองใส่ถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเปลือก ส่วนใบเงิน ใบทอง ใบนาก ที่บรรจุมาด้วย มักจะใช้รองกันไว้ด้านล่าง ขันหมากเอก นี้นิยมจัดเป็นคู่ เวลายกขบวนแห่ขันหมาก จะมีคนถือเป็นคู่ ๆ ดูสวยงามและเป็นมงคล โดยถือเคล็ดจากคำว่า “ คู่ ” นั่นเอง
พานสินสอดในปัจจุบันมีการแยกเป็นหลายพาน อย่างพานเงิน พานทอง พานแหวน ต้นอ้อย หรือมัดอ้อย 2 ต้นหรือ 2 มัด ต้นกล้วย หรือหน่อกล้วย 2 หน่อ
หากเป็นพิธีหมั้นเพียงอย่างเดียวโดยยังไม่มีพิธีแต่งงาน การแห่ขันหมากจะมีพานขันหมาก และพานขันหมั้น ซึ่งคล้ายคลึงกับพานสินสอด แต่สินสอดจะใช้ในพิธีแต่งงานเช่นเดียวกับต้นกล้วยต้นอ้อย สำหรับพานขันหมั้นในพิธีหมั้นนั้น จะใส่พวกของที่จะนำไปหมั้น อย่างหวานหมั้น เงิน ทอง เพชร อัญมณีมีค่า หรือของอื่นตามที่ตกลงกัน ในปัจจุบันมีการจัดของหมั้นแยกเป็นหลายพานเพื่อความสวยงามตามแบบดั้งเดิม ของหมั้นทั้งหมดจะจัดวางมาในพานเดียวและไม่ต้องนับ ซึ่งแตกต่างจากการนับสินสอดแต่งงาน
ขันหมากโท
ขันหมากโท ได้แก่ พวกของที่ใช้เป็นอาหารและขนม รวมทั้งบริวารขันหมากอื่น ๆ เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่นกัน มีการนำกระดาษสีแดงประดับตกแต่งให้สวยงาม
อาหารในขบวนขันหมากโท ไม่นิยมอาหารที่ปรุงสุกแล้ว แต่จะเป็นประเภท ไก่ หมู ที่ยังสด ๆ อยู่ อย่างเช่น ไก่ จะจัดใส่ถาดละตัว รวม 2 ถาด ใช้ไก่ที่ลวกน้ำร้อน ถอนขนเรียบร้อยแล้ว หมูใช้เนื้อหมูเป็นชิ้น ๆ เพราะอาหารเหล่านี้ ใช้สำหรับเป็น เครื่องเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ตามประเพณีโบราณ หลังจากเซ่นแล้ว จึงนำมาปรุงเลี้ยงดูกัน เมื่อเป็นเช่นนี้สมัยก่อน การยกขันหมาก คงจะใช้ไก่หลายตัว หรือหมูทั้งตัวไม่ใช่แบ่งเป็นชิ้นอย่างในปัจจุบัน เช่นเดียวกับ สุรา ที่คงต้องแบกมาเป็นไห หรือโอ่ง ไม่ใช่แค่ 2 ขวดหรือ 4 ขวด ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องสุราอาหารนั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ทางฝ่ายเจ้าสาวจะจัดเตรียมไว้ สำหรับเลี้ยงแขกโดยเฉพาะอยู่แล้ว
ของที่อยู่ในขันหมากโท ซึ่งถือกันว่าเป็น บริวารขันหมาก ได้แก่
ไก่ต้ม 2 ตัวหรือ 1 คู่
หมู 2 ถาด
ต้นอ้อยหรือมัดอ้อย 2 ต้นหรือ 2 มัด
ต้นกล้วยหรือหน่อกล้วย 2 หน่อ
มะพร้าวอ่อนที่ปอกเปลือกแล้ว 2 ผล
กล้วยน้ำว้า 2 หวี
ส้มโอ 2 ผล
เหล้า 2 คู่
ขนมต่าง ๆ จำนวนไม่จำกัด แต่ต้องจัดเป็นคู่ ๆ
เครื่องบริวารขันหมาก นิยมจัดให้ได้อย่างน้อย ๙ อย่าง ซึ่งไม่ได้กำหนดแน่นอนลงไปว่า ต้องใช้อะไรบ้าง สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้นกล้วย ต้นอ้อย เพราะต้องให้คู่บ่าวสาวร่วมกับปลูก นอกจากนั้นให้จัดหา ตามแต่จะได้รับ การบอกกล่าวจากผู้ใหญ่หรือท่านผู้รู้แต่ไม่ควรต่ำว่า 9 อย่าง เพราะถือเคล็ดคำว่าก้าวหน้า ในการยกขบวนขันหมาก ในสมัยโบราณ จะมีเตียบร่วมอยู่ในจำพวกขันหมากเอกด้วย เตียบ คือตะลุ่มที่มีปากผายและมีฝาครอบปาก ทำจากไม้ไผ่สาน เป็นภาชนะใส่ของชนิดหนึ่ง หากทำอย่างดีจะลงรักและฝังมุกด้วย ใช้เป็นเครื่องใส่ของกิน อย่างภาชนะสำหรับใส่กับข้าวของผู้ดีสมัยก่อน
ในขบวนขันหมาก ใช้เตียบ 2 คู่ ผู้อุ้มคือหญิงผู้มีตระกูลหรือสุภาพสตรี 4 คน นิยมใช้หญิงที่แต่งงานมีสามี และสามียังมีชีวิตอยู่ ของที่บรรจุในเตียบคือ สุรา ไก่ย่าง ขนมจีนน้ำยาและห่อหมกปลา มะพร้าวอ่อน ส้มและกล้วย ขนมชะมด ขนมกง ฯลฯ ในแต่ละตำรา มีการจัดไม่เหมือนกันแต่ต้องมีผ้า สำหรับเช็ดปาก และผ้าผืนงาม ๆ คลุมเตียบไว้ด้วย
ในปัจจุบันนี้หากเป็นท้องถิ่น ที่ยังรักษาประเพณีแบบโบราณก็จะมีการ ยกเตียบ หรืออุ้มเตียบไปใน ขบวนขันหมาก ด้วย ความเชื่ออีกอย่าง เกี่ยวกับการยกขบวนขันหมาก คือ ไม่นิยมให้หญิงที่เป็นหม้าย และแม่ร้าง หรือสาวแก่ที่ ไม่ได้แต่งงาน มาร่วมยกของในขบวนขันหมาก สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่อุ้มเตียบนั้น เมื่อรับเตียบจาก เฒ่าแก่ หรือผู้มีหน้าที่จัดขันหมากแล้ว ห้ามวางโดยเด็ดขาด จะต้องยกหรืออุ้มเอาไว้ จนกว่าจะไปถึงบ้าน ฝ่ายเจ้าสาว ผู้อุ้มเตียบและขันหมาก รวมทั้งบริวารขันหมากต่าง ๆ จะได้ซองหรือของแถมพก เป็นรางวัล โดยถ้วนหน้ากัน หรือได้เป็นขนม ของใช้ต่าง ๆ แล้วแต่ความนิยมในท้องถิ่น
เมื่อคนของฝ่ายเจ้าบ่าว ยกขบวนขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายเจ้าสาวแล้ว จะไม่ยอมมอบต้นกล้วย ต้นอ้อย ให้โดยง่าย อาจถือหรืออุ้มถ่วงเอาไว้ จนกว่าจะได้น้ำมารด เพื่อความเจริญงอกงาม บางทีก็ใช้น้ำมนต์หรือน้ำฝนสะอาด แต่น้ำที่ผู้อุ้มต้องการมากที่สุดคือ สุรา ดังนั้นในวันยกขันหมาก พวกคอสุราจะจับจอง หรือขออาสาเป็นคนอุ้ม ต้นกล้วย ต้นอ้อย เพราะนอกจากจะได้น้ำอมฤตแล้ว ยังได้พูดจาหยอกเย้าต่อรองกับคนของฝ่ายเจ้าสาว เป็นที่สนุกสนาน ครื้นเครง
Credit:
www.thaitopwedding.com : จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
http://women.kapook.com/wedding00117/